พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินกระทบโทษเดิม แม้คดีถึงที่สุดแล้ว หากยังไม่เริ่มบังคับคดี ศาลต้องกำหนดโทษใหม่
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีที่ความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องโทษและพ้นโทษในคดีอาญาที่เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 93 (8) ได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับของโจร: ศาลแก้ไขให้จำกัดความรับผิดเฉพาะทรัพย์ที่รับไป
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ชิงทรัพย์เงินสดจำนวน 79,000 บาท โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อต่าง ๆ จำนวน 15 เครื่อง และโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้งานแล้วจำนวน 7 เครื่อง ราคา 60,000 บาท ซิมการ์ดระบบต่าง ๆ จำนวน 17 อัน ราคา 3,400 บาท รวมราคาทรัพย์ทั้งสิ้นเป็นเงิน 162,400 บาท ของผู้เสียหายไปส่วนจำเลยที่ 2 รับของโจรโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนหลายเครื่องของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยที่ 1 ชิงทรัพย์ไปดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ระบุไปดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ระบุให้ร่วมรับผิดเฉพาะทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 รับของโจร จึงเป็นการให้จำเลยที่ 2 รับผิดเกินกว่าที่ต้องรับผิดและไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการชิงทรัพย์: พฤติการณ์ต้องแสดงเจตนาใช้โดยตรงในการกระทำความผิด
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการปล้นทรัพย์ตามฟ้อง จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด พาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุมอันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ซึ่งเป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้น หาได้บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดด้วยไม่ ปัญหาที่ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางซึ่งผู้กระทำความผิดใช้เป็นยานพาหนะจะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดซึ่งศาลพึงสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 กับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลางผ่านผู้เสียหายไปแล้วไปหยุดรอด้านหน้าผู้เสียหาย พวกของจำเลยที่ 1 ลงจากรถจักรยานยนต์ของกลางเดินไปหาผู้เสียหายแล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายและแย่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหาย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารับพวกของจำเลยที่ 1 หลบหนีไป พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 กับพวกคงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับในการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำผิดชิงทรัพย์ของผู้เสียหายโดยตรงแต่อย่างใด รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดชิงทรัพย์ ต้องพิจารณาพฤติการณ์การใช้ยานพาหนะโดยตรง
การบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด เพื่อพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาว่ารถของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กับพวก ขับรถของกลางไปจอดรอด้านหน้า แล้วลงจากรถมาปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็พากันขึ้นรถของกลางหลบหนีไป เป็นเพียงใช้รถเพื่อสะดวกและรวดเร็วในการกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถของกลางในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยตรงแต่อย่างใดรถของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยที่ดินสูงกว่าหนี้เดิมทำให้สัญญาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656
การกู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาที่ดินเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง บัญญัติให้หนี้เป็นอันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้นให้ต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลา และ ณ สถานที่ส่งมอบในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตีราคาที่ดิน 590,000 บาท ซึ่งเป็นราคาประเมินของกรที่ดิน แม้โจทก์จำเลยจะมิได้นำสืบถึงราคาซื้อขายในท้องตลาดที่แท้จริงซึ่งเป็นราคาที่ดินเป็นหลักในการคำนวณ ณ เวลาที่ส่งมอบ แต่ก็เห็นได้ว่าราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินในเบื้องต้นพอจะอนุมานได้ว่าน่าจะใกล้เคียงกับราคาท้องตลาดและไม่แตกต่างกันมาก เว้นแต่จะมีเหตุผลพิเศษสำหรับที่ดินบางแปลงเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น ราคาที่ดินขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จึงสูงกว่าภาระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระตามที่จำเลยอ้าง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 230,000 บาท จำเลยก็รับว่ามีส่วนต่างอยู่ประมาณ 300,000 บาท ดังนี้ ความตกลงดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้กู้และทำให้ผู้ให้กู้ได้เปรียบในทางทรัพย์สินเงินทอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาและเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 เมื่อการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ จำเลยจึงไม่ได้ที่ดินไปทางทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษทางอาญา แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ศาลชั้นต้นลงโทษและเพิ่มโทษจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว ภายหลังปรากฏว่ามี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น แม้คดีจะถึงที่สุดแล้ว จำเลยก็ยังได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในคดีที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุเพิ่มโทษ จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 92 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามพินัยกรรม: สิทธิอยู่อาศัยและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก เงื่อนไขบังคับก่อน และอายุความ
