พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7681/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีพิพาทที่ดิน: การยื่นเอกสารใหม่ และทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้ไปยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยทั้งห้าจึงมิใช่เป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แล้วงดวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทอื่นและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยอ้างเหตุผลว่า โจทก์และผู้มีชื่อใน ส.ค.1 เคยไปติดต่อกับเจ้าพนักงานที่ดินตามต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์และผู้มีชื่อใน ส.ค. 1 ได้ติดต่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ยอมออกให้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ฟังข้อเท็จจริงในประเด็นพิพาทข้อนี้เช่นเดียวกับศาลชั้นต้นและวินิจฉัยว่า ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งไม่รับวินิจฉัยให้ พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาข้อกฎหมายว่าเอกสารท้ายอุทธรณ์ของโจทก์นั้น โจทก์ไม่อาจนำมาสู่ศาลชั้นต้นได้เพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำเอกสารบางส่วนออกไปจากสารบบที่ดินที่เป็นของโจทก์ หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงนำมามอบให้โจทก์ เอกสารดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เคยติดต่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือขอออกโฉนดที่ดินหรือไม่ อันเป็นข้อกฎหมายทำนองว่า มีพฤติการณ์ที่ไม่เปิดช่องให้โจทก์นำเอกสารนี้มาแสดงตั้งแต่ในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง แต่คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เพราะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 88,000 บาท แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายข้อนี้ให้เป็นคุณแก่โจทก์ อันทำให้โจทก์สามารถโต้แย้งข้อเท็จจริงต่อไปได้ว่า เคยยื่นขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไว้ตั้งแต่ปี 2517 แต่เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติม และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โดยเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้พนักงานสอบสวนฟัง พนักงานสอบสวนจะต้องเป็นผู้ที่คิดตั้งข้อหาขึ้นเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการรับแจ้งความ ครั้งแรกพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากระทำอนาจารและทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อไปรวมทั้งสอบปากคำผู้เสียหายแล้ว เห็นว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดในข้อหากรรโชกอีกในคราวเดียวกันด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหาได้
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิ (หนังสือรับรองการส่งออก) เพื่อส่งออกสินค้า มีพฤติการณ์บรรเทาโทษได้
หนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่งทอของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหนังสือที่ทำให้ผู้ส่งออกที่เป็นเจ้าของสินค้าสิ่งทอดังกล่าวสามารถมีสิทธิส่งสินค้าของตนไปขาย จำหน่ายในต่างประเทศได้ หากไม่ได้หนังสือรับรองการส่งออกดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะส่งสินค้าสิ่งทอของตนออกไปได้ การทำปลอมสำเนาหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่งทอ จึงเป็นการทำปลอมเอกสารสิทธิ แม้สำเนาหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่งทอ เป็นใบกำกับสินค้าซึ่งผู้ส่งออกเป็นผู้จัดทำขึ้นเอง มิใช่เป็นเอกสารที่จัดทำโดยกรมการค้าต่างประเทศ แต่เมื่อเป็นเอกสารที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยและลงตราประทับพร้อมลายมือชื่อของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศ เพื่อให้ได้สิทธิในการส่งออกสินค้าสิ่งทอไปต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ การทำปลอมสำเนาหนังสือรับรองการส่งออกสินค้าสิ่งทอ จึงเป็นการทำปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
แม้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายอันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แต่ในส่วนพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ยังไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยที่ 3 เป็นหญิง ป่วยเป็นเนื้องอกสมอง อยู่ระหว่างการรักษา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 3 แต่เพื่อให้จำเลยที่ 3 ได้รู้สำนึกในการกระทำของตนและไม่หวนกลับมากระทำความผิดอีก จึงให้ลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง
แม้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายอันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แต่ในส่วนพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ยังไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยที่ 3 เป็นหญิง ป่วยเป็นเนื้องอกสมอง อยู่ระหว่างการรักษา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 3 แต่เพื่อให้จำเลยที่ 3 ได้รู้สำนึกในการกระทำของตนและไม่หวนกลับมากระทำความผิดอีก จึงให้ลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้โทษ คดีปลอมเอกสารสิทธิ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 264 วรรคแรก, 83 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกคนละ 9 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก, 83 จำคุกคนละ 6 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11662/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'การกสิกรรม' ในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) คำว่า การกสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูก ไก่จึงไม่ใช่เป็นสัตว์ที่ได้มาจากการกสิกรรมตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11030/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนปริมาณเกินเกณฑ์ตามกฎหมาย ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่ายได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 19 เม็ด น้ำหนัก 1.77 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.327 กรัม แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องโดยใช้คำว่า "น้ำหนักสุทธิ" แต่ก็เห็นได้ว่าการใช้คำว่า "น้ำหนัก" เป็นการหมายถึงเฉพาะน้ำหนักของเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องเท่านั้น ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไปไว้ในครอบครอง ดังนี้ เมทแอมเฟตามีนตามฟ้องจึงมีปริมาณต้องด้วยบทบัญญัติตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 19 เม็ด ของกลางไว้ในครอบครอง กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติของกฎหมาย ที่ให้ถือว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเกิน 15 หน่วยการใช้ สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย ต้องมีพฤติการณ์สนับสนุน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ปรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทงละ 1,800 บาท จำเลยที่ 4 อายุกว่าสิบเจ็ดปี แต่ยังไม่เกินยี่สิบปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ให้ปรับ กระทงละ 900 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ฉะนั้น ความผิดฐานนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนข้อหาความผิดของจำเลยที่ 4 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ กระทงละ 900 บาท จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 4 จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (4) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยในข้อหาความผิดนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
ที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยรับฟังลงโทษไม่ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ฐานร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 172 เม็ด และฟังว่าจำเลยที่ 4 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 15 เม็ด ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันนำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 187 เม็ด ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ยังคงพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังกำหนดโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยรับฟังลงโทษไม่ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ฐานร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 172 เม็ด และฟังว่าจำเลยที่ 4 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 15 เม็ด ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันนำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 187 เม็ด ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ยังคงพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังกำหนดโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9321/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ จำเป็นต้องพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโจทก์โดยตรง
เอกสารสิทธิที่มีการปลอมและนำไปใช้ไม่จำต้องเป็นของโจทก์ เพียงแต่มีการนำเอกสารที่รับฟังได้ว่ามีการปลอมไปใช้เป็นผลเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายและถือเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9041/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหนี้หลังเลิกบริษัท: ศาลพิจารณา ณ เวลาฟ้อง และกฎหมายยังคุ้มครองสิทธิแม้ชำระบัญชีสิ้นสุด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ศาลจะพิจารณาในขณะยื่นฟ้องเป็นสำคัญ และการที่บริษัทเลิกกัน ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป รวมทั้งมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามบริษัทในคดีพิพาทตามมาตรา 1250, 1259 (1) นอกจากนี้มาตรา 1272 ยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทเป็นหนี้อยู่ได้ แม้การชำระบัญชีจะสิ้นสุดไปแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่า ระหว่างพิจารณาโจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2539 แต่ก็เป็นเวลาภายหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จึงไม่มีผลให้อำนาจฟ้องที่โจทก์มีอยู่แล้วในขณะยื่นฟ้องสิ้นไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งและอาญา: ทุนทรัพย์ที่พิพาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเพียงแต่ชกต่อยทำร้ายผู้เสียหาย หากจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายก็เป็นเงินจำนวนไม่เกิน 10,000 บาท นั้น เห็นว่า สิทธิในการฎีกาในคดีส่วนแพ่งนั้น ต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายเป็นเงิน 179,000 บาท จำเลยฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยต้องรับผิดไม่เกิน 10,000 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว