พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรองเท้าแตะที่ตกหล่นหลังวิวาท ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เหตุไม่มีเจตนาทุจริต
รองเท้าแตะของโจทก์ร่วมตกอยู่ที่บริเวณประตูบ้านของจำเลยก็เพราะโจทก์ร่วมทำหลุดไว้ เนื่องจากเหตุวิวาทชกต่อยกันระหว่างจำเลยกับ ส. จำเลยจึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานแล้วเก็บรองเท้าแตะของโจทก์ร่วมและนำไปมอบให้พนักงานสอบสวนแสดงว่าจำเลยมิได้เอารองเท้าแตะของโจทก์ร่วมไปเป็นของตนหรือผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะไม่มีสิทธิเก็บเอารองเท้าแตะของโจทก์ร่วมไว้ก็ตาม ก็มิใช่เหตุที่จะถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์วันหยุดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้ฝ่ายจำเลยใช้สิทธิทางกฎหมาย
จำเลยยื่นคำแถลงลงวันที่ 23 กันยายน 2540 ต่อศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นออกคำบังคับระบุจำนวนค่าเสียหายรายเดือนที่จำเลยต้องชำระไม่ถูกต้อง เพราะจำเลยหยุดการทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2532 แล้ว แต่โจทก์แถลงคัดค้านว่า จำเลยเพิ่งหยุดการทำละเมิดลิขสิทธิ์เมื่อวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คือวันที่ 1 มีนาคม 2538 เมื่อต่างฝ่ายต่างกล่าวอ้างเช่นนี้ ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นที่ยุติได้ การที่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ยื่นฎีกาจำเลยก็ยื่นคำแก้ฎีกาว่ามิได้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ยังไม่เพียงพอที่จะให้ฟังว่าจำเลยเพิ่งหยุดทำละเมิดลิขสิทธิ์นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิตามกฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติไว้เท่านั้น มิได้หมายความว่าหลังจากใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแล้วจำเลยจะต้องทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตลอดมา จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความเสียก่อน แล้วจึงมีคำสั่งในเรื่องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การหยุดละเมิดลิขสิทธิ์: ศาลต้องไต่สวนเพื่อความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทำละเมิดสิทธิ์ต่อโจทก์ การที่จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีก็เป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยใช้สิทธิตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นมิได้หมายความว่าหลังจากใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องทำละเมิดลิขสิทธิ์ของฝ่ายโจทก์ตลอดมา เพราะฝ่ายจำเลยอาจไม่กล้าเสี่ยงที่จะดำเนินธุรกิจที่มีข้อพิพาทนี้ต่อไปหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้วก็เป็นได้ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยังคงทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาและได้หยุดกระทำละเมิด ณ วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยหยุดกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้น จึงต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่ที่ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยหยุดการทำละเมิด ณ วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกามาด้วยนั้นยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801-3802/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ ดอกเบี้ย และการหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การชำระหนี้แต่ละครั้งเมื่อไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เสียก่อน หลังจากนั้นเหลือเงินเท่าใดจึงนำไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง จำเลยผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ซึ่งต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามมาตรา 321 วรรคสาม โดยถือเป็นการชำระหนี้ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคารและต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนวันชำระหากมีเงินเหลือก็นำไปชำระต้นเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801-3802/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ ดอกเบี้ยต้องชำระก่อนเงินต้น และการบังคับจำนองเกินคำฟ้อง
ในการชำระหนี้แต่ละครั้งนั้นเมื่อไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เสียก่อน หลังจากนั้นเหลือเงินเท่าใดจึงนำไปชำระเงินต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์แต่ละคราวจึงต้องคำนวณเสียก่อนว่ามีดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาจนถึงวันชำระเป็นเงินเท่าใด เมื่อมีเงินเหลือจากการชำระดอกเบี้ยแล้วก็นำไปชำระเงินต้นซึ่งอาจทำให้เงินต้นเหลือลดลงไปและดอกเบี้ยต่อจากนั้นก็ลดลงไปด้วยเช่นเดียวกัน
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม เช็คดังกล่าว จึงถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคาร
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โจทก์แยกฟ้องมาเป็นคนละสำนวนซึ่งมีคำขอบังคับจำเลยแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน แม้ศาลชั้นต้นจะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันแล้ว เมื่อจะพิจารณาคดีรวมกันก็ต้องคำนึงถึงคำขอของแต่ละสำนวนด้วยว่ามีอยู่อย่างไร คดีสำนวนของจำเลยที่ 1 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีคำขอบังคับจำนองด้วย ส่วนคดีสำนวนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าไม่ชำระจึงขอให้บังคับจำนอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเท่านั้นที่กู้ยืมเงินจากโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 มิได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ย่อมไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขจึงเป็นการพิพาทเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 อันเป็นการมิชอบ กรณีเช่นนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกา
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม เช็คดังกล่าว จึงถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคาร
