คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานและการล่วงเกินทางเพศโดยใช้กำลัง ถือเป็นความผิดอนาจาร
จำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของ ช. อันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 365 (3) แล้วจำเลยเข้าไปปลุกผู้เสียหายให้ตื่น หลังจากนั้นจำเลยเดินไปที่เตียงนอนซึ่งผู้เสียหายนอนหลับอยู่ จำเลยกับผู้เสียหายและบิดามารดาของผู้เสียหายไม่รู้จักกัน ผู้เสียหายมีอายุถึง 14 ปีเศษ โดยทางสรีระถือว่าเป็นสาวแล้ว การที่จำเลยเข้าไปถึงเตียงนอนของผู้เสียหายแล้วจับมือ จับแก้ม และลูบคางผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายสะบัดมือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมของจำเลย จำเลยก็ไม่ยอมปล่อยมือ เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่งและเป็นการล่วงเกินทางเพศต่อผู้เสียหาย อันถือได้ว่าเป็นการกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารเด็กโดยใช้กำลังประทุษร้ายและการบุกรุกเคหสถาน
จำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของช. อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3) แล้วจำเลยเข้าไปปลุกผู้เสียหายให้ตื่น หลังจากนั้นจำเลยเดินไปที่เตียงนอนซึ่งผู้เสียหายนอนหลับอยู่ จำเลยกับผู้เสียหายและบิดามารดาของผู้เสียหายไม่รู้จักกันผู้เสียหายมีอายุถึง 14 ปีเศษ โดยทางสรีระ ถือว่าเป็นสาวแล้ว การที่จำเลยเข้าไปถึงเตียงนอน ของผู้เสียหายแล้วจับมือ จับแก้ม และลูบคางผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายสะบัดมือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมของจำเลยจำเลยก็ไม่ยอมปล่อยมือ เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควร อย่างยิ่งและเป็นการล่วงเกินทางเพศต่อผู้เสียหายอันถือได้ว่าเป็นการกระทำอนาจารต่อผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การหักเงินชำระแล้ว, และประเด็นความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกันใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1 ได้มอบเงิน 1,000,000บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน 1,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้นโจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมา จะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ แต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน, การหักเงินชำระ, อายุความฟ้อง, และการแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกัน ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1ได้มอบเงิน 1,000,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้องหากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้น โจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลย ทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดิน ให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้ว จำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณี ที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3632/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และสิทธิรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
โจทก์และนายจ้างของ ส. มิได้ถูกฟ้องในคดีอาญา คำพิพากษาของศาลในส่วนคดีอาญาที่พิพากษาว่า ส. ขับรถประมาทไม่มีผลผูกพันนายจ้างของ ส. และบุคคลภายนอก โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยังอาจยกเป็นข้อต่อสู้และนำสืบในคดีแพ่งได้ว่า ส. มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาทเลินเล่อต่อจำเลย หากนำสืบได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีของ ส. เป็นฝ่าย ขับรถประมาทละเมิดต่อรถของนายจ้างซึ่งเป็น ส. เป็นผู้ขับ และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าซ่อมรถคันดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของนายจ้าง ส. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 และมาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการห้ามสืบพยานบุคคลแทนเอกสารในคดีลักทรัพย์
คดีซึ่งห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารหรือสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 นั้น ได้แก่คดีซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แต่คดีความผิดฐานลักทรัพย์หาได้มีกฎหมายบังคับไว้เช่นนั้นไม่ คู่ความจึงอาจนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อต่อสู้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์และการรับฟังพยานหลักฐานสนับสนุนข้อต่อสู้ โดยไม่ขัดต่อหลักการรับฟังพยานเอกสาร
คดีซึ่งห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารหรือสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้น ได้แก่คดีซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสาร มาแสดง แต่คดีความผิดฐานลักทรัพย์หาได้มีกฎหมายบังคับ ไว้เช่นนั้นไม่ คู่ความจึงอาจนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อต่อสู้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายและการสมัครใจวิวาท การอ้างเหตุป้องกันและบันดาลโทสะที่ไม่สมเหตุสมผล
การที่ผู้เสียหายที่ 1 ไปท้าทายจำเลยโดยพูดเพียงว่า"มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัวถ้าแน่จริง" แม้จำเลยไม่มีหน้าที่ จะต้องหลบหนีก็ตาม แต่หากจำเลยไม่สมัครใจที่จะวิวาท หรือต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 จำเลยก็ชอบที่จะไม่ตอบโต้ หรือ ออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 แต่จำเลยกลับออกไปพบผู้เสียหายที่ 1 โดยพกอาวุธปืนไปด้วย แสดงว่าจำเลยสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 1 และเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะชักมีดออกมาเพื่อจ้วงแทงจำเลย ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะวิวาทกัน จำเลยไม่มีสิทธิ ใช้ไม้ตีผู้เสียหายทั้งสองและใช้ปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยอ้างเหตุป้องกันตามกฎหมาย ทั้งการที่ผู้เสียหายที่ 1มาเรียกจำเลยให้ออกไปชกต่อยกันตัวต่อตัว ไม่เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 จำเลยใช้ไม้กลมยาวประมาณ 1 ศอก ตีที่ศีรษะ ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้มีรอยช้ำที่บริเวณท้ายทอยใช้เวลารักษาประมาณ 5 วัน เป็นการใช้อาวุธทำร้ายที่บริเวณอวัยวะสำคัญ เป็นเหตุ ให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายที่สำนักงานในอาคารสูง และการจงใจขาดนัด
อาคารที่ตั้งสำนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นตึกสูง 20 ชั้นในอาคารนั้นเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทอื่น ๆ ประมาณ50 บริษัท สำนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ที่ชั้น 19ซึ่งตามปกติพนักงานของศาลที่ไปส่งหมายต่าง ๆ ให้บริษัทจำเลยที่ 1 จะปิดหมายไว้ที่บริเวณใกล้ตู้โทรศัพท์ซึ่งเป็นทางเดินเล็ก ๆ ไปยังห้องน้ำอยู่แล้ว ดังนั้น ที่พนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดีนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องซึ่งได้กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1โดยการปิดไว้ชั้นล่างของอาคารดังกล่าว จึงเป็นวิธีปฏิบัติตามปกติในการส่งหมายให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ย้ายภูมิลำเนาไปที่อื่น การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนการแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการปิดคำคู่ความและเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งแล้วเมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับได้ทราบถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดและไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 และการรับคำรับสารภาพของจำเลย
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง 3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลง ในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 55 ได้ จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 23