คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกเอกสารใหม่ ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจอันเป็นเจ้าพนักงานว่าจำเลยทำสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ และบัตร เอ.ที.เอ็ม ที่ธนาคารออกให้แก่จำเลยสูญหายไป ก็เพื่อประสงค์จะให้เจ้าพนักงานออกหลักฐานเพื่อจะนำไปเป็นหลักฐานขอสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ และบัตร เอ.ที.เอ็ม.ใหม่จากธนาคารเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรง แม้ความจริงจำเลยมิได้ทำสูญหาย หากแต่จำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์และบัตร เอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินก็ตาม และการแจ้งความดังกล่าวจำเลยมิได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ทั้งโจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจากสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์และบัตรเอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกเอกสารใหม่ แม้โจทก์ไม่เสียหายโดยตรง ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจอันเป็นเจ้าพนักงานว่าจำเลยทำสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ และบัตร เอ.ที.เอ็มที่ธนาคารออกให้แก่จำเลยสูญหายไป ก็เพื่อประสงค์จะให้เจ้าพนักงานออกหลักฐานเพื่อจะนำไปเป็นหลักฐานขอสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ และบัตร เอ.ที.เอ็ม ใหม่จากธนาคารเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรงแม้ความจริงจำเลยมิได้ทำสูญหาย หากแต่จำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์และบัตร เอ.ที.เอ็ม ดังกล่าว ให้ไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินก็ตาม และการแจ้งความดังกล่าวจำเลยมิได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ทั้งโจทก์ก็ไม่มีสิทธิ ตามกฎหมายที่จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจาก สมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์และบัตร เอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน อาคารชุด ผู้ขายผิดสัญญาหยุดก่อสร้าง ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โดยที่สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุว่าผู้จะซื้อต้องชำระเงินในระหว่างการก่อสร้างตามเวลาที่กำหนดไว้และว่าผู้จะขายสัญญาว่าจะทำการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว แสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายอาคารชุดหยุดการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผ่อนชำระราคา เป็นเวลาถึง 1 ปีเศษกรณีต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์อาคารชุด ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้ จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาโดยมิได้ให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนั้นต้องถือว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดจากการหยุดก่อสร้าง ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดจากจำเลยตามสัญญาฉบับพิพาท ในราคา 4,615,394 บาท และโจทก์ชำระเงินให้จำเลยในวันทำสัญญาเป็นเงินค่าจอง 50,000 บาท และค่างวดอีก 5 งวด คืองวดเดือนมกราคม 2538ถึงเดือนพฤษภาคม 2538 เป็นเงิน 340,000 บาท หลังจากนั้นโจทก์ผ่อนชำระให้แก่จำเลยในงวดเดือนมิถุนายน 2538 ถึงเดือนมกราคม 2539 อีก 8 งวด เป็นเงิน365,056 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยทั้งสิ้น 755,056 บาท และโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวต่อจำเลยแล้ว ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุว่า ผู้จะซื้อต้องชำระเงินในระหว่างการก่อสร้างอาคารชุดตามเวลาที่กำหนดไว้ และผู้จะขายสัญญาว่าจะทำการก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จโดยเร็วที่สุด ซึ่งแสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่จำเลยหยุดก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 ถึงเดือนกันยายน 2539 เป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ โดยจำเลยไม่เคยมีหนังสือแจ้งความคืบหน้าการก่อสร้าง ถือได้ว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างอาคารในระหว่างเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระราคา กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเกินขอบเขตคำให้การ: จำเลยอ้างสัญญากู้ปลอม แต่สืบเรื่องการไม่ได้รับเงิน ซึ่งไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมเนื่องจากจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ประเด็นตามคำให้การจึงมีเพียงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินหรือไม่ อันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าสัญญากู้เงินปลอมหรือไม่ ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจทำให้สัญญากู้เงินปลอมล้วนไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเป็นเหตุให้สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม และจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการต่อสู้คดี: การนำสืบต้องอยู่ภายในประเด็นที่ได้ยกขึ้นต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมเนื่องจากจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ประเด็นตามคำให้การจึงมีเพียงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินหรือไม่ อันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าสัญญากู้เงินปลอมหรือไม่ ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจทำให้สัญญากู้เงินปลอมล้วนไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเป็นเหตุให้สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม และจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่ มีผลต่อการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224กำหนดว่าในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 105,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียงห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระคือห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จก็จะนำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำร้องอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา – ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่อีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ และยังมิได้พิจารณาว่าจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรา 223 ทวิ ทำให้ศาลฎีกาไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่อีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ และยังมิได้พิจารณาว่าจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิคดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินจากที่เช่าเปลี่ยนสภาพเป็นทรัพย์สินอื่น การขายดินถือเป็นการลักทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียงแต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครอง ดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่จำเลยเอาดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
of 23