คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกทำลายป่าสงวนฯ และการแก้ไขอัตราส่วนการจ่ายสินบนรางวัลให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นต้นน้ำลำธารในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยใช้เครื่องเลื่อยโซ่ก่นสร้างแผ้วถางป่าเป็นเนื้อที่ถึง 6 ไร่ เป็นการทำลายป่าและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธารอย่างกว้างขวาง อันเป็นเหตุอาจทำให้เกิดอุทกภัยและความแห้งแล้งเป็นผลเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชนได้ จึงเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรงมากสมควรที่จะลงโทษสถานหนัก และจำเลยที่ 1ยังได้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฯ กับพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ อีกด้วยกรณีจึงไม่มีเหตุสมควรจะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 กำหนดให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไข เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้ว ประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลตามกฎหมาย มิใช่ขอให้จ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าจึงต้องให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเลื่อยโซ่ของกลางที่ศาลสั่งริบ ตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วม: คำให้การไม่ชัดเจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท ศาลล่างวินิจฉัยถูกต้อง
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัด ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ทั้งสามขอให้จำเลยทั้งสาม ไปจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามส่วนสัดที่แต่ละฝ่ายได้ครอบครองแล้ว จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปทำการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่ โจทก์ทั้งสามครึ่งหนึ่งจำเลยทั้งสามให้การว่า เดิมที่ดินพิพาท เป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ม. และส. ซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดมานาน 40 ปี แล้ว โดย ม. ครอบครองปลูกสร้างอยู่ทางทิศตะวันตกและส.ครอบครองปลูกสร้างบ้านอยู่ทางทิศตะวันออกต่อมาโจทก์ทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ม.ส่วนจำเลยทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ส. เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดจำนวนเนื้อที่ฝ่ายละเท่าใด เพื่อเป็นการปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสามที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทแม้จำเลยทั้งสามจะได้แถลงต่อศาลชั้นต้น ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาถึงส่วนสัดของที่ดินที่จำเลยทั้งสาม ได้ครอบครองก็ตาม คำแถลงดังกล่าวก็มิใช่คำให้การไม่ก่อ ให้เกิดประเด็นพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท แม้มีการแถลงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซึ่งได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปทำการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสามครึ่งหนึ่ง จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ม.และ ส. ซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดมานาน 40 ปี แล้ว ต่อมาโจทก์ทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ม. ส่วนจำเลยทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ส. แต่คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดจำนวนเนื้อที่ฝ่ายละเท่าใด เพื่อปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสามที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท แม้จำเลยทั้งสามจะได้แถลงต่อศาลชั้นต้นถึงส่วนสัดของที่ดินที่จำเลยทั้งสามได้ครอบครองก็ตาม คำแถลงดังกล่าวมิใช่คำให้การย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท-เสพ-ขับรถ-เมทแอมเฟตามีน-พักใช้ใบอนุญาต-ความสงบเรียบร้อย
แม้ความผิดฐานเสพวัตถุออกฤทธิ์โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและ ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุออกฤทธิ์โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นการกระทำความผิดต่างกัน แต่ความมุ่งหมายในการกระทำเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อจำเลยได้เสพวัตถุออกฤทธิ์และปฏิบัติหน้าที่ขับรถยนต์ในเวลาเดียวกันจึงเห็นได้ชัดแจ้งว่าลักษณะและสภาพความผิดการกระทำของจำเลยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท จำเลยขับรถยนต์บรรทุกขณะเสพวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มเมทแอมเฟตามีน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภยันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นได้ พฤติการณ์ของจำเลยนับว่าร้ายแรง การไม่รอการลงโทษจำเลยนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518ไม่มีบทบัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน จึงไม่ถูกต้อง และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแซงรถในที่คับขันประมาทเลินเล่อ และหลบหนีหลังเกิดเหตุ
การที่จำเลยขับรถยนต์โดยสารห่างจากรถยนต์บรรทุกเพียง10 เมตร แล้วเร่งความเร็วเพื่อจะแซงขึ้นหน้ารถยนต์บรรทุกในขณะที่รถยนต์บรรทุกกำลังแซงขึ้นหน้ารถไถนาเดินตามข้างซ้ายโดยมีรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วมจอดอยู่บนไหล่ทางข้างขวาในถนนที่มีผิดจราจรกว้างเพียง 5 เมตร เช่นนี้ เป็นการแซงรถเมื่อเข้าที่คับขันซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยควรคาดหมายได้ว่าการขับรถยนต์แซงขึ้นไปเช่นนั้นอาจเกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นในทางเดินรถได้เป็นการกระทำโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์จำเลยจึงมีความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8399/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแขวง การใช้บทบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้เหตุเกิดที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นศาลชั้นต้น และพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนและวันเปิดทำการของศาลแขวงในบางจังหวัด พ.ศ. 2500 มาตรา 18 บัญญัติว่า"ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีศาลแขวงหนึ่งศาล มีเขตอำนาจในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี" ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสุราษฎร์ธานีอีกหลายฉบับซึ่งได้กำหนดให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานีมีเขตอำนาจในอำเภออื่นนอกจากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานีมีเขตอำนาจในอำเภอเกาะสมุยด้วย ดังนี้บทบัญญัติมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาใช้บังคับแก่คดีนี้มิได้และจะนำบทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากมาตรา 2แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "พระราชบัญญัติให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 3 จะใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา" สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการและมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 ดังกล่าวบังคับคงมีเฉพาะท้องที่อำเภอไชยาอำเภอท่าฉางและอำเภอท่าชนะเท่านั้น จึงนำบทบัญญัติมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499ที่ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์มาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอเกาะสมุย ได้ และมีปัญหาว่าคดีของโจทก์นี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาถึงความตายเป็นผลจากการกระทำของผู้ต้องหาหรือไม่ และเจตนาในการกระทำ
++ เรื่อง ความผิดต่อชีวิต
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
++ เล่มที่ 10 หน้า 238 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++
++ ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายร่างกาย โดยใช้มีดพร้าฟันบริเวณลำคอ2 ครั้ง จนระบบหายใจเป็นอัมพาตและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุประมาณ 56 วันปรากฏตามรายงานการชันสูตรพลิกศพของแพทย์ว่า การตายของผู้ตายเกิดจากภาวะหายใจล้มเหลวจากปอดอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากระบบหายใจเป็นอัมพาต อันเนื่องจากไขสันหลังช่วงคอถูกทำลายซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการถูกจำเลยฟันทำร้ายทั้งสิ้นและผู้ตายถึงแก่ความตายขณะที่ยังต้องรักษาอาการที่เกิดจากการถูกจำเลยทำร้าย และไม่ปรากฏว่ามีเหตุพิเศษอื่นใดเกิดขึ้นกับผู้ตายอีก การตายของผู้ตายจึงเป็นผลธรรมดาที่เกิดจากการถูกจำเลยฟันทำร้าย
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานปากใดเบิกความยืนยันว่าจำเลยฟันทำร้ายผู้ตายเมื่อใด ในลักษณะใดอันจะชี้ให้เห็นว่าจำเลยฟันทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การที่จำเลยฟันทำร้ายในขณะที่ผู้ตายนอนหลับ จะถือว่าเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อนน่าจะยังไม่ถูกต้อง เพราะจำเลยอาจเกิดอารมณ์ชั่ววูบขณะเห็นผู้ตายนอนหลับจึงใช้มีดพร้าฟันไปทันทีก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องสันนิษฐานในทางที่เป็นคุณให้แก่จำเลยว่ามีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงผลของการกระทำและความเจตนาของผู้กระทำ
ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายร่างกายโดยใช้มีดพร้าฟันบริเวณลำคอ 2 ครั้งจนระบบหายใจเป็นอัมพาตและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุประมาณ 56 วัน ปรากฏตามรายงานการชันสูตรพลิกศพของแพทย์ว่า การตายของผู้ตายเกิดจากภาวะหายใจล้มเหลวจากปอดอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากระบบหายใจเป็นอัมพาต อันเนื่องจากไขสันหลังช่วงคอถูกทำลาย ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการถูกจำเลยฟันทำร้ายทั้งสิ้น และผู้ตายถึงแก่ความตายขณะที่ยังต้องรักษาอาการที่เกิดจากการถูกจำเลยทำร้าย และไม่ปรากฏว่ามีเหตุพิเศษอื่นใดเกิดขึ้นกับผู้ตายอีก การตายของผู้ตายจึงเป็นผลธรรมดาที่เกิดจากการถูกจำเลยฟันทำร้าย
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานปากใดเบิกความยืนยันว่า จำเลยฟันทำร้ายผู้ตายเมื่อใดในลักษณะใดอันจะชี้ให้เห็นว่าจำเลยฟันทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การที่จำเลยฟันทำร้ายในขณะที่ผู้ตายนอนหลับจะถือว่าเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อนน่าจะยังไม่ถูกต้อง เพราะจำเลยอาจเกิดอารมณ์ชั่ววูบขณะเห็นผู้ตายนอนหลับจึงใช้มีดพร้าฟันไปทันทีก็ได้เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องสันนิษฐานในทางที่เป็นคุณให้แก่จำเลยว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7620/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้ยืมเกิน 50 บาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มี สิทธิเรียกร้องหนี้และยึดถือประกันไม่มีผล
แม้จำเลยทั้งสองจะนำสืบให้เห็นได้ว่าโจทก์ยังเป็นหนี้กู้ยืมจำเลยทั้งสองจำนวน 50,000 บาทจริง แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก กำหนดว่าการกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้นหนี้เงินกู้ 50,000 บาท ดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยทั้งสองอาศัยเป็นมูลเหตุให้ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทต่อไป จำเลยทั้งสองจะมีสิทธินำสืบถึงหนี้ จำนวนดังกล่าวหรือไม่ ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ช่วยค้ำประกันหนี้กู้ยืม โดยจำเลยที่ 1นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่มีข้อความกรอกไว้มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อและแจ้งว่าถ้ากรอกข้อความไปไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานที่ดินจะไม่ดำเนินการให้ โจทก์เชื่อใจจำเลยที่ 1 จึงลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว พร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และโฉนดที่ดินพิพาทให้ไป การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 จะปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโดยกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ก็ตามดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนซื้อขายเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 แล้วจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารจนกระทั่งจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ดังกล่าวโดยตรง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
of 23