พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8524/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กโดยมีเหตุฉกรรจ์เป็นไม่ฉกรรจ์ และข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ลงโทษจำคุก 25 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ลงโทษจำคุก 7 ปีจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้จากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยมีมีดเป็นอาวุธเป็นความผิดฐานเดิมโดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยไม่มีอาวุธทั้งความผิดทั้งสองวรรคต่างก็เป็นความผิดอันยอมความกันไม่ได้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่ากับการรอการลงโทษ: ศาลมีอำนาจบวกโทษจากคดีเก่าหลายคดีเข้ากับโทษคดีใหม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก มิได้มีข้อจำกัด ว่าจะต้องเป็นการบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเพียงคดีเดียวดังนั้น ในกรณีที่มีการรอการลงโทษในคดีก่อนหลายคดี ศาลที่พิพากษาคดีหลังก็ย่อมมีอำนาจที่จะบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทุกคดีเข้ากับโทษในคดีหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษที่รอการลงโทษหลายคดี ศาลมีอำนาจตาม ป.อ.มาตรา 58 วรรคแรก
ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังได้ โดยมิได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเพียงคดีเดียว ดังนั้น ในกรณีที่มีการรอการลงโทษในคดีก่อนหลายคดี ศาลที่พิพากษาคดีหลังก็ย่อมมีอำนาจที่จะบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทุกคดีเข้ากับโทษในคดีหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า MAKITA และ MAKITO และการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ทำให้ถูกเพิกถอนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAKITA อ่านว่า มากิต้า หรือ มากิตะ ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร และตัวเขียนเล็กแบบอักษรประดิษฐ์กับอักษร M.E.W. ในรูปวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันคำว่า MAKITO อ่านว่า มากิโต้ หรือ มากิโตะ มีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร ซึ่งทั้งสองคำจะประกอบด้วยจำนวนตัวอักษรโรมัน 6 ตัว เท่ากัน มีอักษร 5 ตัวหน้าเหมือนกัน โดยจัดวางเรียงชิดติดกันอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ต่างกันแต่อักษรตัวสุดท้ายซึ่งของโจทก์จะเป็นตัวอักษร A ส่วนของจำเลยจะเป็นตัวอักษร O แม้จะเห็นความแตกต่างของตัวอักษรตัวสุดท้ายอย่างชัดเจนเมื่อเขียนเป็นอักษรโรมันลักษณะตัวพิมพ์ใหญ่ แต่หากเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า makita ในการเขียนเป็นอักษรประดิษฐ์ ซึ่งเขียนในลักษณะของตัวเขียนเล็กคือ makita จะเห็นได้ว่าอักษรตัวสุดท้ายคือ a จะมีลักษณะกลมคล้ายตัวอักษร o เพียงแต่ด้านล่างทางด้านขวาของตัวอักษร a จะมีหางลากออกมา ซึ่งหากบุคคลผู้ไม่คุ้นเคยกับอักษรโรมันอาจสังเกตไม่เห็นความแตกต่างได้ และเมื่อพิจารณาเสียงเรียกขานคำว่า makita กับ MAKITO แล้ว เสียงเรียกขานจะใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ พยางค์แรกออกเสียงเหมือนกัน พยางค์ท้ายสุดของโจทก์ออกเสียงเป็น ตะ หรือ ต้า ส่วนของจำเลยออกเสียงเป็น โต้ หรือ โตะ แม้โจทก์จะยังไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MATIKA ซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่กับสินค้าของโจทก์ คงใช้แต่เครื่องหมายการค้าคำว่า makita ซึ่งเขียนเป็นตัวพิมพ์เล็กและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO โดยเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์เล็กกับตัวพิมพ์ใหญ่ดังกล่าวหาใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญอันจะไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดไม่ เครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO ของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า makita ของโจทก์
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 จำเลยนำเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO มาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 7 ประเภทเครื่องมือช่าง ในรายการสินค้า ใบเลื่อยใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ จำเลยก็ยอมรับว่าสินค้าใบเลื่อยของจำเลยสามารถใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้ารวมถึงเลื่อยวงเดือนแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้า เลื่อยชักแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าและเลื่อยสายพานแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าด้วยตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2510 ก่อนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้าซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์เป็นเวลาถึงประมาณ 27 ปี และปรากฏว่าสินค้าเครื่องมือช่างของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 30 ปี แล้ว ก่อนสินค้าของจำเลยมีวางจำหน่ายหลายปี การที่จำเลยผลิตสินค้าใบเลื่อยและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO เพื่อใช้กับสินค้าดังกล่าวซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยในการเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า makita ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า MAKITO ดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO ได้ ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 จำเลยนำเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO มาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 7 ประเภทเครื่องมือช่าง ในรายการสินค้า ใบเลื่อยใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ จำเลยก็ยอมรับว่าสินค้าใบเลื่อยของจำเลยสามารถใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้ารวมถึงเลื่อยวงเดือนแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้า เลื่อยชักแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าและเลื่อยสายพานแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าด้วยตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2510 ก่อนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้าซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์เป็นเวลาถึงประมาณ 27 ปี และปรากฏว่าสินค้าเครื่องมือช่างของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 30 ปี แล้ว ก่อนสินค้าของจำเลยมีวางจำหน่ายหลายปี การที่จำเลยผลิตสินค้าใบเลื่อยและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO เพื่อใช้กับสินค้าดังกล่าวซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยในการเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า makita ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า MAKITO ดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO ได้ ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ และสกุลเงินที่ใช้ชำระ
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์กับเจ้าหน้าที่กงสุลไทยรับรองอีกชั้นหนึ่งว่ามีการจัดทำเอกสารอย่างแท้จริง กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาซื้อขายพิพาทระบุเงื่อนไขชำระราคาใน 365 วันจากวันที่มีการส่งของ และตามใบตราส่ง โจทก์ส่งของให้แก่ผู้ขนส่งวันที่ 18ธันวาคม 2540 ซึ่งตรงกับวันที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าพร้อมแจ้งหนี้ดังนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของหนี้เงินค่าสินค้าในระหว่างผิดนัดได้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม2541 เป็นต้นไป มิใช่คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2540
สัญญาซื้อขายพิพาทระบุเงื่อนไขชำระราคาใน 365 วันจากวันที่มีการส่งของ และตามใบตราส่ง โจทก์ส่งของให้แก่ผู้ขนส่งวันที่ 18ธันวาคม 2540 ซึ่งตรงกับวันที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าพร้อมแจ้งหนี้ดังนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของหนี้เงินค่าสินค้าในระหว่างผิดนัดได้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม2541 เป็นต้นไป มิใช่คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8254/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องสัญญาทรัสต์รีซีท: ไม่ใช่การทดรองจ่าย แต่เป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญา มีอายุความ 10 ปี
การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ มีวิธีปฏิบัติในการชำระค่าสินค้าเป็นหลักสากลแตกต่างจากการซื้อขายทั่วไป คือ ผู้ซื้อจะต้องขอเครดิตจากธนาคารใดธนาคารหนึ่งภายในประเทศของผู้ซื้อสั่งให้ตัวแทนของธนาคารนั้นชำระราคาสินค้าให้แก่ผู้ขาย โดยเมื่อผู้ขายได้นำสินค้าตามที่สั่งซื้อส่งมอบให้แก่ผู้ขนส่งแล้วต้องนำเอกสารเกี่ยวกับสินค้าที่ผู้ขนส่งมอบให้เป็นหลักฐานว่าได้รับสินค้าไว้จากผู้ขายแล้ว ไปยื่นเสนอต่อธนาคารซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารในประเทศผู้ซื้อให้จ่ายเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายไปก่อน โดยวิธีการเช่นนี้ผู้ซื้อสามารถทำได้โดยยื่นคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่ธนาคารหนึ่งในประเทศโดยนำหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันไว้แก่ธนาคารนั้น และเมื่อสินค้าเดินทางมาถึงประเทศผู้ซื้อ ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้ซื้อเพราะเป็นผู้ถือใบตราส่งสินค้าไว้ เมื่อโจทก์เป็นธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิรับมอบสินค้าไว้จากผู้ขนส่ง หากจำเลยจะมาขอรับสินค้าไปก็ต้องชำระราคาสินค้าพร้อมกับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และหากยังไม่มีเงินชำระแต่ต้องการรับสินค้าไปจำหน่ายก่อน