คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์และผลิตสื่อลามก: จำเลยมีความผิดฐานทำซ้ำและจำหน่ายงานละเมิดลิขสิทธิ์และสื่ออนาจาร
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพร้อมด้วยแผ่นวีดีโอซีดีที่จำเลยร่วมกันทำซ้ำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งสามซึ่งจำเลยก็รับสารภาพต่อศาลแล้วร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นวีดีโอซีดีที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ จำนวน 4,300 แผ่น ทั้งยังร่วมกันทำให้แพร่หลายโดยการมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งแผ่นวีดีโอซีดีลามกอีกเป็นจำนวน 1,000 แผ่น เป็นการร่วมกันกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายมีลักษณะเป็นขบวนการโดยกลุ่มบุคคลหลายสัญชาติอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ยิ่งกว่ากรณีปกติธรรมดาทั้งเป็นการกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน เหตุผลที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกว่าจำเลยมีความประพฤติดี และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลต้องเริ่มกระบวนการใหม่
จำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษา ต่อมาภายหลังจากนั้น ย่อมเป็นกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ถือเป็นการสละสิทธิในการเรียกร้องให้ได้ตามฟ้อง
โจทก์จำเลยตกลงแถลงร่วมกันว่า การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดในหนี้จำนวนเท่าใดนั้นให้อยู่ในดุลพินิจ ของศาลที่จะกำหนดเบี้ยปรับและดอกเบี้ย ให้จำเลยรับผิด แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะรับในดุลพินิจของศาล เมื่อศาลชั้นต้น มีดุลพินิจกำหนดเป็นประการใด โดยไม่ปรากฏว่าดุลพินิจ ของศาลชั้นต้น เป็นไปโดยมิชอบ ศาลฎีกาก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลง ให้เป็นอย่างอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน: ศาลมีดุลพินิจในการคิดดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องได้
++ เรื่อง สัญญา ค้ำประกัน
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 69 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: เริ่มนับจากวันที่รู้สิทธิ กรณีซื้อขายขาดตกบกพร่อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนที่ชำระให้จำเลยเกินไปคืนซึ่งเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานทรัพย์ซึ่งซื้อขายขาดตกบกพร่องจึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 467 มาบังคับมิได้ กรณีต้องนำอายุความในมูลลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 1 ปี นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายคือโจทก์ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้โจทก์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535ระบุเนื้อที่ดินขาดไปจากที่โจทก์ชำระราคาให้จำเลย หลังจากรังวัดตรวจสอบให้เป็นที่แน่นอนอีกครั้งแล้ว จึงแก้ไขในโฉนดระบุเนื้อที่ดินใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536ดังนั้น อายุความ 1 ปี ย่อมเริ่มนับตั้งแต่ตรวจสอบทราบแน่นอนแล้ว คือวันที่ 22พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 ยังไม่เกิน 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันชำระราคาเกินไป คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้: อายุความ 1 ปี นับจากวันที่ทราบเนื้อที่ดินที่ถูกต้อง หลังการรังวัดใหม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนที่ชำระให้จำเลย เกินไปคืน ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูล อันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็น การฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานทรัพย์ซึ่งซื้อขายขาดตกบกพร่อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 กำหนดอายุความของลาภมิควรได้ไว้ 1 ปี นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหาย คือ โจทก์ทั้งสองรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้โจทก์ทั้งสองเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535ระบุเนื้อที่ดินขาดไปจากที่โจทก์ทั้งสองชำระราคาให้จำเลย หลังจากรังวัดตรวจสอบให้เป็นที่แน่นอนอีกครั้งแล้ว จึงแก้ไข ในโฉนดระบุเนื้อที่ดินใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536ดังนั้น อายุความ 1 ปี ย่อมเริ่มนับตั้งแต่ตรวจสอบทราบแน่นอนแล้ว คือวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2537 ยังไม่เกิน 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันชำระราคาเกินไป คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้: เริ่มนับเมื่อทราบสิทธิหรือ 10 ปีนับแต่เกิดสิทธิ ไม่ใช่เรื่องทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนที่ชำระให้จำเลยเกินไปคืน ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานทรัพย์ซึ่งซื้อขายขาดตกบกพร่อง จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 มาบังคับมิได้ กรณีต้องนำอายุความในมูลลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 1 ปี นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายคือโจทก์ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้โจทก์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ระบุเนื้อที่ดินขาดไปจากที่โจทก์ชำระราคาให้จำเลย หลังจากรังวัดตรวจสอบให้เป็นที่แน่นอนอีกครั้งแล้วจึงแก้ไขในโฉนดระบุเนื้อที่ดินใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้น อายุความ1 ปีย่อมเริ่มนับตั้งแต่ตรวจสอบทราบแน่นอนแล้ว คือวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 ยังไม่เกิน 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันชำระราคาเกินไปคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกเนื่องจากมีส่วนได้เสียขัดแย้งกับประโยชน์ของกองมรดก
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ต่อมาผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะนำที่ดิน 2 แปลงออกแบ่งแก่ทายาทอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ที่ต้องการจัดการตามพินัยกรรม แต่ผู้ร้องที่ 1 ไม่ยินยอม อ้างว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นของผู้ร้องที่ 1 เนื่องจาก จ. ยกให้ผู้ร้องที่ 1 ก่อนถึงแก่ความตาย กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องที่ 1 อ้างสิทธิเป็นข้อพิพาทโต้แย้งข้ออ้างของผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 อันเป็นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ของทายาทโดยรวม ผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก จึงไม่สมควรให้ผู้ร้องที่ 1 ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารกู้เงินและค้ำประกันปลอม การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และสิทธิในการนำสืบพยานบุคคล
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 30,000 บาท มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อใน หนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปเกินกว่าความเป็นจริงว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไป 300,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาทและสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วนหรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญากู้และค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นเอกสารปลอม สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้และหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ไว้ การที่ต่อมาโจทก์มากรอกข้อความลงในหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันให้เกินกว่าความเป็นจริงว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป300,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสองสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันรายนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาทโดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
of 23