คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิงห์พล ละอองมณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรช่วงเวลาต่างกัน ไม่เป็นกรรมเดียว
คดีก่อนศาลจังหวัดกาญจนบุรีฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุกระทำผิดฐานรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวลากลางวัน แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหารับของโจรระบุว่า เหตุเกิดวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีดังกล่าว ดังนั้นแม้มีการจับจำเลยและยึดของกลางทั้งสองสำนวนไว้ในคราวเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า จำเลยรับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้มาคราวเดียวกันหรือรับมาเมื่อใด แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ไว้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรในคดีดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรต่างช่วงเวลาไม่ถือเป็นกรรมเดียว
ในคดีแรกศาลฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยว่าเหตุกระทำผิดฐานรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวลากลางวัน แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหารับของโจรระบุว่าเหตุเกิดวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีแรก แม้ ธ. จับจำเลยและยึดของกลางทั้งสองสำนวนไว้ในคราวเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยรับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้มาคราวเดียวกันหรือรับมาเมื่อใด แต่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ไว้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรในคดีแรก การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีแรก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4142/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงและการสมรสย่อมไม่ทำให้พ้นผิดในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่าสิบสามปี
การที่จำเลยไม่ต้องรับโทษถ้าศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงสมรสกันมีเพียงการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 เท่านั้น แม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดบังคับ ซึ่งมาตรา 277 วรรคห้า (เดิม) ที่ใช้บังคับแก่คดีนี้บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แต่ในคดีนี้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกินสิบสามปีกระทงหนึ่ง และอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีกระทงหนึ่ง เมื่อศาลได้อนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน การกระทำของจำเลยเฉพาะความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี จึงไม่ต้องรับโทษ ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกินสิบสามปี ไม่เข้าเหตุที่จะไม่ต้องรับโทษ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการกระทำความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 อายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารแม้ผู้นั้นจะยินยอม จำเลยจึงต้องรับโทษในความผิดฐานดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเรา-พรากผู้เยาว์: ศาลฎีกาพิพากษา ยกประโยชน์แห่งความสงสัยและแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่ยืนยันว่าถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรามีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ เพราะเมื่อแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวบรรยายฟ้องไว้ ย่อมแสดงว่าคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ต่อศาลในชั้นพิจารณาแตกต่างกับคำให้การชั้นสอบสวนที่ผู้เสียหายที่ 1 เคยให้การไว้ซึ่งพนักงานอัยการใช้เป็นข้อมูลในการบรรยายการกระทำของจำเลยในคำฟ้อง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายที่ 1 ให้การต่อพนักงานสอบสวนและเบิกความต่อศาลแตกต่างขัดแย้งกันไม่อยู่กับร่องกับรอย ทำให้คำเบิกความของพนักงานสอบสวนและเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 เป็นพิรุธไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้น คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่กล่าวอ้างว่า ถูกจำเลยบังคับให้ดื่มสุราสาโทประมาณ 2 แก้ว จนผู้เสียหายที่ 1 หมดสติไม่รู้สึกตัว เมื่อรู้สึกตัวก็รู้ตัวว่าถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้เพราะเมาสุราหมดสติ เป็นการขัดต่อเหตุผล จึงยังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 จริงตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
หลักเกณฑ์การบรรยายฟ้องความผิดหลายกระทงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องในฟ้องข้อ 1 ก. รวมการกระทำความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร และพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารอยู่ในฟ้องข้อเดียวกัน แยกออกจากฟ้องข้อ 1 ข. ฐานข่มขืนกระทำชำเรานั้น โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์เพียงกรรมเดียว หาใช่มุ่งประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 เหมือนเช่นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ตามฟ้องข้อ 1 ข. อีกกระทงหนึ่งไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก กระทงหนึ่ง และฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและนอกความประสงค์ของโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีอาญา: การพิจารณาโทษและข้อจำกัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามคำฟ้องว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะ ตามป.อ. มาตรา 83, 339, 340 ตรี มีระวางโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน, ประมาทเลินเล่อ, ค่าเสียหาย, การชดใช้ค่าเสียหาย, การรับโอนกรรมสิทธิ์
ในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องนั้น จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท เพราะที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ส. อยู่เนื่องจากโจทก์กับนาย ส. สมรู้ร่วมกันแสดงเจตนาลวงว่าทำการซื้อขายกัน เพื่อเป็นข้ออ้างของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเรียกค่าเสียหายนิติกรรมระหว่างโจทก์กับนาย ส. จึงเป็นโมฆะ ตามคำให้การจำเลยดังกล่าวมิได้มีประเด็นพิพาทว่า โจทก์ซื้อที่ดินแทนบริษัท จ. จำกัดแต่อย่างใด ดังนั้น แม้หากจะปรากฏว่ามีการยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นดังที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าประเด็นที่จำเลยหยิบยกขึ้นอุทธรณ์ดังที่จำเลยฎีกากล่าวอ้างมานั้น เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งนั้นจะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแต่ละปัญหากรณีๆ ไป หาใช่ว่าเมื่อเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งแล้ว จะต้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทุกกรณีไม่ คดีนี้การที่จำเลยหยิบยกปัญหาว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เองหรือซื้อแทนบริษัท จ. จำกัด ขึ้นในชั้นอุทธรณ์เพื่อตั้งประเด็นข้อต่อสู้ว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมิได้เป็นของโจทก์อีกทั้งบริษัท จ. จำกัด ผู้ซื้อมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้จะเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน: กรณีซื้อที่ดินแทนบริษัท
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งนั้นจะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแต่ละปัญหาเป็นกรณี ๆ ไป หาใช่ว่าเมื่อเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีแพ่งแล้ว จะต้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทุกกรณีไม่ คดีนี้การที่จำเลยหยิบยกปัญหาว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เองหรือซื้อแทนบริษัท จ. ขึ้นในชั้นอุทธรณ์เพื่อตั้งประเด็นข้อต่อสู้ว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมิได้เป็นของโจทก์ อีกทั้งบริษัท จ. ผู้ซื้อมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้จะเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินตามใบจองและการตกทอดทางมรดก: ที่ดินยังเป็นของรัฐ การโอนต้องตกทอดทางมรดกเท่านั้น
ใบจอง หมายถึงหนังสือแสดงการยอมให้ราษฎรเข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามระเบียบและเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดโดยอยู่ภายใต้ข้อบังคับว่าผู้ได้รับอนุญาตให้จับจองจะโอนไม่ได้เว้นแต่จะตกทอดโดยทางมรดกตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง ที่ดินตามใบจองจึงยังเป็นของรัฐ ไม่ใช่ที่ดินที่เอกชนมีสิทธิครอบครองอันจะมีการแย่งการครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันได้ การที่ ป. ได้รับอนุญาตจากรัฐให้เข้าครอบครองที่ดินตามใบจอง ต่อมา ป. ถึงแก่ความตายสิทธิตามใบจองย่อมตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง มาตรา 1600 มาตรา 1635 ประกอบ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีล่าช้าเกิน 43 ปี และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า ในการประกาศผลสอบไล่เนติบัณฑิตยสภาสมัยที่ 14 ประจำปี พ.ศ.2504 จำเลยซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาติกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยกรรมการของจำเลยสมคบกันทุจริตในการให้คะแนนสอบปากเปล่าด้วยความลำเอียงไม่ให้คะแนนตามความรู้ ด้วยการให้คะแนนสอบปากเปล่าแก่ อ. ผู้ซึ่งสอบข้อเขียนได้เป็นอันดับ 3 สูงถึง 85 คะแนน แต่กลับให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สอบข้อเขียนได้คะแนนสูงสุดและมีคะแนนข้อเขียนมากกว่า อ. ถึง 19 คะแนน ได้คะแนนสอบปากเปล่าเพียง 65 คะแนน ซึ่งเมื่อนำไปรวมกับคะแนนสอบข้อเขียนแล้ว ทำให้โจทก์ตกไปอยู่ในอันดับ 2 และส่งผลให้ อ. ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและอับอาย ไม่เป็นที่รู้จักและไม่ได้รับการยกย่องแพร่หลายในฐานะบุคคลที่เรียนดีที่สุดในยุคนั้น ขอให้บังคับจำเลยดำเนินการขอขมาโจทก์ และประกาศผลการสอบไล่ดังกล่าวเสียใหม่ว่าโจทก์เป็นผู้สอบไล่ได้เป็นอันดับ 1 มิใช่ อ. โดยให้จำเลยปิดประกาศแผ่นป้ายถาวรไว้ ณ ที่ทำการของจำเลย และแก้ไขรายการผลสอบดังกล่าวในเอกสารต่าง ๆ ด้วย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์ดำเนินการโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองนั้น จะเป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้กล่าวแสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องเพื่อสนับสนุนให้เห็นว่ากรรมการของจำเลยสมคบร่วมกันกระทำมิชอบต่อโจทก์นั้น หากมีมูลความจริง โจทก์ก็สมควรต้องรีบดำเนินการโต้แย้งหรือนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลภายในเวลาอันสมควร เพื่อให้จำเลยและบุคคลที่โจทก์กล่าวพาดพิงได้มีโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ กลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยเนิ่นนานจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาประมาณ 43 ปี จนบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างสูญหายตายจากไปหมดสิ้นแล้ว อีกทั้งข้อเท็จจริงที่โจทก์หยิบยกเอาความรู้ความสามารถ ความสำเร็จจากการสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา และจากหน้าที่ราชการที่โจทก์ปฏิบัติมาตลอดชีวิตราชการ รวมทั้งการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ภายหลังจากการสอบเป็นเนติบัณฑิต เพื่อสนับสนุนว่าโจทก์มีความรู้โดดเด่นไม่น่าจะได้คะแนนสอบปากเปล่าน้อยกว่า อ. ก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังการสอบปากเปล่าเป็นระยะเวลายาวนานเกือบตลอดชีวิตการทำงานของโจทก์ทั้งสิ้น หาใช่ข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วหรือเกิดขึ้นภายในระยะเวลาใกล้เคียงวันเกิดเหตุอันจะเป็นเครื่องชี้หรือบ่งบอกถึงความรู้ความสามารถของโจทก์ในวันที่มีการสอบปากเปล่าไม่ การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานถึง 43 ปี แล้วค่อยขุดคุ้ยเอาความสำเร็จจากหน้าที่ราชการที่ได้ปฏิบัติมาจนเกือบตลอดชีวิตขึ้นกล่าวอ้างเพื่อสนับสนุนคำฟ้องว่าจำเลยดำเนินการสอบปากเปล่าโดยมิชอบเช่นนี้ พฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีเช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมเมื่อเป็นความผิดอันยอมความได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า กรณีดังกล่าวทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
of 14