คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องอาญาฐานชิงทรัพย์และพาอาวุธ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และความน่าสงสัยของผู้เสียหายในการจำจำเลย
ข้อหาพาอาวุธไปในเมืองทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดและโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยจะมีอาวุธมีดจริงหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหาย แม้ข้อหาพาอาวุธมีดไปในเมืองทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะยุติไปแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่เป็นหนังสือ & การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำตามแบบอย่างใดบ้าง ผู้รับจำนองเพียงแต่มีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันควร ก็ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยบทมาตราดังกล่าวแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะมอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจก็ไม่เป็นโมฆะ นอกจากนี้เมื่อโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ส. ได้กระทำการไปในนามของโจทก์โดยการฟ้องคดีนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่ลูกหนี้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
สัญญาค้ำประกันมีข้อความให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ก็มีความหมายว่าจำเลยที่ 3 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เมื่อหนี้รายนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการนำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ภายในกำหนดอายุความ
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเกินได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งตามประกาศธนาคารโจทก์ก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีมีกำหนดเวลา (MLR) บวกส่วนต่าง (Margin) แต่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดนัดชำระหนี้ซึ่งสูงกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาตใช้สิทธิช่วงเครื่องหมายการค้าโมฆะ ศาลฎีกาพิพากษากลับ ยกฟ้อง คดีเกินกรอบคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าสิทธิและส่วนต่างของค่าธรรมเนียมจากยอดขายและค่าสิทธิขั้นต่ำตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในเครื่องหมายการค้าคำว่า PUMA ซึ่งเป็นโมฆะ คดีย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแก่โจทก์ตามควรในฐานลาภมิควรได้นั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือ นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาตใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า: โมฆะจาก พรบ.เครื่องหมายการค้า, ลาภมิควรได้, ศาลพิพากษาเกินคำฟ้อง
การที่โจทก์อ้างส่งหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ต่อศาลเพียง 2 ฉบับโดยฉบับแรกรับรองตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ฉบับที่สองรับรองตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 แม้ว่าโจทก์จะมิได้แสดงหลักฐานการต่ออายุการจดทะเบียนดังกล่าวในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม2541 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2542 แต่จากหนังสือรับรองฉบับที่สองมีข้อความว่า โจทก์ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดมาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2533 และได้รับอนุญาตให้ต่ออายุไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 นั้น ย่อมหมายความว่า ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2533 โจทก์ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมาอย่างต่อเนื่องจนถึงฉบับหลังสุด ซึ่งจำเลยเองก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์มิได้ต่ออายุการจดทะเบียนบริษัทโจทก์แต่อย่างใด จึงรับฟังได้ว่าช่วงเวลาที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องหรือในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคล คำฟ้องของโจทก์จึงมีผลตามกฎหมาย
การทำหนังสือมอบอำนาจไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำ ณ สถานที่อันเป็นภูมิลำเนาของผู้มอบอำนาจ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47วรรคสาม กำหนดเพียงว่า หากหนังสือมอบอำนาจทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน เมื่อหนังสือมอบอำนาจคดีนี้ได้ทำขึ้นในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีสถานกงสุลของประเทศไทยตั้งอยู่ โดยหนังสือมอบอำนาจมีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์มีเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาของฮ่องกงลงลายมือชื่อเป็นพยาน และมีกงสุลไทยประจำฮ่องกงลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาดังกล่าว ทั้งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หรือขณะลงลายมือชื่อมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้ว กรณีจึงรับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจที่แท้จริงและมีผลบังคับตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าสิทธิและส่วนต่างของค่าธรรมเนียมจากยอดขายและค่าสิทธิขั้นต่ำตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในเครื่องหมายการค้าPUMA คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแก่โจทก์ตามควรในฐานลาภมิควรได้นั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 คำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาตใช้สิทธิช่วงเครื่องหมายการค้า: ศาลฎีกาพิพากษาเกินคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสิทธิและส่วนต่างของค่าธรรมเนียมจากยอดขาย และค่าสิทธิขั้นต่ำตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในเครื่องหมายการค้าคำว่า PUMA คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแก่โจทก์ตามควรในฐานลาภมิควรได้ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดีเทปวีดีโอซีดี: สาระสำคัญคือการกระทำผิดฐานประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่การใช้ของกลางในการกระทำความผิด
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ฯ มาตรา 34 นั้น สาระสำคัญในการกระทำความผิดอยู่ที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน แผ่นวีดีโอซีดีของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลจะพึงมีอำนาจสั่งริบได้ ตาม ป.อ. มาตรา 33 และประเด็นนี้เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบแผ่นวีดีโอซีดีดังกล่าวมาในคำฟ้อง แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามคำพิพากษาต้องใช้ในเวลาที่ใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประกาศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเป็นเงินตราต่างประเทศพร้อมกับให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น เป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่สอดคล้องกับ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นสมควร หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บอกเลิกสัญญาตัวแทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญา และการคิดค่าเสียหาย
จำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เป็นผู้ติดต่อหาลูกค้า เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้า โจทก์จะส่งคำสั่งซื้อของลูกค้ามายังจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองก็จะแจ้งกลับไปยังโจทก์ว่าจะส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้เมื่อใด โจทก์จึงแจ้งให้ลูกค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อชำระราคาสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยทั้งสองจัดส่งสินค้าแล้วก็จะเรียกเก็บเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ลูกค้าเปิดไว้เห็นได้ว่าลูกค้ามิได้สั่งซื้อและรับสินค้ากับชำระราคาสินค้าแก่โจทก์โดยตรง ราคาสินค้าที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้าก็คือราคาที่จำเลยทั้งสองขายให้แก่ลูกค้า โดยจำเลยทั้งสองจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ 3 ถึง ร้อยละ 7 ของจำนวนสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อ โจทก์มิได้ขายสินค้าของจำเลยที่ 2 ในนามของตนเองจึงไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของจำเลยทั้งสอง แต่การที่จำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนขายสินค้าในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและฮ่องกงและโจทก์ตกลงทำการดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะของสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นจึงตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวแทน จำเลยทั้งสองในฐานะตัวการย่อมมีสิทธิถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทนเสียเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคแรก ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองแจ้งแก่โจทก์ขอให้เลิกสัญญาโดยไม่ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนอีกต่อไปย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและมีผลตามกฎหมายทันที ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาได้ส่วนความเสียหายอันเกิดจากการบอกเลิกสัญญาตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์นั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งไม่อาจถือว่าการที่จำเลยทั้งสองถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทนโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการถอนตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: การกำหนดเวลาและสถานที่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเป็นเงินตราต่างประเทศพร้อมกับให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น เป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามจำหน่ายกัญชา: การกระทำไม่สำเร็จตามกฎหมาย แม้มีการนัดส่งมอบ
เมื่อจำเลยที่ 1 นำกัญชามาที่จุดนัดหมายอันเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานจำหน่ายกัญชาแล้ว แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบกัญชาให้แก่สิบตำรวจโท ว. ก็ปรากฏว่า สิบตำรวจโท ว. กับพวกได้เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 เสียก่อน การกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำไปไม่ตลอด จำเลยทั้งสองจึงยังไม่มีความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายกัญชา คงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ปัญหาว่าการกระทำเป็นความผิดสำเร็จหรืออยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
of 23