พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8368/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: การส่งหนังสือแจ้งผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งรวมถึงการยื่นและการส่งคำคู่ความและเอกสารตามมาตรา 67 ถึงมาตรา 83 อัฏฐ ด้วย การที่ภายหลังจากศาลรับคำร้องที่พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นต่อศาล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้คัดค้านทั้งสามรวมทั้ง ฐ. ซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินทราบเพื่อใช้สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านนั้น คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแล้ว การส่งหนังสือของเลขาธิการจึงเป็นการส่งคำคู่ความหรือเอกสารในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นประการหนึ่ง เพียงแต่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 บัญญัติกำหนดไว้โดยเฉพาะให้เลขาธิการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ทั้งยังบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าให้ส่งไปยังที่อยู่ครั้งสุดท้ายของผู้นั้นเท่าที่ปรากฏในหลักฐาน การส่งหนังสือของเลขาธิการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับย่อมมีผลเป็นการส่งตามหลักเกณฑ์การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ที่กำหนดในไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2557 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการส่งหนังสือทางไปรษณีย์ในคดีนี้ ซึ่งกำหนดให้ต้องนำจ่ายด้วยการส่งมอบหนังสือให้แก่ผู้รับที่มีชื่อระบุอยู่บนจ่าหน้า หรือผู้ได้รับมอบฉันทะจากผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับ โดยต้องนำจ่าย ณ ที่ทำการหรือ ณ ที่อยู่ของผู้รับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2557 ข้อ 59 ถึงข้อ 63 ดังนั้น การส่งหนังสือของเลขาธิการไปยังผู้คัดค้านทั้งสามและ ฐ. ที่ส่งไม่ได้เพราะบ้านปิดและไม่มีผู้มารับที่ที่ทำการไปรษณีย์ในกำหนดเวลา อันเป็นการนำจ่ายให้แก่ผู้รับไม่ได้และพนักงานไปรษณีย์ต้องส่งหนังสือคืนผู้ฝากตามข้อ 64 นั้น จึงถือไม่ได้ว่ามีการส่งหนังสือให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามและ ฐ. ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคห้า โดยเมื่อมีข้อขัดข้องในการส่งหนังสือแก่ผู้มีส่วนได้เสีย อันเป็นข้อขัดข้องในการส่งคำคู่ความและเอกสารตาม ป.วิ.พ. จึงชอบที่เลขาธิการจะแจ้งให้ผู้ร้องแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อมีคำสั่งให้ดำเนินการส่งโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดใน ป.วิ.พ. ต่อไป ส่วนที่ศาลชั้นต้นลงประกาศคำร้องในหนังสือพิมพ์ เป็นการประกาศให้บุคคลภายนอกอื่นที่อาจอ้างว่าเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ขอให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ทราบ เพื่อยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี มิได้หมายถึงผู้คัดค้านทั้งสามกับพวก จะถือว่าผู้คัดค้านทั้งสามและ ฐ. ทราบคำร้องของผู้ร้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้จัดการมรดก การส่งหมายที่ถูกต้อง และการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำร้องขอของผู้ร้องระบุแต่แรกว่า ผู้ร้องอยู่บ้านเลขที่ 46/10 ถนนสุขุมวิท 105 ซอยลาซาล 14 (วงค์สวัสดิ์ 1) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทหลายคนส่งจดหมายไปที่บ้านดังกล่าว ทั้งคดียักยอกทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก ผู้ร้องยืนยันที่อยู่บ้านเลขที่ 46/10 ประกอบกับผู้คัดค้านเบิกความตอบทนายผู้ร้องถามค้านรับว่า ผู้คัดค้านทราบว่าผู้ร้องอยู่ที่บ้านดังกล่าว พฤติการณ์ดังกล่าว แสดงว่าผู้ร้องเลือกเอาบ้านเลขที่ 46/10 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการดำเนินคดีของผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 ดังนั้น การที่พนักงานเดินหมายปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านเพื่อแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนตามทะเบียนราษฎร์ที่มีชื่อผู้ร้อง โดยผู้คัดค้านไม่ได้ส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องของผู้คัดค้านไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้ร้อง การปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2), 77 และมาตรา 79 ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทราบนัดไต่สวนแล้ว เมื่อกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และเมื่อวินิจฉัยให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่การส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านแล้ว กรณีต้องย้อนไปดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดตามภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้ร้อง มีผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของการพิจารณาคดี
ผู้ร้องได้เลือกเอาบ้านเลขที่ 46/10 โดยมีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับในการดำเนินคดีของผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 การที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านเพื่อแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนตามทะเบียนราษฎร์ที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ โดยผู้คัดค้านไม่ได้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องของผู้คัดค้านไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของผู้ร้อง การปิดหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2), 77 และ มาตรา 79 ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทราบนัดไต่สวนแล้ว เมื่อกรณีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย จึงชอบที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และเมื่อวินิจฉัยให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่การส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้คัดค้านแล้ว กรณีต้องย้อนไปดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวใหม่ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดสืบพยานโดยปิดประกาศที่ศาลชอบด้วยกฎหมาย หากการส่งหมายด้วยวิธีปกติไม่สำเร็จ และจำเลยทราบวันนัด