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมเขียนเอง มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า เมื่อ ฉ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วบ้านและที่ดินนั้น เจ้ามรดกขอยกให้สิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินแก่จำเลยมีอำนาจครอบครองและเก็บกินได้จนตลอดชีวิต แต่ถ้าจำเลยถึงแก่ความตายลงเมื่อใดแล้ว ให้บ้านและที่ดินนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แก่บุตรที่เกิดจาก ช. ทุกคนโดยให้บุตรของ ช. ทุกคนมีส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินนี้เท่ากัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าว เจ้ามรดกมิได้ยกกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินให้แก่จำเลยโดยเหตุนี้ เมื่อ ฉ. ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย สิทธิของจำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมซึ่งเกิดมีขึ้นตามกฎหมายก็มีเพียงตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมว่าให้จำเลยมีเพียงสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินในบ้านและที่ดินได้ตลอดชีวิตเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินจะต้องตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุตร ช. เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายแล้วตามเงื่อนไขบังคับก่อนที่ ฉ. ผู้ทำพินัยกรรมระบุให้พินัยกรรมมีผลบังคับให้เรียกร้องกันได้ภายหลัง ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1673 ประกอบมาตรา 1674 วรรคสอง กรณีจึงต้องถือว่านับแต่ ฉ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและข้อกำหนดในพินัยกรรมเฉพาะส่วนของจำเลยมีผลนั้นก็มีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินในบ้านและที่ดินจนตลอดชีวิตของจำเลยเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินแทนโจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นยังไม่สำเร็จเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ ทั้งนี้เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 1755 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น จำเลยครอบครองบ้านและที่ดินทรัพย์มรดกแทนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาท จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้
จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินมาเป็นของตนเนื่องจากบ้านและที่ดินเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้ว เพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามป.พ.พ.มาตรา 1620
จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินมาเป็นของตนเนื่องจากบ้านและที่ดินเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้ว เพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามป.พ.พ.มาตรา 1620
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินมีเงื่อนไข ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิครอบครองแทนทายาท สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมเขียนเองระบุว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วบ้านและที่ดินพิพาทนั้น เจ้ามรดกขอยกให้สิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินแก่จำเลยมีอำนาจครอบครองและเก็บกินได้จนตลอดชีวิต แต่ถ้าจำเลยถึงแก่ความตายลงเมื่อใดแล้ว ให้บ้านและที่ดินดังกล่าวนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แก่บุตรที่เกิดจาก ฉ. ทุกคน โดยให้บุตรของ ฉ. ทุกคนมีส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าวนี้เท่ากัน ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าว เจ้ามรดกมิได้ยกกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เพียงแต่ให้สิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินตลอดชีวิตแก่จำเลยเท่านั้น สิทธิของจำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมก็มีเพียงตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทจะต้องตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุตรของ ฉ. เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายแล้วตามเงื่อนไขบังคับก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมระบุให้พินัยกรรมมีผลบังคับให้เรียกร้องกันได้ภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 ประกอบมาตรา 1674 วรรคสอง จึงต้องถือว่านับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและข้อกำหนดในพินัยกรรมเฉพาะส่วนของจำเลยมีผลนั้นก็มีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินในบ้านและที่ดินพิพาทจนตลอดชีวิตของจำเลยเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นยังไม่สำเร็จเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ ทั้งนี้เพราะมาตรา 1755 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น
จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตน เนื่องจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้ว เพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินพิพาทตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620
จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตน เนื่องจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้ว เพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินพิพาทตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7146/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การแทงผู้ชายที่อยู่กินกับภรรยาตนเอง
การที่จำเลยยังคงติดตามให้ จ. กลับไปอยู่กับจำเลยและบุตรเมื่อจำเลยไปพบเห็น จ. กับผู้เสียหายอยู่กันตามลำพังในห้องน้ำในคืนเกิดเหตุ นับได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายได้กระทำการอันเป็นการข่มเหงในทางจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและจำเลยย่อมเกิดอารมณ์หึงหวงในฐานะที่ตนเองเป็นสามีของ จ. อยู่และบันดาลโทสะขึ้นในขณะนั้นจึงได้ใช้มีดแทงผู้เสียหาย ซึ่งแม้จำเลยแทงผู้เสียหายครั้งแรกในห้องน้ำ และแทงผู้เสียหายครั้งต่อๆ มาที่ประตูหน้าบ้าน แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องติดพันกันอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลอาญา มาตรา 72
จ. ยังเป็นภริยาจำเลย แต่การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อตามหา จ. โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายมีความสัมพันธ์กันในทางใด ทั้งจำเลยก็ไม่เคยพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งมิได้วางแผนเตรียมมีดของกลางเพื่อที่จะไปแทงผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุ แต่เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายแล้วจำเลยไปพบว่าผู้เสียหายอยู่ในห้องน้ำกับ จ. เพียงสองต่อสอง จึงหยิบมีดที่พบวางอยู่ไปแทงผู้เสียหาย การบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายกับการแทงผู้เสียหายจึงเป็นเจตนาที่มิได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เกิดขึ้นเป็นสองครั้งแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน โดยเป็นความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนกรรมหนึ่งและพยายามฆ่าอีกกรรมหนึ่ง
จ. ยังเป็นภริยาจำเลย แต่การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อตามหา จ. โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายมีความสัมพันธ์กันในทางใด ทั้งจำเลยก็ไม่เคยพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งมิได้วางแผนเตรียมมีดของกลางเพื่อที่จะไปแทงผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุ แต่เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายแล้วจำเลยไปพบว่าผู้เสียหายอยู่ในห้องน้ำกับ จ. เพียงสองต่อสอง จึงหยิบมีดที่พบวางอยู่ไปแทงผู้เสียหาย การบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายกับการแทงผู้เสียหายจึงเป็นเจตนาที่มิได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เกิดขึ้นเป็นสองครั้งแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน โดยเป็นความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนกรรมหนึ่งและพยายามฆ่าอีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6820/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเอาเอกสารไปเสีย และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นชำระค่าสินค้า ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของบริษัท บ. อันเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 1 (7) ซึ่งออกให้แก่ น. ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ น. และบริษัท บ. แล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 188
การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของบริษัท บ. ซึ่งออกให้แก่ น. แล้วใช้บัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวชำระค่าสินค้าแทนการชำระด้วยเงินสดอันเป็นความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดโดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 269/5 และ มาตรา 269/7 รวม 3 ครั้ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยแยกออกเป็นข้อๆ และการกระทำตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในแต่ละข้อต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองต่างกรรมต่างวาระ ทั้งทรัพย์ที่จำเลยได้จากการกระทำผิดก็เป็นทรัพย์คนละประเภทแตกต่างกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารบัตรเครดิตกับฐานใช้บัตรเครดิตจึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยนำบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวไปใช้ชำระค่าสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องวีดีโอและกล้องถ่ายรูปดิจิทัลแทนการชำระด้วยเงินสดจำนวน 3 คราว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน
การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของบริษัท บ. ซึ่งออกให้แก่ น. แล้วใช้บัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวชำระค่าสินค้าแทนการชำระด้วยเงินสดอันเป็นความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดโดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 269/5 และ มาตรา 269/7 รวม 3 ครั้ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยแยกออกเป็นข้อๆ และการกระทำตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในแต่ละข้อต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองต่างกรรมต่างวาระ ทั้งทรัพย์ที่จำเลยได้จากการกระทำผิดก็เป็นทรัพย์คนละประเภทแตกต่างกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารบัตรเครดิตกับฐานใช้บัตรเครดิตจึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยนำบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวไปใช้ชำระค่าสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องวีดีโอและกล้องถ่ายรูปดิจิทัลแทนการชำระด้วยเงินสดจำนวน 3 คราว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน