คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิงห์พล ละอองมณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันชิงทรัพย์โดยใช้กำลังข่มขู่ แม้ผู้ถูกทำร้ายไม่ได้รับอันตรายร้ายแรง ก็เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามกฎหมาย
การที่จำเลยทั้งสามไปดักซุ่มตรวจค้นโดยเรียกผู้ขับรถจักรยานยนต์ที่ผ่านมาให้หยุดรถ เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่หยุดรถจักรยานยนต์ให้ตรวจค้น จำเลยทั้งสามก็ตามไปทำร้ายและข่มขู่อ้างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจตรวจค้นกระเป๋าสตางค์เอาเงินของผู้เสียหายทั้งสองไป แม้จำเลยที่ 3 จะนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ไม่ได้ลงไปร่วมทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองและเอาเงินไปด้วย แต่จำเลยที่ 3 ก็อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุในลักษณะคอยคุมเชิงและคอยช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ปฏิบัติการปล้นทรัพย์อยู่ แสดงว่ามีเจตนาร่วมกันที่จะดักตรวจค้นปล้นเอาเงินของผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาตั้งแต่ต้น และได้ร่วมปล้นทรัพย์ด้วยกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันชิงทรัพย์โดยแบ่งหน้าที่กันทำครบ 3 คน ครบองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์
ความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งนำไปสู่ความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น เป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อมีการใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว แม้จะไม่ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจก็เข้าองค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่เช็คที่ถูกปฏิเสธไม่ถือเป็นการออกเช็คฉบับใหม่ ความผิดฐานออกเช็คจึงเกิดขึ้นครั้งเดียว
การที่จำเลยนำเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมาแก้ไขวันที่และลงชื่อกำกับวันที่แก้ไขไว้ แม้จะเจตนาให้มีผลผูกพันเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่จำเลยทำสัญญากับผู้เสียหาย และเป็นการแก้ไขวันสั่งจ่ายซึ่งเป็นข้อสำคัญในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 ก็ตาม แต่การลงวันที่ใหม่และลงนามกำกับการแก้ไขโดยจำนวนเงินและลายมือชื่ออันเป็นรายการที่มีอยู่ในเช็คเดิมจึงเป็นเพียงการแก้วันที่ในเช็คเพียงอย่างเดียว เช็คยังคงเป็นเช็คฉบับเดิม ไม่เป็นการออกเช็คฉบับใหม่แต่อย่างใด เมื่อเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมาครั้งหนึ่งแล้ว ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันนั้นแล้ว การที่ผู้เสียหมายนำเช็คไปเรียกเก็บเงินอีกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นครั้งที่สองจึงหาได้เกิดความผิดขึ้นใหม่อีกไม่ เพราะเป็นการกระทำอันเดียวกันนั้นเอง การกระทำอันเดียวกันจะเป็นความผิดสองครั้งหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่เช็คที่ถูกปฏิเสธแล้ว ไม่ถือเป็นการออกเช็คฉบับใหม่ ความผิดฐานออกเช็คจึงไม่เกิดขึ้นซ้ำ
จำเลยนำเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมาแก้ไขวันที่และลงชื่อกำกับวันที่แก้ไขไว้ไปชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่ผู้เสียหาย แม้จะเจตนาให้มีผลผูกพันเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ และเป็นการแก้ไขวันสั่งจ่ายซึ่งเป็นข้อสำคัญในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 แต่เป็นเพียงการแก้วันที่ในเช็คเพียงอย่างเดียว เช็คยังคงเป็นเช็คฉบับเดิม เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมาครั้งหนึ่งแล้ว ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันนั้นแล้ว การที่เสียหายนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินอีกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นครั้งที่สอง จึงไม่ได้เกิดความผิดขึ้นใหม่อีก เพราะเป็นการกระทำอันเดียวกันนั้นเอง จะเป็นความผิดสองครั้งหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9674/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ หากระบุน้ำหนักสุทธิแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีแมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 2 ถุง น้ำหนัก 0.52 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการกล่าวถึงน้ำหนักสุทธิ ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดอันหนึ่งอันใดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ว่า "ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม..." แล้ว โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์เท่าใดอีกได้ คำฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่ถึงห้าปี ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9646/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์ฟ้องฐานชิงทรัพย์
แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดฐานรับของโจรก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าว ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติบังคับไว้ว่าเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ประกอบกับจำเลยที่ 2 นำสืบว่า ด. ให้จำเลยที่ 2 นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ จำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางโดยเปิดเผย ต่อมาจำเลยที่ 2 ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางโดยเปิดเผย ต่อมาจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปดื่มสุราที่บ้านจำเลยที่ 1 จนไม่สามารถขับรถจักรยานยนต์ได้ จึงฝากไว้ที่บ้านจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้หลงต่อสู้ ดังนี้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานชิงทรัพย์โดยไม่ได้บรรยายฟ้องและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานรับของโจรมาด้วยก็ตามศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณาในความผิดฐานรับของโจรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8916/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในฟ้อง และการบวกโทษจำคุกรอการลงโทษในคดีก่อน
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 15 วัน และปรับ 1,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 1 ปี ข้อหาทำร้ายร่างกาย ภายในกำหนดระยะเวลารอการลงโทษดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีก เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จำเลยฟัง จำเลยก็ได้ให้การว่าข้าพเจ้าไม่ต้องการทนายและขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกและศาลรอการลงโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วยนั่นเอง จึงนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเรื่องสถานภาพสมรสเพื่อจำนองทรัพย์สินร่วม การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
จำเลยซื้ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดในระหว่างสมรสกับโจทก์ อาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ การที่จำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นโสดไม่เคยมีคู่สมรสไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137
เมื่ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย อำนาจการจัดการจำนองอาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวจำเลยก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนองหรือโจทก์มีสินสมรสเพิ่มขึ้นหรือไม่ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การคุมความประพฤติจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่า ความผิดที่จะกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติต้องเป็นความผิดร้ายแรง หรือจำเลยต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสังคม หรือติดยาเสพติดให้โทษดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานขายยาควบคุมพิเศษ การยึดยาของกลางไม่ถือเป็นฟ้องขัดแย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันประเภทยาควบคุมพิเศษโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.6 ว่า จำเลยขายยาไวอากร้า ซึ่งเป็นยาจำพวกขยายหลอดเลือด ซึ่งมีส่วนผสมซิลเดนาฟิล จัดเป็นยาแผนปัจจุบันประเภทควบคุมพิเศษโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดที่โจทก์กล่าวหาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง, 101 พอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาแล้ว แม้ฟ้องโจทก์ในข้อ 2 บรรยายว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดยาจำนวนตามฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.6 จากจำเลยเป็นของกลาง ก็ไม่เป็นการบรรยายฟ้องที่ขัดกัน เพราะฟ้องข้อดังกล่าวมิใช่องค์ประกอบของความผิดเป็นเพียงบรรยายถึงการจับกุมจำเลยและการยึดยาของกลางเท่านั้น อีกทั้งตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 4 บัญญัติว่า ... "ขาย" หมายความว่า "ขายปลีก... และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย" การที่ยึดยาของกลางจากจำเลยได้จำนวนเท่ากับที่จำเลยขาย จึงหาทำให้ฟ้องขัดกันไม่ เพราะไม่ว่าจำเลยจะขายหรือมีไว้เพื่อขายยาของกลาง ก็เป็นความผิดฐานขายยาของกลางตามฟ้อง ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้เห็นเป็นใจกับความผิดทางอาญาของผู้เช่าซื้อ และสิทธิในการเรียกร้องทรัพย์สินคืนจากการเช่าซื้อ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 โดยในคำร้องระบุว่าจำเลยกับพวกได้นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ล่อซื้อซึ่งต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางดังนี้ แสดงว่าผู้ร้องต้องรู้มาก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าศาลชั้นต้นพิพากษาริบรถจักรยานยนต์ของกลางแล้ว แต่ผู้ร้องก็เพิกเฉยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางในคดีนี้ ทั้งยังคงรับชำระเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อต่อไปอีก ประกอบกับหนังสือสัญญาเช่าซื้อข้อ 3.3 ระบุว่า ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญาในกรณีทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึดหรือถูกริบ โดยความผิดของผู้เช่าซื้อเองและในกรณีมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบชดใช้ราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อพร้อมด้วยค่าเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ผู้ร้องจึงเพิกเฉยไม่ติดตามเอารถจักรยานยนต์ของกลางที่ให้เช่าซื้อคืน ทั้งๆ ที่ผู้ร้องรู้อยู่แล้วว่ามีการนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในทางผิดกฎหมายอันเป็นการผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่ผู้ร้องมาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางเห็นได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ฉลอง 80 พรรษา ทำให้งดเพิ่มโทษจำคุก แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องโทษและพ้นโทษในคดีอาญาที่เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 (8) ได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าวกรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษศาลฎีกาจึงกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่
of 14