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โจทก์แยกฟ้องมาเป็นคนละสำนวนซึ่งมีคำขอบังคับจำเลยแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน แม้ศาลชั้นต้นจะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันแล้ว เมื่อจะพิจารณาคดีรวมกันก็ต้องคำนึงถึงคำขอของแต่ละสำนวนด้วยว่ามีอยู่อย่างไร คดีสำนวนของจำเลยที่ 1 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีคำขอบังคับจำนองด้วย ส่วนคดีสำนวนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าไม่ชำระจึงขอให้บังคับจำนอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเท่านั้นที่กู้ยืมเงินจากโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 มิได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ย่อมไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขจึงเป็นการพิพาทเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 อันเป็นการมิชอบ กรณีเช่นนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3769/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทางสาธารณะของที่ดิน: พยานหลักฐานต้องชัดเจนว่ามีการอุทิศให้เป็นสาธารณะโดยเจ้าของที่ดินหรือหน่วยงานรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันเป็นซอยทองหล่อ 18 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะถนนสุขุมวิท 55 โดยโจทก์แนบแผนที่สังเขปมาท้ายคำฟ้องซึ่งแสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 ติดกับคลองเป้งและติดกับที่ดินของ ท. ซึ่งเป็นทางเชื่อมกับที่ดินพิพาทเพื่อออกสู่ถนนสุขุมวิท 55แผนที่สังเขปท้ายคำฟ้องย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย เป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ท. และที่ดินพิพาทอยู่ในบริเวณใดและมีสภาพเป็นอย่างไรคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 แม้โจทก์ไม่เคยอยู่อาศัยในซอยดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเข้าออกเพื่อไปดูแลหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ หากที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะทั้งแปลงตามที่โจทก์อ้างในฟ้องแล้ว การที่จำเลยทั้งเก้าทำที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นตลาดสดย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางสาธารณะได้รับความสะดวกน้อยลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเก้าได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งเก้า เหตุที่โจทก์ไม่ขออนุญาตหรือขอให้จำเลยทั้งเก้าจดทะเบียนภารจำยอมให้ ก็เพราะโจทก์จะทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะเพื่อให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้น แต่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ฎีกาว่า โจทก์จะปลูกบ้านพักและอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ซึ่งทางราชการจะอนุญาตต่อเมื่อติดทางสาธารณะที่มีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร เป็นการฟ้องคดีเพื่อผลประโยชน์ของตนเองอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ให้การไว้ฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า พ. และ น. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2485 จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นทายาทของ พ. และ น. ได้ผู้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายย่อมเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งเก้าที่อ้างว่าจำเลยทั้งเก้าไม่ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ
ที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 แม้โจทก์ไม่เคยอยู่อาศัยในซอยดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเข้าออกเพื่อไปดูแลหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ หากที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะทั้งแปลงตามที่โจทก์อ้างในฟ้องแล้ว การที่จำเลยทั้งเก้าทำที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นตลาดสดย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางสาธารณะได้รับความสะดวกน้อยลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเก้าได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งเก้า เหตุที่โจทก์ไม่ขออนุญาตหรือขอให้จำเลยทั้งเก้าจดทะเบียนภารจำยอมให้ ก็เพราะโจทก์จะทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะเพื่อให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้น แต่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ฎีกาว่า โจทก์จะปลูกบ้านพักและอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ซึ่งทางราชการจะอนุญาตต่อเมื่อติดทางสาธารณะที่มีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร เป็นการฟ้องคดีเพื่อผลประโยชน์ของตนเองอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ให้การไว้ฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า พ. และ น. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2485 จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นทายาทของ พ. และ น. ได้ผู้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายย่อมเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งเก้าที่อ้างว่าจำเลยทั้งเก้าไม่ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก อายุความ 10 ปี ข้อต่อสู้ทางสัญญาซื้อขาย
ว. มีหนังสือถึงจำเลยมีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่าต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือของ ว. ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวกและจำเลย สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องแต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไปเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน แสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย
จำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงจะชำระหนี้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 แต่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ช. กับพวกซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยได้ คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องแต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไปเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน แสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย
จำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงจะชำระหนี้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 แต่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ช. กับพวกซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยได้ คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & อายุความสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หนังสือที่ ว. มีถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ของ ว. มีข้อความว่า ว. ต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานดังกล่าวจากโจทก์และจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วนและทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. และจำเลยโดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลยยังค้างชำระค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจาก ว. อยู่ สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก โดยจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงไม่มีปัญหาว่ามีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ว. และโจทก์หรือไม่
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไปจาก ว. มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ ว. ได้ เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยและ ว. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะชำระหนี้ของ ว. ให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอลูมิเนียมของ ว. ขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไปจาก ว. มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ ว. ได้ เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยและ ว. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะชำระหนี้ของ ว. ให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอลูมิเนียมของ ว. ขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & อายุความ: สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หนังสือของ ว. ถึงจำเลย มีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า ว. กับพวกต้องการให้จำเลยจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ การที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่า ค้างชำระหนี้โจทก์ ย่อมมีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวก และจำเลย โดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลย ยังค้างชำระหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจาก ว. กับพวกอยู่ และสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ว. กับพวกและโจทก์ เพราะสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องทำนองเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ได้บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า ว. กับพวก ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์ แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไป โดยเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน ซึ่งแสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจะต้องด้วยบทกฎหมายเรื่องใดเป็นเรื่องที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วยแล้ว
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม แต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. กับพวก โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยจึงอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะ ชำระหนี้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญา ซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ว. กับพวก ซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยดังกล่าวได้ คดีจึงต้องมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ มิใช่มีอายุความตามสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม
โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องทำนองเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ได้บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า ว. กับพวก ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์ แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไป โดยเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน ซึ่งแสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจะต้องด้วยบทกฎหมายเรื่องใดเป็นเรื่องที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วยแล้ว
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม แต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. กับพวก โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยจึงอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะ ชำระหนี้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญา ซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ว. กับพวก ซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยดังกล่าวได้ คดีจึงต้องมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ มิใช่มีอายุความตามสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอดำเนินคดีอนาถาต้องมีการสืบพยานเบื้องต้นก่อน จึงจะยื่นคำร้องใหม่ขอแสดงพยานเพิ่มเติมได้
จำเลยอ้างในคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาว่า จำเลยเป็นคนยากจนและจำเลยต้องถูกจำคุกตามคำพิพากษาศาลฎีกา ยิ่งทำให้ครอบครัวจำเลยซึ่งไม่มีรายได้อื่นต้องเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสจำเลยไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยโดยไม่มีการไต่สวน ทำให้จำเลยไม่ได้เสนอพยานหลักฐานเกี่ยวกับความยากจนของจำเลยต่อศาล หากจำเลยเสนอพยานหลักฐานแล้วจะทำให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นคนยากจน ขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจนและให้มีการพิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยใหม่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิขอสืบพยานเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มิใช่จำเลยตกเป็นคนยากจนลงภายหลังและจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามมาตรา 156 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มีความหมายว่า ผู้ยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจำเลยเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 156 วรรคสี่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ของจำเลยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า ตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่งหรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย ที่จำเลยเสียค่าคำร้องค่าคำขอ ค่าอ้างเอกสารในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนให้แก่จำเลย รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยเสียมาให้เป็นพับแก่จำเลย จึงไม่ถูกต้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มีความหมายว่า ผู้ยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจำเลยเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 156 วรรคสี่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ของจำเลยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า ตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่งหรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย ที่จำเลยเสียค่าคำร้องค่าคำขอ ค่าอ้างเอกสารในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนให้แก่จำเลย รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยเสียมาให้เป็นพับแก่จำเลย จึงไม่ถูกต้อง