คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิงห์พล ละอองมณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9009/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยเพียงนำเอกสารใส่ตะกร้า ไม่ถือว่า 'ใช้' เอกสารปลอม
ไม่มีพยานปากใดเบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นผู้มอบใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราวให้แก่ ก. และมอบใบอนุญาตขับรถยนต์ให้แก่ จ. ข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยเป็นผู้นำใบอนุญาตขับรถดังกล่าวที่ทำปลอมขึ้นไปใส่ไว้ในตะกร้าบนเคาน์เตอร์หน้าที่ทำการแผนกทะเบียนยานพาหนะเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้มอบใบอนุญาตขับรถดังกล่าวให้แก่ ก. และ จ. จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบมาตรา 247 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยเพียงแต่นำใบอนุญาตขับรถที่ทำปลอมขึ้นใส่ไว้ในตะกร้า เพื่อให้ ก. และ จ. มารับไป โดยจำเลยยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9009/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอม: จำเลยเพียงนำเอกสารใส่ตะกร้า ไม่ถือว่า 'ใช้' เอกสาร
จำเลยรับราชการอยู่ที่แผนกทะเบียนยานพาหนะมีหน้าที่รับค่าภาษีและต่ออายุทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประจำปี ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรับทำใบอนุญาตขับรถ จำเลยเป็นผู้ปลอมใบอนุญาตขับรถอันเป็นเอกสารราชการ การที่จำเลยนำใบอนุญาตขับรถปลอมไปใส่ไว้ในตะกร้าวางไว้บนเคาน์เตอร์หน้าที่ทำการแผนกทะเบียนยานพาหนะ โดยเจ้าของใบอนุญาตขับรถจะไปตรวจดูที่ตะกร้าดังกล่าว หากเห็นใบอนุญาตขับรถของตนก็สามารถหยิบเอาไปได้หรือผู้ใดจะไปรับแทนก็ได้ไม่มีการทำหลักฐานการรับไว้ จำเลยยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7988/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้การอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ซึ่งอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกยกเลิกเพิกถอนไปต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ แม้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นอุทธรณ์คำสั่งกรณีขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยก็ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนดังกล่าว เพราะหากศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามอุทธรณ์ของจำเลยก็จะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์เป็นอันต้องถูกเพิกถอนไปทันที อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการอุทธรณ์ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมใช้แทน ดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์คำสั่งนั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้ทันทีโดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนเสียก่อน เพราะกรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ซึ่งศาลต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนหรือต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7436/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมที่จดทะเบียนแล้วมีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้เจ้าของที่ดินจะอ้างว่าไม่รู้เห็นการจดทะเบียน
ภาระจำยอมเมื่อจดทะเบียนแล้วมีผลผูกพันตราบเท่าที่ยังไม่มีการยกเลิกเพิกถอนเพราะเป็นทรัพยสิทธิที่ก่อตั้งขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1298 ทั้งจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมเข้ามาในคดีนี้ แต่ฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากและคดีดังกล่าวยังไม่มีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือกลับว่าการจดทะเบียนภาระจำยอมไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอน จึงต้องฟังว่าการจดะเบียนภาระจำยอมชอบและมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวและเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ให้ต้องปฏิบัติตาม แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าไม่รู้ว่ามีการจดทะเบียนภาระจำยอม ก็ไม่เป็นเหตุให้ยกเว้นความรับผิดในเรื่องทรัพยสิทธิที่จดทะเบียนแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกหลังคดีถึงที่สุดแล้วเป็นไปไม่ได้ แม้จะมีข้อกฎหมายหรือคำพิพากษาใหม่ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อจำเลย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือกำหนดโทษไม่ถูกต้อง จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่ ดังนี้ หากศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6638/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากขัดคำรับสารภาพ และอำนาจศาลพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าในวันเกิดเหตุเพื่อนของจำเลยให้จำเลยดื่มยาชูกำลังโดยไม่ทราบว่ามียาเสพติดให้โทษผสมอยู่ เป็นฎีกาในทำนองว่าจำเลยมิได้มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 และให้ใช้มาตรา 157/1 แทนแต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่แตกต่างกับกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดลงโทษจำเลย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง มีบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย อันเป็นมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของจำเลย และเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดตามกฎหมายมาตรานี้ โดยไม่จำต้องมีคำขอของโจทก์ระบุมาในคำขอท้ายฟ้องแต่อย่างใด แต่ต้องปรากฏว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ด้วย คดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ แต่ได้ความตามฎีกาของจำเลยและรายงานการสืบเสาะและพินิจของเจ้าพนักงานคุมประพฤติว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ ศาลจึงมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าโฆษณาที่ไม่สมบูรณ์ และผลของการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด
หนี้ที่จะหักกลบลบหนี้กันได้นั้นต้องเป็นหนี้อย่างเดียวกัน และต้องเป็นหนี้ที่ไม่มี ข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ประกอบมาตรา 344 พยานหลักฐานที่โจทก์อ้างได้แก่ใบเสร็จรับเงินซึ่งโดยปกติเป็นเอกสารแสดงการรับเงิน จึงมิได้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ ส่วนใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารที่บริษัท ท. มีไปถึงจำเลย จึงเป็นหลักฐานที่แสดงว่าหนี้ค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยพึงชำระแก่บริษัท ท. โดยเฉพาะเจาะจง มิได้พึงชำระให้แก่โจทก์ แม้โจทก์และบริษัท ท. เป็นบริษัท ในเครือเดียวกัน แต่ก็เป็นนิติบุคคลคนละรายกันตามกฎหมาย หากจะมีการโอนหนี้ของ บริษัท ท. ให้แก่โจทก์ก็จะต้องทำเป็นหนังสือและต้องบอกกล่าวไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ หรือจำเลยต้องยินยอมด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ ดังกล่าว และที่โจทก์อ้างว่ามีการสรุปยอดหนี้กันแล้ว คงเหลือจำนวนเงินที่โจทก์จะต้อง ชำระให้แก่จำเลยอีก 257,000 บาท ก็เป็นเพียงเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนที่โจทก์อ้างว่า พนักงานของจำเลยส่งโทรสารไปยังโจทก์แจ้งว่าโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน 574,000 บาท ก็ปรากฏในเอกสารดังกล่าวว่ามีผู้ลงนาม ในตอนท้ายเป็นชื่อเล่นว่า ม. โดยไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยอยู่ และไม่ปรากฏว่าส่งไปจากที่ใด ส่วนจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่าจำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้ทำโฆษณา แสดงว่าจำเลยยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าโฆษณาที่โจทก์จะขอหักกลบลบหนี้กับจำเลย โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ค่าโฆษณาของบริษัท ท. ไปหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์จะต้องชำระ ในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายของหนี้ที่หมดอายุความตามกฎหมายล้มละลาย และการปลดจากล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าได้ความจริงจึงจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือจำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลต้องพิพากษายกฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แม้ในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลางไม่มีผู้ใดยกปัญหาอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
ก่อนถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาก่อนวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าว ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายหลังปลดจากล้มละลาย: หนี้ก่อนพิทักษ์ทรัพย์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
ก่อนถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาก่อนวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าว ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการถูกดำเนินคดีบุกรุก ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่อยู่ในข่ายบุริมสิทธิ
หนี้ในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์อันจะมีบุริมสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 273 (1), 274 และ 269 คือ หนี้ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง ซึ่งรวมถึงหนี้ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่ได้เสียไปเพื่อที่จะสงวนสิทธิ รับสภาพสิทธิ หรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง แม้ผู้ร้องจะได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์ แต่การที่ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมตัวไปดำเนินคดีเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ร้องเข้าไปหาจำเลยแล้วจำเลยไปร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าผู้ร้องบุกรุกเข้าไปในบ้านจำเลย การเรียกค่าเสียหายจากการถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกเป็นคนละเรื่องกับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยตรง ที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการแก่จำเลยเป็นคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการสงวนสิทธิหรือรับสภาพสิทธิหรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์นั้น
of 14