คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยวัฒน์ สัตยาประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8632/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินที่ได้ใบจองตามประมวลกฎหมายที่ดิน การโอนสิทธิโดยไม่ชอบตามกฎหมาย
สิทธิในใบจองเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้มีชื่อในใบจองเท่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่าโอนที่บัญญัติในกฎหมายไม่ว่าจะใน ป.ที่ดิน มาตรา 31 (1) หรือใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง เป็นคำสามัญที่หมายถึงการโอนทุกกรณี กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ ณ ที่ใดว่า ให้หมายถึงการโอนทางทะเบียน นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างผู้มีชื่อในใบจองกับบุคคลอื่นหรือระหว่างบุคคลต่อจากนั้นจึงขัดต่อกฎหมายไม่มีผลบังคับแม้จะไม่มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10987/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของกองมรดก ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัวของผู้มีส่วนได้เสีย
แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง ก็เพียงแต่ทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนการตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ศาลจะต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าววรรคท้ายซึ่งบัญญัติว่า "การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์" กรณีนี้เป็นกรณีที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลจึงต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ผู้คัดค้านทั้งสองต้องการเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายบางอย่างเป็นของผู้คัดค้านทั้งสองจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งเป็นปรปักษ์กับกองมรดกอย่างชัดแจ้ง การขอเป็นผู้จัดการมรดกก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้คัดค้านทั้งสองเอง นอกจากนั้นการที่ผู้คัดค้านทั้งสองนำสืบว่า เหตุที่ขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพราะไม่ไว้ใจผู้ร้องทั้งสองทำให้เห็นว่าหากให้ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องทั้งสอง ก็น่าจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการมรดกมากกว่าจะเป็นประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8189/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองโดยนายอำเภอที่รักษาราชการแทน และการแจ้งความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม
ผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองต้องเป็นกรมการอำเภออันหมายถึงนายอำเภอเท่านั้น และสามารถทำนอกที่ว่าการอำเภอได้ เมื่อมีการร้องขอ ดังนั้น การที่ผู้ร้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่อำเภอเมืองขอนแก่นขอให้ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้แก่ผู้ตายที่โรงพยาบาล และแม้ ป. ซึ่งเป็นเพียงปลัดอำเภอเมืองขอนแก่นเป็นผู้จัดทำพินัยกรรม แต่ขณะทำพินัยกรรม ป. รักษาราชการแทนนายอำเภอ การที่ ป. ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้แก่ผู้ตายที่โรงพยาบาลจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และแม้ผู้ร้องจะเป็นผู้แจ้งความประสงค์ให้ ป. ทราบว่าผู้ตายมีเจตนาทำพินัยกรรมอย่างไร จนเป็นเหตุให้ ป. สามารถให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อความต่างๆ ในพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองขอนแก่นจนเสร็จเรียบร้อยก่อนเดินทางไปโรงพยาบาลก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องหอบหิ้วเครื่องพิมพ์ดีด และกระดาษไปพิมพ์ที่โรงพยาบาลเท่านั้น ยังไม่ใช่เป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม และเมื่อไปถึงโรงพยาบาล ป. สอบถามผู้ตายว่าประสงค์จะทำพินัยกรรมตามที่ผู้ร้องบอกกล่าวในเบื้องต้นหรือไม่ ผู้ตายก็ยืนยันต่อหน้าพยานสองคนว่าเป็นความประสงค์ของผู้ตายจริง การสอบถามของ ป. และการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นความหมายเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) หลังจากนั้น ป. อ่านข้อความให้ผู้ตายและพยานฟัง ผู้ตายเห็นว่าถูกต้องก็ลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ ป. ลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเครื่องหมายการค้า-ยาสูบ: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุม-สอบสวนได้ แม้ไม่มีผู้ร้องทุกข์ และการประกาศราคายาสูบไม่ต้องลงราชกิจจานุเบกษา
ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจทำการสอบสวนได้ ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษผู้กระทำผิดหรือไม่ แม้จะวินิจฉัยว่าการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีผลทำให้การดำเนินคดีนี้แก่จำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ศาลจังหวัดมุกดาหารดำเนินการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ตามคำขอของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 47 วรรคสอง เมื่อศาลจังหวัดมุกดาหารเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและสืบพยานเพิ่มเติมตามมาตรา 26 และ 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 45
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 23 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตออกประกาศเพื่อกำหนดราคายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตเพื่อใช้เป็นมูลค่าในการคำนวณค่าแสตมป์ยาสูบ ตามมาตรา 5 ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้บังคับให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้ แม้ประกาศกรมสรรพสามิตจะมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็มีผลใช้บังคับในการนำไปคำนวณค่าปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10863/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด
นอกจากอุทธรณ์ของจำเลยจะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เพื่อให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องแล้ว ยังมีส่วนที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย จึงถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยเสียแต่ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท แต่ไม่วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีประเภทที่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ มีกระบวนวิธีพิจารณาที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยเน้นการพิจารณาให้เสร็จไปโดยรวดเร็วแตกต่างจากคดีสามัญ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ว่า "ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดี ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว" คดีนี้ศาลเคยอนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะ ช. ทนายจำเลยที่ 3 ถอนตัวและ ก. ทนายจำเลยที่ 3 ที่แต่งตั้งใหม่ก็ติดว่าความที่ศาลอื่น ไม่มาในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกและนัดที่ 2 ก็ขอเลื่อนคดีเพราะขอเวลาเจรจากับโจทก์ แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ไปติดต่อกับโจทก์เพื่อเจรจาตกลงกันตามที่ได้แถลงไว้ต่อศาล จนถึงวันนัดพร้อมเพื่อทำยอมหรือนัดสืบพยานโจทก์ ก. ยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากการเป็นทนายความจำเลยที่ 3 โดยอ้างเหตุว่ามีความคิดเห็นไม่ตรงกับจำเลยที่ 3 ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ก็ยื่นใบแต่งทนายความต่อศาล แต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายความคนใหม่ ทนายจำเลยที่ 3 คนใหม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่า ตนติดว่าความที่ศาลอื่นกับยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนั้น การขอเลื่อนคดีในนัดที่ 3 นี้ จึงไม่ใช่การขอเลื่อนในกรณีปกติทั่วไป หากจำเลยที่ 3 มีความสุจริตและมีความจำเป็นต้องแต่งตั้งทนายความคนใหม่ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าทนายความที่จะแต่งตั้งใหม่นั้นพร้อมที่จะว่าความให้ตนในวันดังกล่าวเพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าออกไป การกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าเป็นการขัดขวางการพิจารณาคดีไม่ให้เสร็จไปโดยรวดเร็วและมีพฤติการณ์เป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
กระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของพยานในการสืบพยานบุคคลมีกำหนดไว้เป็นพิเศษอยู่ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 29 และข้อ 30 สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ โจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคลดังกล่าว โดยโจทก์ได้จัดส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. พยานโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. พยานโจทก์ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีก ตามข้อกำหนดข้อ 29 วรรคท้าย ทั้งในข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลก็มิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำตามบันทึกนั้นแต่อย่างใด การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. มิได้มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ทั้งไม่มีลายมือชื่อของบุคคลผู้รับการสาบานหรือปฏิญาณลงไว้ ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไปแต่อย่างใด เพียงแต่เมื่อผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความ จึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. พยานบุคคลของโจทก์แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังบันทึกถ้อยคำแทนการเบิกความต่อหน้าศาลในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ชอบด้วยกฎหมายหากจำเลยไม่ค้าน
โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานโจทก์ และโจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคล โดยโจทก์ได้ส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้ายทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีกตามข้อกำหนด ข้อ 29 วรรคท้าย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลมิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำ การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไม่มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไป เพียงแต่เมื่อ ว. มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความจึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีการลวงขาย
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2524 อันเป็นเวลาที่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ใช้บังคับอยู่ การโต้แย้งสิทธิอันเกิดจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมต้องนำ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาใช้บังคับ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องตกอยู่ในบังคับของมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มิใช่บทบัญญัติของมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 41 มิได้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธินั้นได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับแต่วันที่ 14 กันยายน 2524 อันเป็นวันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 2 กรกฎาคม 2539 จึงเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 7 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ชนิดสินค้าเครื่องฉีดพ่นที่ใช้กำลังเครื่องจักรและส่วนของเครื่องดังกล่าวซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2520 ตามทะเบียนเลขที่ 62856 ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 6 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ชนิดสินค้า เครื่องสูบน้ำ เครื่องสูบฉีดน้ำ และเครื่องฉีดยาฆ่าแมลง (ที่มีมอเตอร์) เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2524 ตามทะเบียนเลขที่ 76857 โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราเพชรที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 6 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรตามทะเบียนเลขที่ 76857 กับสินค้าท่อน้ำและสายยางมาตั้งแต่ปลายปี 2511 การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรกับสินค้าเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงและเครื่องสูบน้ำตรงตามรูปเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าดังกล่าวและระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ที่ตัวสินค้าให้เห็นได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะสินค้าของจำเลยที่ 1 ได้ระบุหมายเลข "76857" ซึ่งเป็นเลขทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปเพชรของจำเลยที่ 1 ไว้ที่ใต้รูปเครื่องหมายการค้าเพชรติดไว้ที่ตัวสินค้าด้วย จำเลยที่ 1 มิได้เอาชื่อบริษัทโจทก์มาติดไว้ที่ตัวสินค้าของจำเลยที่ 1 ทั้งมิได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้แต่อย่างใด พฤติการณ์และลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรของจำเลยที่ 1 กับสินค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์อันจะเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปเพชรของโจทก์ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงที่มีมอเตอร์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเนื่องจากการลวงขายตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้: ห้ามอุทธรณ์
คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ไม่อนุญาตให้ยกคดีที่ได้งดการพิจารณาไว้ขึ้นพิจารณาต่อไปเป็นคำสั่งที่มิได้ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เพราะศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯได้มีคำสั่งให้นัดพร้อมเพื่อฟังผลคำสั่งศาลล้มละลายกลางเกี่ยวกับคำร้องขอของโจทก์เพื่อให้ศาลล้มละลายกลางยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/13 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตามสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและการริบรถยนต์ที่ใช้ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ตามสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 2 มีข้อความระบุแต่เพียงว่า ผู้คัดค้านได้ขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา 320,000 บาทได้รับเงินมัดจำไว้ 170,000 บาท ส่วนที่เหลือ 150,000 บาท จะชำระในวันที่ 29มกราคม 2541 สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีการแบ่งชำระราคาซื้อขายเป็น 2 งวดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 458 มิใช่สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ผู้คัดค้านจึงมิใช่เจ้าของรถยนต์ของกลาง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน ขอให้ศาลมีคำสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้คัดค้านได้
of 23