พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขู่คุกคามทำให้ตกใจกลัว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่ผู้เสียหายอยู่ในบ้านกับบุตรสาว จำเลยที่ 1มาร้องเรียกผู้เสียหายที่หน้าบ้านว่า "เฮ้ยมึงไม่แน่จริงนี่หว่าเฮ้ยถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาซิวะ*มึงทำไมไม่ออกมาวะออกมาโดนแน่"ขณะนั้นจำเลยที่ 2 ยืนอยู่หน้าบ้านตนเองซึ่งอยู่เยื้องบ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 พูดว่า "ให้มันอยู่แต่ในบ้าน อย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมา เอาแม่มันเลย" คำพูดของจำเลยทั้งสองดังกล่าวประกอบการกระทำและสถานที่เห็นได้ว่า เป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันเท่านั้นไม่ เมื่อผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ส่วนกลาง (สวนหย่อม) ไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากผู้ซื้อทราบและยินยอมโดยปริยาย
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคารตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลยหลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้างไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุดที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนา การรู้เห็น การปฏิบัติตามสัญญา และการถือว่าข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลอง แต่ก่อนเปิดขายอาคารทุกหลังในโครงการนี้ได้ตอกเสาเข็ม ไว้แล้วโดยแต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่ พ้นดินประมาณ 2 เมตร ซึ่งในระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระเงินดาวน์และไปตรวจดูการ ก่อสร้างห้องชุดที่จะซื้อ โจทก์ได้เห็นการก่อสร้างอาคารซี ตรงจุดที่จำเลยแสดงไว้ในโฆษณาว่าจะทำเป็นสวนหย่อม แต่โจทก์ ก็ไม่เคยโต้แย้งการก่อสร้างอาคาร ซี แต่อย่างใด เท่ากับโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคาร ซีมาโดยตลอด การที่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมา แสดงว่า โจทก์หาได้ถือว่าการจะมีหรือไม่มีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลัง ที่โจทก์จะซื้อห้องชุดเป็นข้อสาระสำคัญไม่ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การแสดงเจตนาและข้อตกลงที่แท้จริงมีผลเหนือกว่าโฆษณาชวนเชื่อ
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่ พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคาร ตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลย หลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้าง ไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุด ที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อ ปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมี สวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อม ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แม้มีการโอนสิทธิ
ปัญหาว่าสิทธิเรียกร้องใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแม้คู่ความจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247 จำเลยเป็นพนักงานของผู้ร้อง และหากจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้องจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสุทธิจำนวนหนึ่ง แต่ก่อนจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ร้อง เมื่อตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ แต่การอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง โจทก์ย่อมไม่อาจอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แม้มีการโอนสิทธิ
ปัญหาว่าสิทธิเรียกร้องใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแม้คู่ความจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยเป็นพนักงานของผู้ร้อง และหากจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสุทธิจำนวนหนึ่ง แต่ก่อนจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ร้อง เมื่อตามพ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ แต่การอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง โจทก์ย่อมไม่อาจอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของศาลชั้นต้น
จำเลยเป็นพนักงานของผู้ร้อง และหากจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสุทธิจำนวนหนึ่ง แต่ก่อนจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ร้อง เมื่อตามพ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ แต่การอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง โจทก์ย่อมไม่อาจอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24กำหนดว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ เมื่อการอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งโจทก์จึงไม่อาจอายัดสิทธิ เรียกร้องดังกล่าวได้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัด ของศาลชั้นต้น ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดไม่ชอบเมื่อขาดคำขอบังคับ และการไม่อุทธรณ์ข้อกฎหมายในชั้นอุทธรณ์ทำให้ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในชั้นอุทธรณ์ ผู้ร้องสอดขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) เพียงประการเดียว ดังนี้คำขอตามมาตรา 57 (2) จึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำขอตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) เป็นคำร้องสอดที่มีลักษณะเป็นคำฟ้อง ย่อมอยู่ในบังคับ มาตรา 172 วรรคสอง จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ แต่คำร้องสอดของผู้ร้องสอดไม่มีคำขอบังคับ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
คำขอตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) เป็นคำร้องสอดที่มีลักษณะเป็นคำฟ้อง ย่อมอยู่ในบังคับ มาตรา 172 วรรคสอง จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ แต่คำร้องสอดของผู้ร้องสอดไม่มีคำขอบังคับ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน มิฉะนั้นศาลไม่รับพิจารณา และการฎีกาต้องไม่เกินกรอบที่อุทธรณ์ไว้
ในชั้นอุทธรณ์ ผู้ร้องสอดขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เพียง ประการเดียว ดังนี้คำขอตามมาตรา 57(2) จึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำขอตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)เป็นคำร้องสอดที่มีลักษณะเป็นคำฟ้อง ย่อมอยู่ในบังคับมาตรา 172 วรรคสอง จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพ แห่งข้อหาและคำขอบังคับ แต่คำร้องสอดของผู้ร้องสอด ไม่มีคำขอบังคับ จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิดยาเสพติด: ต้องมีหลักฐานเชื่อมโยงถึงที่มาของการได้มาซึ่งเงิน
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าเงินจำนวน 76,000 บาท ที่เจ้าพนักงานยึดมาเป็นเงินที่จำเลย ได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีน เงินดังกล่าวอาจเป็นเงิน ที่จำเลยได้มาจากกิจการอื่นดังที่จำเลยอ้างก็ได้ ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบเงิน ดังกล่าว ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 หรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย