พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จในคดีเช็ค: ข้อสำคัญคือการออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่การชำระหลังปฏิเสธ
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534ขึ้นอยู่กับการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แล้วธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ส่วนปัญหาว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมีการชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คมากน้อยเพียงใด มิใช่ข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ศาลจะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นการเบิกความว่า ได้ใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือทวงถามว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นซึ่งทำให้คดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ผู้ออกเช็คไม่เคยชำระเงินให้แก่จำเลยจึงมิใช่ข้อสำคัญในคดี แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำการตามฟ้องก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ข้อสำคัญคือการออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
การพิจารณาคดีตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ต้องให้ได้ความว่า จำเลยกระทำการครบถ้วนตามองค์ประกอบความผิดที่กฎหมายบัญญัติ กล่าวคือได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนปัญหาว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงินแล้วมีการชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ศาล จะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยในคดีเรื่องนั้นกระทำความผิดหรือไม่ เว้นแต่เป็นการเบิกความว่า ได้ใช้เงินตามเช็ค ให้แก่ผู้ทรงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือทวงถามว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ซึ่งทำให้คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 ดังนี้ การที่จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีที่โจทก์ถูกฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คไม่เคยชำระเงินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คเลย จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเบิกความ ต่อศาลดังกล่าวก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จ ตาม ป.อ. มาตรา 177 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน การครอบครองประโยชน์ใช้สอย และสิทธิยึดหน่วงบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาท โดยมีข้อตกลงว่าจะไปจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนให้โจทก์เมื่อจำเลยนำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้ว จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองโจทก์ชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนและจำเลยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วแม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียน แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ โจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 193/27 และ 241 แม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน 10 ปี คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยไปแบ่งแยกที่ดินด้านทิศใต้ส่วนที่โจทก์ครอบครอง แล้วโอนให้โจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ ก็เป็นเพียงประมาณการเท่านั้นเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ช่างรังวัดสอบเขตและทำแผนที่พิพาทตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยโจทก์และจำเลยเป็นผู้นำชี้ซึ่งช่างรังวัดที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ครอบครองได้เนื้อที่27 ไร่ 1 งาน 42 ตารางวา ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามเนื้อที่ซึ่งปรากฏในแผนที่พิพาทได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยไปแบ่งแยกที่ดินด้านทิศใต้ส่วนที่โจทก์ครอบครอง แล้วโอนให้โจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ ก็เป็นเพียงประมาณการเท่านั้นเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ช่างรังวัดสอบเขตและทำแผนที่พิพาทตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยโจทก์และจำเลยเป็นผู้นำชี้ซึ่งช่างรังวัดที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ครอบครองได้เนื้อที่27 ไร่ 1 งาน 42 ตารางวา ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามเนื้อที่ซึ่งปรากฏในแผนที่พิพาทได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการสอบถามจำเลยก่อนแต่งทนาย และผลต่อการดำเนินคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยโดยยังไม่ได้สอบถามเรื่องทนายความเสียก่อน แม้กระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173 แต่ในวันสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยได้แต่งทนายความเข้ามาว่าต่างให้และทนายความของจำเลยยังแก้ต่างให้จำเลยทุกนัดจนเสร็จคดี จำเลยจึงมีทนายความดำเนินคดีให้แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่แก้ไขแล้ว ไม่ต้องดำเนินกระบวนการใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 มีเจตนารมณ์เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เมื่อข้อหาที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องสอบถามจำเลยเกี่ยวกับทนายความเสียก่อนตามมาตรา 173 จะด่วนไปสอบถามคำให้การจำเลยโดยจำเลยยังไม่มีทนายความไม่มีผูกพันจำเลย ต้องถือเสมือนว่าจำเลยยังมิได้ให้การตามที่ศาลสอบถามและบันทึกไว้ อย่างไรก็ดี แม้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในเรื่องดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ปรากฏว่าในวันสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยได้แต่งทนายความเข้ามาว่าต่างให้ ทนายความของจำเลยยังแก้ต่างให้ทุกนัดจนเสร็จคดี กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามมาตรา 208(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินที่มีโฉนด สิทธิซื้อขายจากผู้ไม่มีสิทธิเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 2 นำที่ดินของโจทก์ไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่มีอำนาจแม้เจ้าพนักงานที่ดินจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินเพราะกระบวนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงมิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายย่อมตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 29 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะ แม้จะอ้างอิง พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน
จำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อจำเลยที่ 1 จัดซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ผู้ที่มิใช่เจ้าของ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายจึงตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 36 ทวิ ประกอบมาตรา 37 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่าในคดีปัจจุบัน และการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณต่อจำเลย
แม้ขณะที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการโดยมิได้ให้การถึงคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์ขอให้บวกโทษก็ตาม ก็ถือได้ว่า จำเลยได้รับว่าเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกและรอการลงโทษไว้จริงตามฟ้องด้วย ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและบวกโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 เข้ากับคดีนี้แล้ว จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษและกล่าวถึงเรื่องที่จำเลยถูกจับไปดำเนินคดีตามสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 ของศาลชั้นต้นอันเป็นการยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงบวกโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 เข้ากับคดีนี้ได้
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯมาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทสำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษ ซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯมาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทสำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษ ซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่ากับคดีใหม่: การยอมรับของจำเลยถือเป็นความเข้าใจในคำพิพากษาเดิม
ขณะที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการโดยมิได้ให้การถึงคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ถือได้ว่าจำเลยได้รับว่าเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกและรอการลงโทษไว้จริงตามฟ้องด้วย ประกอบกับจำเลยยอมรับในอุทธรณ์ว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นบวกโทษจำคุกในคดีก่อนเข้ากับคดีนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ศาลยุติธรรมต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการโอนคดีไปยังศาลปกครองเมื่อเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลปกครอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องโจทก์ไว้เป็นไม่รับฟ้องโดยให้เหตุผลว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลนี้ที่จะพิจารณาพิพากษา คำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542มาตรา 9(1) นั่นเอง ศาลชั้นต้นต้องทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องไว้เป็นไม่รับฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10