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งหมายนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ปิดประกาศที่หน้าศาลแทนการส่งหมายตามปกติ จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ เป็นกรณีที่อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
ในวันที่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งให้ส่งประเด็นคืนศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปศาล จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดฟังประเด็นกลับ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งวันนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่เมื่อไม่มีการสืบพยานประเด็นโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะฟังประเด็นกลับหรือไม่ ไม่เป็นผล เสียหายแก่จำเลยที่ 2 เพราะหลังจากนั้นศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ทราบอีก จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่คู่ความที่เสียหายอันจะยกการพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นว่ากล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยวิธีปิดหมาย เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีธรรมดาไม่สามารถกระทำได้ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีอื่นแทน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 เมื่อศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 2 ทราบที่หน้าศาลตลอดมาจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวมีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
ในวันที่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งให้ส่งประเด็นคืนศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปศาล จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดฟังประเด็นกลับ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งวันนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่เมื่อไม่มีการสืบพยานประเด็นโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะฟังประเด็นกลับหรือไม่ ไม่เป็นผล เสียหายแก่จำเลยที่ 2 เพราะหลังจากนั้นศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ทราบอีก จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่คู่ความที่เสียหายอันจะยกการพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นว่ากล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยวิธีปิดหมาย เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีธรรมดาไม่สามารถกระทำได้ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีอื่นแทน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 เมื่อศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 2 ทราบที่หน้าศาลตลอดมาจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวมีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7270/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ภูมิลำเนาทนายจำเลยที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากสถานที่ทำงานตามตำแหน่งหน้าที่
การที่ทนายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา แม้ยังต้องถือว่าทนายจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว เพราะเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ มิใช่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเพียงถิ่นอันเป็นที่ทำการชั่วคราว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่คำร้องของทนายจำเลยอ้างด้วยว่า เจ้าพนักงานศาลให้ นาย อ. พนักงานอัยการสำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วรับหมายนัดไว้แทนทนายจำเลย ในขณะที่นาย อ. ไปที่ศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานศาลมิได้ไปส่งหมายนัดที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องของทนายจำเลยดังกล่าว การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่ทนายจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมาย ณ ภูมิลำเนาของทนายจำเลยและมีผู้รับแทนโดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง หรือเป็นการส่งคำคู่ความที่ได้กระทำในศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 (2) ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนให้ได้ความว่าเจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแก่ทนายจำเลย และนาย อ. รับไว้แทนที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วหรือไม่ ก่อนมีคำสั่งยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและการติดตามคดีของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ
ขณะทำสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ได้ระบุภูมิลำเนาตามฟ้องไว้ในสัญญาอันเป็นภูมิลำเนาตรงตามบัตรประชาชน และตรงตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ได้มีการส่งตามบ้านเลขที่ดังกล่าว ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้คดีแล้ว ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าการส่งหมายครั้งอื่นของพนักงานเดินหมายก่อนส่งคำบังคับได้นำไปส่งยังบ้านเลขที่อื่นที่เป็นสำนักงานของจำเลยที่ 1 แสดงว่าพนักงานเดินหมายทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่บ้านเลขที่ตามฟ้องนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 77 ได้บัญญัติถึงการส่งคำคู่ความหรือเอกสาร โดยเจ้าพนักงานศาลไปยังที่อื่นหรือสำนักทำการงาน การที่พนักงาน-เดินหมายไปส่งยังสำนักทำการงานของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในท้ายสำนวนนั้นย่อมไม่ใช่แสดงว่า เจ้าพนักงานทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ที่บ้านเลขที่ตามฟ้องแต่อย่างใด อาจเป็นเพียงแต่เจ้าพนักงานเห็นว่าสะดวกกว่าการส่งไปยังภูมิลำเนาตามฟ้องก็เป็นได้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ประกอบอาชีพทนายความ ย่อมทราบขั้นตอนการพิจารณาของศาลเป็นอย่างดี แต่อ้างว่าเพิ่งติดตามคดี ทั้ง ๆ ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพิ่งติดตามตรวจสำนวนเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งห่างจากวันยื่นคำให้การถึง 7 เดือนเศษ เป็นการผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพทนายความอย่างยิ่ง จึงมิใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและคำบังคับที่ถูกต้องตามภูมิลำเนา การมิถือว่าการส่งไปยังสำนักงานทนายความเป็นการทราบว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่ภูมิลำเนา
ขณะทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยที่1ได้ระบุภูมิลำเนาตามฟ้องไว้ในสัญญาอันเป็นภูมิลำเนาตรงตามบัตรประชาชนและตรงตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่1การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ได้มีการส่งตามบ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งจำเลยที่1ได้ให้การต่อสู้คดีแล้วที่จำเลยที่1อ้างว่าการส่งหมายครั้งอื่นของพนักงานเดินหมายก่อนส่งคำบังคับได้นำไปส่งยังบ้านเลขที่อื่นที่เป็นสำนักงานของจำเลยที่1แสดงว่าพนักงานเดินหมายทราบดีว่าจำเลยที่1ไม่ได้อยู่บ้านเลขที่ตามฟ้องนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา77ได้บัญญัติถึงการส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดย เจ้าพนักงานศาลไปยังที่อื่นหรือสำนักงานทำการงานการที่พนักงานเดินหมายไปส่งยังสำนักทำการงานของจำเลยที่1ตามที่ปรากฏในท้ายสำนวนนั้นย่อมไม่ใช่แสดงว่าเจ้าพนักงานทราบดีว่าจำเลยที่1ไม่ได้อยู่ที่บ้านเลขที่ตามฟ้องแต่อย่างใดอาจเป็นเพียงแต่เจ้าพนักงานเห็นว่าสะดวกกว่าการส่งไปยังภูมิลำเนาตามฟ้องก็เป็นได้โดยเฉพาะจำเลยที่1ประกอบอาชีพทนายความย่อมทราบขั้นตอนการพิจารณาของศาลเป็นอย่างดีแต่อ้างว่าเพิ่งติดตามคดีทั้งๆยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ตั้งแต่วันที่6กรกฎาคม2535เพิ่งติดตามตรวจสำนวนเมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2536ซึ่งห่างจากวันยื่นคำให้การถึง7เดือนเศษเป็นการผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพทนายความอย่างยิ่งจึงมิใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 1836/115 ส่วนบ้านเลขที่1836/116 นั้นไม่มีชื่อจำเลยอยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านจึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลยหรือสำนักทำการงานของจำเลย การที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนัดแจ้งกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว จึงเป็นการปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 77, 79 ถึงแม้จะปรากฏว่า ส.จะเคยแจ้งแก่เจ้าพนักงานศาลว่าจำเลยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 1836/116 แต่ ส.มิใช่คู่ความ ไม่มีอำนาจจะแจ้งแถลงไขความดังกล่าว จึงไม่ผูกมัดจำเลยในอันจะฟังว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหรือภูมิลำเนาเฉพาะกาล ณ บ้านเลขที่ดังกล่าว ที่จะมีผลให้การปิดหมายของพนักงานเดินหมายเป็นการปิดโดยชอบ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังไปฝ่ายเดียวโดยที่จำเลยไม่ทราบนัดและไม่มาศาลนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้การพิจารณาคดีทั้งหมดเป็นโมฆะ จำเป็นต้องเริ่มกระบวนการใหม่
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 1836/115 ส่วนบ้านเลขที่ 1836/116 นั้นไม่มีชื่อจำเลยอยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านจึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลยหรือสำนักทำการงานของจำเลยการที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนัดแจ้งกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว จึงเป็นการปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 77,79 ถึงแม้จะปรากฎว่าส.จะเคยแจ้งแก่เจ้าพนักงานศาลว่าจำเลยที่อยู่ ณ บ้านเลขที่ 1836/116 แต่ส.มิใช่คู่ความไม่มีอำนาจจะแจ้งแถลงไขความดังกล่าว จึงไม่ผูกมัดจำเลยในอันจะฟังว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหรือภูมิลำเนาเฉพาะกาลณ บ้านเลขที่ดังกล่าว ที่จะมีผลให้การปิดหมายของพนักงานเดินหมายเป็นการปิดโดยชอบ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังไปฝ่ายเดียวโดยที่จำเลยไม่ทราบนัดและไม่มาศาลนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: จำเลยต้องทราบวันนัดจริง แม้การส่งหมายชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะบุคคลที่ลงนามรับหมายแทนทนายจำเลยมิได้อยู่หรือทำงานในสำนักงานของทนายจำเลย ขอให้ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาใหม่แม้จะปรากฏว่าการส่งหมายนัดได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตามแต่ในรายงานการเดินหมายระบุว่า นายกล้า อายุ 40 ปี เต็มใจรับหมายไว้แทนเพราะอยู่ที่ทำงานเดียวกัน ซึ่งถ้าหากได้ความตามคำร้องของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่า จำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะต้องไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อน