จำเลยก็ต้องทำความตกลงกันอีกครั้งหนึ่งด้วยการทำสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อจำเลยทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์โดยขอรับสินค้าไปจำหน่ายก่อน แต่ไม่ชำระเงินค่าสินค้าภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าว ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความในการใช้สิทธิดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30คือ มีกำหนด 10 ปี ไม่ใช่เป็นกรณีตัวแทนเรียกร้องเงินทดรองที่จ่ายแทนตัวการซึ่งมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเป็นธุระจัดหาฯ และหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นคนละกรรมกัน แม้จะต่อเนื่องกัน
การกระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ฯ และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม กับมาตรา 310 วรรคแรก แม้จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน แต่สามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกัน องค์ประกอบในการกระทำผิดก็ต่างกัน ทั้งการกระทำความผิดฐานหนึ่งก็ไม่จำต้องกระทำความผิดอีกฐานหนึ่งก่อน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8147/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาเนื่องจากส่งหมายไม่ชอบ และจำเลยไม่ทราบการฟ้องคดี
การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการผิดระเบียบ มิได้อุทธรณ์ว่าเป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำร้องและอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่ได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีประเด็นโต้เถียงกันในชั้นอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองยี่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากบ้านพิพาทที่จังหวัดจันทบุรี แต่เมื่อขณะถูกฟ้องจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้ไปค้าขายอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี จึงไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้อง ซึ่งโดยสภาพย่อมเป็นเรื่องพ้นวิสัยที่จำเลยทั้งสองจะมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาได้ จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้
การที่พนักงานเดินหมายนำหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปปิด ณ บ้านจำเลยทั้งสอง เป็นเวลาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์เพียง 11 วัน การปิดหมายนัดดังกล่าวจึงไม่มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบ แม้จำเลยทั้งสองไม่ไปศาลในวันนัดก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่ศาลจะเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากบ้านพิพาทที่จังหวัดจันทบุรี แต่เมื่อขณะถูกฟ้องจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้ไปค้าขายอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี จึงไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้อง ซึ่งโดยสภาพย่อมเป็นเรื่องพ้นวิสัยที่จำเลยทั้งสองจะมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาได้ จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้
การที่พนักงานเดินหมายนำหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปปิด ณ บ้านจำเลยทั้งสอง เป็นเวลาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์เพียง 11 วัน การปิดหมายนัดดังกล่าวจึงไม่มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบ แม้จำเลยทั้งสองไม่ไปศาลในวันนัดก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่ศาลจะเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8034/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า การใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนสับสน และการเรียกค่าเสียหาย
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย 8 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างมีคำว่า "UNIOR" รวมอยู่ด้วย คำว่า "UNIOR"ตรงกับชื่อบริษัทโจทก์คำแรก โจทก์นำคำว่า "UNIOR" มาจากคำในภาษาสโลวีเนีย 2 คำ โดยคำว่า UNI มาจากคำว่า UNIVERZALNAแปลว่า จักรวาล และคำว่า OR มาจากคำว่า ORODJA แปลว่าเครื่องมือ เมื่อนำ 2 คำนี้มารวมกัน ก็จะเห็นถึงเหตุผลที่นำคำดังกล่าวมาใช้กับสินค้าเครื่องมือช่างของโจทก์ โดยได้ดัดแปลงเป็นคำใหม่ว่า"UNIOR" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะขึ้นมา ส่วนจำเลยอ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า SUPPERUNIOR และ SUPPER-UNIOR จำเลยประดิษฐ์มาจากคำว่า SUPPER ซึ่งแปลว่า อาหารมื้อค่ำ และคำว่า JUNIORซึ่งแปลว่า ผู้อ่อนวัยกว่าหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เมื่อนำคำทั้ง 2 คำมารวมกันแปลว่า อาหารมื้อค่ำของผู้อ่อนวัยกว่าหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 