คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษคดียาเสพติดประเภท 2: พิจารณาจากปริมาณการครอบครอง, ประวัติผู้ต้องหา, และประโยชน์ต่อสังคม
จำเลยมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2ไว้ในครอบครองเพื่อเสพเป็นยารักษาโรค เพียงแต่มิได้ เสพตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบ โรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรมที่ได้รับอนุญาต แล้วเท่านั้น ทั้งฝิ่นที่ใช้ผสมน้ำก็มีจำนวนเพียงเล็กน้อย กล่าวคือ ใช้ฝิ่นเพียง 8.8 กรัม ผสมน้ำถึง 3 ขวด และเป็นเพียงยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำเลยไม่เคย ต้องโทษจำคุกมาก่อน และมีอาชีพมั่นคง การลงโทษจำคุกจำเลย ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ แก่สังคม การรอการลงโทษ ให้แก่จำเลยโดยกำหนดวิธีการคุมประพฤติน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า ความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 2ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ในความผิดฐานดังกล่าวโดยให้จำคุก 4 เดือน นั้น แม้ว่า จะต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และการเพิ่มโทษเจ้าพนักงานที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความสอดคล้องต้องกันในข้อสาระสำคัญ และต่างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ทั้งจำเลย ก็เป็นเจ้าพนักงานตำรวจเช่นเดียวกับพยานโจทก์ทั้งสอง จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะมาเบิกความปรักปรำจำเลย ส่วนที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างกันในเรื่องที่ขึ้นไปชั้นสองของตัวบ้านพร้อมกันหรือไม่นั้นเป็นข้อแตกต่างที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ไม่ทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองขาดน้ำหนักที่จะรับฟังแต่อย่างใดเมื่อพิจารณาถึงจำนวนเมทแอมเฟตามีนของกลางที่มีจำนวนมาก และมีราคาสูง ตามปกติวิสัยของคนทั่วไปย่อมต้องวางไว้ ข้างตัวเพื่อจะปกป้องได้ทันหากมีเรื่องไม่คาดหมายเกิดขึ้น จึงน่าเชื่อว่าเป็นของจำเลย และจำนวนเมทแอมเฟตามีน ของกลางก็มีมากเกินกว่าจะมีไว้เสพเอง พยานหลักฐานโจทก์ จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลาง ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเสพวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดและลงโทษจำคุก 3 ปี นั้น ยังไม่ถูกต้องเพราะตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 3 และมาตรา 10 บัญญัติเพิ่มโทษเฉพาะความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทางด้านการผลิตนำเข้าส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น แม้ปัญหานี้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพื่อขอคืนของกลาง ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ชัดเจน
ผู้ร้องมี ณ. ผู้รับมอบอำนาจและผู้เช่าโต๊ะบิลเลียดทรัพย์ของกลางเบิกความแต่เพียงว่า ได้เช่าทรัพย์ของกลางจากผู้ร้อง แต่ ณ. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องมิได้ยืนยันว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางแต่ประการใด ทั้งตัวผู้ร้องเองก็มิได้มาเบิกความยืนยันแสดงหลักฐานว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางดังนั้นการเบิกความแต่เพียงว่าผู้ร้องเป็นผู้ให้เช่าทรัพย์ของกลาง จึงไม่อาจรับฟังว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่แท้จริงในทรัพย์ของกลาง ที่ขอคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้ร้อง จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางแก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทในการกลับรถใกล้รถอื่น และความรับผิดทางอาญา
จำเลยกลับรถในขณะที่มีรถอื่นตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร จึงเป็นการขับรถยนต์โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติ ขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการขับรถ ถือได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยความประมาท ส่วนที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถที่ 2 ไม่ขับในช่องเดินรถซ้ายสุดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกฯ มาตรา 35 วรรคสอง ก็ดี หรือขับรถจักรยานยนต์ ด้วยความเร็วเกินสมควรหรือไม่ก็ดี ไม่ว่าการกระทำของ โจทก์ร่วมที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่ ก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เป็นการกระทำโดยประมาท กลับเป็นไม่ประมาทไปได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เนื่องจากไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาภายในกำหนด
การเขียนอุทธรณ์ของโจทก์จะต้องตรวจดูถ้อยคำต่าง ๆในคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยละเอียดเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยมิฉะนั้นอาจไม่เป็นอุทธรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงจำต้องมีสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ประกอบการเขียนอุทธรณ์และโจทก์ก็ยื่นคำแถลงขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลชั้นต้นแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดระยะเวลา อุทธรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ การที่ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7527/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยปิดหมายที่ภูมิลำเนาและการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ/ไม่มาศาล การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายณ บ้านที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น ก่อนถูกฟ้องจำเลยก็เคยได้รับหนังสือจากทนายความให้เปิดทางเดินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายเรียกได้ปิดหมายเรียกไว้ที่ประตูไม้ทางเข้าบ้าน คนเดินผ่านสามารถมองเห็นได้ชัด การที่จำเลยไม่ได้อาศัยในบ้านหลังที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้าน และจำเลยยังทราบว่าอาจถูกฟ้องเนื่องจากได้รับหนังสือทนายความให้เปิดทางเดิน และจำเลยก็ไปเก็บค่าเช่าที่บ้านเลขที่ดังกล่าวเดือนละ 5 ถึง 6 ครั้ง จำเลยน่าจะให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่จำเลยกลับไม่เอาใจใส่ กรณีถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 20 ธันวาคม 2536 และแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ในวันนัดดังกล่าวไป เมื่อเป็นการสืบพยานโจทก์โดยไม่ให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 184 วรรคสองศาลฎีกาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดหมายแจ้งจำเลยที่ภูมิลำเนา และการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่แจ้งวันสืบพยานล่วงหน้า
โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น ก่อนถูกฟ้องจำเลยก็เคยได้รับหนังสือจากทนายความให้เปิดทางเดินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายเรียกได้ปิดหมายเรียกไว้ที่ประตูไม้ทางเข้าบ้าน คนเดินผ่านสามารถมองเห็นได้ชัด การที่จำเลยไม่ได้อาศัยในบ้านหลังที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้าน และจำเลยยังทราบว่าอาจถูกฟ้องเนื่องจากได้รับหนังสือทนายความให้เปิดทางเดิน และจำเลยก็ไปเก็บค่าเช่าที่บ้านเลขที่ดังกล่าวเดือนละ5 ถึง 6 ครั้ง จำเลยน่าจะให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่จำเลยกลับไม่เอาใจใส่ กรณีถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 20 ธันวาคม 2536 และแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ในวันนัดดังกล่าวไป เมื่อเป็นการสืบพยานโจทก์โดยไม่ให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 184 วรรคสอง ศาลฎีกาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำฐานบุกรุกหลังศาลยกฟ้องคดีเดิม และการขาดเจตนาบุกรุกเนื่องจากความเชื่อมั่นโดยสุจริต
ระหว่างที่จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาบุกรุกที่ดินจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาท เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองกลับเข้ามาในที่ดินพิพาทใหม่ จึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง หาใช่การบุกรุกในครั้งก่อนยังคงอยู่ตลอดมาไม่ ฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีนี้ที่ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาบุกรุกอีกจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ร่วมกับจำเลยทั้งสองพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2534 ตลอดมา ซึ่งต่างกล่าวอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท โดยโจทก์ร่วมกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกส่วนจำเลยทั้งสองก็กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมทำให้ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองที่อยู่ในที่ดินพิพาทเสียหาย และจำเลยทั้งสองยังฟ้องโจทก์ร่วมกับพวกเป็นคดีแพ่งขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ร่วม ขณะที่จำเลยทั้งสองกลับเข้ามาในที่ดินพิพาทใหม่นั้นคดีแพ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ประกอบกับเป็นการเข้าไป ในที่ดินพิพาทหลังจากศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในคดีที่จำเลยทั้งสองถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ดินพิพาทในคดีอาญาก่อนแม้ที่ดินพิพาทในคดีนี้มีเนื้อที่มากกว่าที่ดินในคดีเดิมที่ศาลฎีกายกฟ้องไปก็ตาม แต่ที่ดินในบริเวณนี้ยังไม่มีแนวเขตที่ชัดแจ้งและเนื้อที่ที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องว่าบุกรุกในแต่ละครั้ง ก็มีเนื้อที่แตกต่างกันไม่มาก แสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าไป ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความเชื่อมั่นอย่างสุจริตใจ ว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้ อันเป็นการแสดงว่าจำเลยทั้งสองขาดเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และราคาทรัพย์จำนองเกินหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปีเท่านั้น
โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดินของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัวอยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้
ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3) นั้น ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: บังคับจำนองได้แม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และไม่สามารถเอาทรัพย์หลุดได้หากราคาทรัพย์ท่วมหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียก ดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปี เท่านั้น โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ. 2530เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดิน ของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัว อยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงิน ที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3) นั้นปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับ วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 23