พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดดินเช่าไปขายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ผู้เช่าครอบครองที่ดินในฐานะอสังหาริมทรัพย์ ดินที่ขุดได้ถือเป็นสังหาริมทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียง แต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพ อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อม เปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการ ครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครองดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่ จำเลยเอา ดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีเอกสารจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่ง ต. ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มี ข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบ การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด การที่ต. รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดู นางแตงมาเป็นเวลาถึง7ปีแสดงว่าต. มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของต. จะมีสิทธิจัดการได้ ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิ ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครอง และผลกระทบต่อสิทธิในที่ดินเมื่อผู้ให้เสียชีวิต
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่งต.ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต.ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525 และ ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด
การที่ ต.รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต.มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
การที่ ต.รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต.มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีฆ่าผู้อื่น โดยประเด็นสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืน และการย้ายศพเพื่อปิดบังความตาย
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามฟ้องโจทก์แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน โจทก์นำสืบแต่เพียงว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลย เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ และอาวุธปืนดังกล่าวมีเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน ประทับหรือไม่ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอลงโทษจำเลยในฐานะนี้ สำหรับความผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า ศพของผู้ตายถูกเคลื่อนย้ายไปเพียง 20 เมตรและย้ายไปอยู่ในที่เปิดเผยสามารถถูกพบได้โดยง่ายจึงไม่มีลักษณะเป็นการย้ายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายอันจะเป็นความผิดในฐานนี้จำเลยจึงไม่มีความผิดในฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าและย้ายศพ จำเลยต้องได้รับการพิสูจน์ทั้งองค์ประกอบความผิดและพยานหลักฐานสนับสนุน
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามฟ้องโจทก์ แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ และอาวุธปืนดังกล่าวมีเครื่องหมายของเจ้าพนักงานประทับหรือไม่ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอลงโทษจำเลยในฐานนี้
สำหรับความผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า ศพของผู้ตายถูกเคลื่อนย้ายไปเพียง20 เมตร และย้ายไปอยู่ในที่เปิดเผยสามารถถูกพบได้โดยง่าย จึงไม่มีลักษณะเป็นการย้ายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายอันจะเป็นความผิดในฐานนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดในฐานนี้
สำหรับความผิดฐานย้ายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่า ศพของผู้ตายถูกเคลื่อนย้ายไปเพียง20 เมตร และย้ายไปอยู่ในที่เปิดเผยสามารถถูกพบได้โดยง่าย จึงไม่มีลักษณะเป็นการย้ายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตายอันจะเป็นความผิดในฐานนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดในฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4244/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากทุนทรัพย์ที่พิพาทเกินสองแสนบาท และจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จำเลยที่ 1ฎีกายกเหตุอ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณาอันเป็นข้อเท็จจริงแม้ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทคำฟ้องและคำให้การแต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริง ต้องกันว่า จำเลยที่ 1 จงใจขาดนัดพิจารณา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 178,125 บาท ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น เมื่อไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีภายในกำหนดเวลาสิบปี: การดำเนินการขอให้บังคับคดีถือเป็นไปตามกฎหมาย แม้การบังคับคดีจะล่าช้า
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12พฤศจิกายน 2528 การที่โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน 2538 โดยโจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันเดียวกันนั้น ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีภายใน 10 ปี: การยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีถือเป็นการดำเนินการภายในกำหนดเวลา แม้การบังคับคดีจะเกินกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2528 การที่โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 และ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 โดยโจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันเดียวกันนั้น ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นการ ดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยภายในกำหนดเวลา สิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดี จะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดี เกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้ บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเดินเผชิญสืบ: ดุลพินิจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริง
คู่ความตอกลงกันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทแล้ววินิจฉัยไปตามรูปคดีโดยไม่ติดใจสืบพยานอื่นใดอีกต่อไปและตามข้อตกลงของคู่ความมีลักษณะให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นประสงค์จะหาข้อเท็จจริงเพียงใดจากการเดินเผชิญสืบก็ได้ และข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะบังคับให้ศาลชั้นต้นต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาท และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการเดินเผชิญสืบจะต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาทดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ไปเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทพร้อมกับทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขตของที่ดินพิพาท ลักษณะของลำรางพิพาทว่าเป็นอย่างไร และมีอยู่อย่างไรแล้ววินิจฉัยคดีไปโดยไม่สอบถามพยานบุคคลหรือตรวจสอบพยานเอกสารอื่นอีกถือได้ว่าศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อตกลงของคู่ความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเดินเผชิญสืบที่ดินตามข้อตกลงคู่ความ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามรูปคดี
คู่ความตกลงกันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทแล้ววินิจฉัยไปตามรูปคดีโดยไม่ติดใจสืบพยานอื่นใดอีกต่อไป และตามข้อตกลงของคู่ความมีลักษณะให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นประสงค์จะหาข้อเท็จจริงเพียงใดจากการเดินเผชิญสืบก็ได้ และข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะบังคับให้ศาลชั้นต้นต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาท และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการเดินเผชิญสืบจะต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาทดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ไปเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทพร้อมกับทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขตของที่ดินพิพาท ลักษณะของลำรางพิพาทว่าเป็นอย่างไร และมีอยู่อย่างไรแล้ววินิจฉัยคดีไปโดยไม่สอบถามพยานบุคคลหรือตรวจสอบพยานเอกสารอื่นอีกถือได้ว่าศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อตกลงของคู่ความแล้ว