พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นดอกเบี้ยอันเป็นดอกผลนิตินัยหรือเป็นเบี้ยปรับย่อมขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าเจ้าหนี้เรียกเอาเงินนั้นโดยอาศัยเหตุใด หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามที่กำหนดในสัญญาโดยมิได้คำนึงว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ ย่อมเป็นดอกเบี้ยอันเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับตามอัตราที่เปลี่ยนแปลง ศาลจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านั้นไม่ได้ แต่ถ้าอาศัยข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เรียกเอาจากลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ย่อมเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ และเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383
สัญญากู้เงินระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ผู้กู้ตกลงเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงินที่ผิดนัด และเอกสารแสดงรายการชำระหนี้มีข้อความในตอนหมายเหตุว่า เริ่มคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ21.00 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญากู้เงินเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้แม้จะระบุว่าเงินดังกล่าวเป็นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
สัญญากู้เงินระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ผู้กู้ตกลงเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงินที่ผิดนัด และเอกสารแสดงรายการชำระหนี้มีข้อความในตอนหมายเหตุว่า เริ่มคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ21.00 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญากู้เงินเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้แม้จะระบุว่าเงินดังกล่าวเป็นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลต้องตรวจและแก้ไขก่อนรับพิจารณา หากไม่ทำเป็นการละเมิดสิทธิจำเลย
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดย ก. ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนจำเลยแต่ในสำนวนไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ ซึ่งกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจอุทธรณ์ของจำเลยโดยละเอียด และมีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องในการยื่นอุทธรณ์เสียให้ครบถ้วนและถูกต้องก่อนที่จะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้ง ๆที่เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในเนื้อหาแห่งอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ก. เป็นทนายจำเลยโดยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยได้พร้อมกับยื่นฎีกาเข้ามาแล้วจึงไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขและต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาดอกเบี้ยกู้เงิน: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาเว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับกรณีผิดนัด, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา เว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน โดยคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริง
สัญญากู้เงินระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลยระบุว่า ในระยะ 3 ปีแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงร้อยละ 7.86 ต่อปีเท่านั้น ต่อจาก 3 ปี นั้นแล้ว จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้แต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงตามกฎหมายแต่ถ้าจำเลยผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินและไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยก่อน ปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยกู้เงินโจทก์ได้เพียง 3 เดือนเศษก็ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ต่อมาอีก 5 เดือน โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ หาใช่เป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามปกติโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญากู้เงินไม่จึงเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อันเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งเมื่อศาลได้คำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์แล้วสามารถลดลงเป็นร้อยละ 15ต่อปีได้กรณีมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลแต่อย่างใด
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษตามความผิดที่บรรยายฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุวรรคของมาตราในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยมีอาวุธมีดและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ทั้งวรรคสองและวรรคสาม โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยเนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษตามความผิดชิงทรัพย์ที่มีอาวุธ และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายทางกาย ศาลชอบที่จะพิพากษาตามฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุวรรคของมาตราในคำขอท้ายฟ้อง
ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยเนื่องจากป.วิ.อ มาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษชิงทรัพย์โดยมีอาวุธและทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยมีอาวุธมีดและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ทั้งวรรคสองและวรรคสาม โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแก่เจ้าพนักงานที่ดินที่ไม่ได้เป็นจำเลยในคดี กรณีเขตปฏิรูปที่ดิน
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์มีอำนาจดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งทางราชการไม่อาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ใดได้ แต่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจขอให้บังคับคดีแก่เจ้าพนักงานที่ดินให้ระงับการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกคดีและการบังคับตามคำพิพากษา: เจ้าพนักงานที่ดินไม่ต้องถูกบังคับหากไม่ได้เป็นจำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกมิให้ถูกบังคับในเรื่องที่ตนมิได้เป็นคู่ความและไม่มีโอกาสเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย โจทก์จึงไม่อาจขอให้บังคับคดีแก่เจ้าพนักงานดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่โจทก์มีอำนาจดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งทางราชการไม่อาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ใดได้ เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการถูกบังคับให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่โจทก์มีอำนาจดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งทางราชการไม่อาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ใดได้ เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการถูกบังคับให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา