คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ การเสนอขายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า
การอ้างหนังสือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นพยานเอกสารมิได้มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องมีโนตารีปับลิกเป็นพยานและต้องมีเจ้าหน้าที่สถานทูตของประเทศไทยรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกดังเช่นหนังสือมอบอำนาจที่ได้กระทำในต่างประเทศ
ป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้นอกราชอาณาจักร โดยให้สิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอมได้ การที่ผู้เสียหายไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยไม่อาจถือว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องยื่นพร้อมอุทธรณ์ หากไม่ยื่นถูกต้องทันเวลา ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาล ไม่ใช่ขอให้เพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ แต่จำเลยไม่มาสาบานตัว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งยกคำร้องเนื่องจากไม่ได้ยื่นพร้อมอุทธรณ์ เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอนาถาดังกล่าวพร้อมอุทธรณ์ ซึ่งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคแรกแล้วนั้น หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยไม่ถูกต้องอย่างไร จำเลยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลดังกล่าว ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ไม่ใช่กรณีที่จำเลยจะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องยื่นพร้อมอุทธรณ์ หากไม่ยื่นถูกต้องตามกฎหมายต้องอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่ขอเพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ แต่จำเลยไม่มาสาบานตัวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาอีก ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยว่าชอบด้วยบทกฎหมายหรือไม่ หากจำเลยเห็นว่าเป็นการวินิจฉัยโดยไม่ถูกต้องจำเลยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้า ไม่ใช่กรณีที่จำเลยจะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยได้ โดยอ้างว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดกรรมเดียวฐานลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ศาลฎีกายกประเด็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
พฤติการณ์ที่จำเลยลักสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ป. ไป แล้วปลอมลายมือชื่อของ ป. ในใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วม แล้วนำสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไปแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมและได้รับเงินมานั้น เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมเป็นหลัก ซึ่งแม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิดแต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาได้เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยลักสมุดเงินฝากของ ป. และปลอมลายมือชื่อของ ป. ในใบถอนเงินของโจทก์ร่วม ถอนเงินออกจากบัญชีของ ป. เป็นเงินจำนวนมากถึง 900,000 บาทนับว่าเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ทั้งปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยเคยลักเงินของเพื่อนและมารดาของจำเลยมาหลายครั้ง แต่ไม่มีผู้ใดเอาเรื่อง จำเลยจึงไม่ถูกดำเนินคดี แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมก็เป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น พฤติการณ์แห่งคดียังไม่เป็นการสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนความผิดทางอาญา: การช่วยเหลือหลังความผิดสิ้นสุดลง ไม่ถือเป็นผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 กับพวกที่นั่งรถมาด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 ได้โยนทิ้งเสียก่อน แต่หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจ ตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลาง เจ้าพนักงานตำรวจก็ได้ยึดไว้เป็นของกลางทันที จำเลยที่ 2 มาช่วยจำเลยที่ 1 ค้นหาเมทแอมเฟตามีนของกลางหลังจากเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบและ ยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางไป การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลยที่ 2 มาช่วยจำเลยที่ 1 ค้นหาเมทแอมเฟตามีนของกลางจึงเป็นการช่วยเหลือ ให้ความสะดวกภายหลังการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
การเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 86 ต้องช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิด เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนความผิดทางอาญา: การช่วยเหลือหลังการกระทำความผิดไม่ถือเป็นผู้สนับสนุน
เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 กับพวกที่นั่งรถมาด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 ได้โยนทิ้งเสียก่อนถึงด่านตรวจรถต่อมาจำเลยที่ 1 ไปตามจำเลยที่ 2 มาช่วยค้นหาและจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมขณะค้นหาเมทแอมเฟตามีน แต่หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบเมทแอมเฟตามีน เจ้าพนักงานตำรวจก็ได้ยึดไว้เป็นของกลางทันที การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลยที่ 2 มาช่วยจำเลยที่ 1 ค้นหาเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกภายหลังการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน เพราะการเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ต้องช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม กรณีใช้ใบตราส่งของเจ้าของเรือ แต่ร่วมกันขนส่งสินค้า ผู้เช่าเรือมีส่วนรับผิดด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท ใบตราส่งตามที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่ง เป็นแบบพิมพ์ใบตราส่งที่มีไว้ใช้ในการรับขนส่งของจำเลยที่ 1 วัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งว่าประกอบกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้าและคนโดยสารทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งรับบริการนำของออกจากท่าเรือตามพิธีศุลกากร และการจัดระวางการขนส่งทุกชนิด เหมือนกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เคยประกอบกิจการรับขนของร่วมกัน ทั้งไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 1 เลิกประกอบกิจการรับขนของหรือจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาท
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ต้องเคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น จึงจะรับฟังได้
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า โดยสภาพธรรมชาติของเกลือจะมีความชื้นในตัวเอง หากวางทับซ้อนกันเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมี เมื่อประสบกับความร้อนจากแสงแดดย่อมทำให้สินค้าเกลือเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ในระหว่างการขนส่งเรือได้ประสบพายุทำให้น้ำเข้าเรือจึงเป็นเหตุพ้นวิสัย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ประกอบด้วยมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้จำเลยที่ 1 จะได้ให้การว่าความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากอุบัติเหตุแห่งท้องทะเลที่ใช้เดินเรือไว้ด้วย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 2 ที่จะหยิบยกขึ้นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ฟ้องหลังสืบพยาน: เหตุผลอันควรและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุผลว่าคำฟ้องของโจทก์บกพร่องเกี่ยวกับวันที่เกิดเหตุเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาด ขอแก้คำว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2541 เป็นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2541 เป็นการยื่นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้เพราะอาจเกิดบกพร่องพิมพ์ผิดพลาดเช่นนั้นได้ ประกอบกับเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่ 26 ตุลาคม 2541 จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏว่าวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิมจำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: ศาลอนุญาตแก้ฟ้องได้หากเป็นรายละเอียดเล็กน้อยและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163กำหนดให้โจทก์ต้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้ว โดยอ้างเหตุว่าคำฟ้องโจทก์พิมพ์วันที่เกิดเหตุผิดพลาดขอแก้จากวันที่ 29 เป็นวันที่ 26 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ซึ่งความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนั้นได้ ประกอบกับการที่โจทก์แก้ฟ้องเฉพาะวันที่ที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดนั้นเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความก็เป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่ 26 จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏว่าวันที่ 29ซึ่งเป็นวันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิม จำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างการสอบสวนคดีนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ จึงชอบแล้ว
of 23