3เมื่อพิจารณาประกอบกับสินค้าที่จำเลยจดทะเบียนซึ่งได้แก่ กรรไกร คีมไขควงกุญแจปากตายและกุญแจบล็อกจะเห็นว่า คำ 2 คำตามที่จำเลยอ้างถึงนั้นไม่สอดคล้องกับประเภทสินค้า ทั้งไม่มีเหตุที่จำเลยจะตัดอักษร J ออกจากคำว่า JUNIOR โจทก์นำสืบว่าโจทก์ผลิตและส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าโจทก์คิดประดิษฐ์คำว่า "UNIOR" ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งได้ใช้มาก่อนจำเลยหลายปี จำเลยเพียงแต่เอาคำว่า SUPPERมาวางไว้หน้าคำว่า UNIOR เท่านั้น ทั้งคำว่า SUPPER ก็คล้ายกับคำว่า SUPER มาก หากผู้ซื้อสินค้าไม่ได้สังเกตอย่างดีแล้วก็อาจเข้าใจเป็นคำ SUPER ได้โดยง่าย อันจะมีความหมายว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพพิเศษของ UNIOR ทั้งยังปรากฏจากสินค้าคีมของโจทก์และของจำเลยก็มีลักษณะคล้ายกัน ด้ามคีมใช้สีเหลืองเข้มใกล้เคียงกันซองพลาสติกบรรจุสินค้าของจำเลยก็คล้ายกับของโจทก์ทั้งการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยก็นำคำว่า SUPPER กับคำว่า UNIORวางไว้คนละบรรทัด โดยคำว่า SUPPER มีขนาดเล็กกว่าคำว่า UNIORพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยในการขอจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่พยายามทำให้ผู้ซื้อสินค้าสับสนหลงผิด เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย จึงมีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองของจำเลยที่ใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันได้
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าจำพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนให้จำเลยก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต จึงหาทำให้การกระทำของจำเลยกลับเป็นถูกต้องไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือนจากเหตุที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งย่อมมีผลให้เป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องดำเนินการขอเพิกถอนอีกแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าแล้วเสร็จ จึงไม่ถูกต้อง
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าจำพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนให้จำเลยก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต จึงหาทำให้การกระทำของจำเลยกลับเป็นถูกต้องไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือนจากเหตุที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งย่อมมีผลให้เป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องดำเนินการขอเพิกถอนอีกแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าแล้วเสร็จ จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8034/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน ละเมิดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายเดิม ศาลสั่งเพิกถอนและชดใช้ค่าเสียหาย
สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยอยู่ที่คำว่า "UNIOR" ส่วนอักษรตัวอื่นเป็นเพียงส่วนปลีกย่อย เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ และเมื่อโจทก์ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย จึงมีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันได้ ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในคำ "UNIOR" เพราะไปคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "UNITOR" ของผู้อื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนโจทก์ ก็เป็นปัญหาระหว่างโจทก์กับผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "UNITOR" มิได้เกี่ยวข้องกับจำเลย และไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในคำว่า "UNIOR" ดีกว่าโจทก์
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ ก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ซึ่งโจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่ามีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายเดือน นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แล้วเสร็จจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าเฉพาะในเรื่องค่าเสียหาย ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายเดือน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้า
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ ก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ซึ่งโจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่ามีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายเดือน นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แล้วเสร็จจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าเฉพาะในเรื่องค่าเสียหาย ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายเดือน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้า