คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กำพล ภู่สุดแสวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8391/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความบุกรุกที่ดินโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดแจ้งความเท็จ แม้มีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาว่า จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่ดินของจำเลยเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 เวลากลางวัน แต่ตามทางพิจารณาจำเลยเบิกความรับว่า จำเลยได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาทของจำเลย โดยมิได้นำสืบต่อสู้เกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยไปแจ้งความ กรณีที่ข้อแตกต่างเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลา มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ และการที่โจทก์ฟ้องผิดไปนั้น มิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ดังนั้นหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ โดยแกล้งกล่าวข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาให้ผิดไปจากความจริง เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเข้าใจว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาบุกรุก เป็นกรณีที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในทำนองเล่าเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของบิดา และโจทก์ได้บุกรุกเข้าไปทำนาในที่ดินของจำเลยโดยมิชอบด้วยกฎหมายนอกจากนี้เมื่อพนักงานสอบสวนปากคำจำเลย จำเลยก็ให้การรับว่าที่ดินของจำเลยดังกล่าวยังมีข้อพิพาทฟ้องร้องทางแพ่ง โต้เถียงกรรมสิทธิ์กันอยู่ระหว่างโจทก์กับจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมิได้มีเจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก์ส่วนฝ่ายใดจะมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์คดีอาญา: การโอนสิทธิก่อนคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ซื้อย่อมเป็นเจ้าของได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง และริบรถยนต์ของกลาง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์เพราะพอใจในโทษของตนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ย่อมถึงที่สุด แต่จะถือว่าประเด็นในเรื่องการริบรถยนต์ของกลางถึงที่สุดตามโทษของจำเลยที่ 2 ทำนองเดียวกับคดีแพ่งที่มีการถึงที่สุดเป็นประเด็น ๆ ไปหาได้ไม่ เพราะปัญหาในคดีอาญาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงโทษจำเลยตลอดจนริบทรัพย์สินล้วนเป็นปัญหาที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ทั้งสิ้น แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง และมาตรา 213 คำพิพากษาเกี่ยวกับรถยนต์ของกลางจึงยังไม่ถึงที่สุด
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางจึงยังเป็นของบริษัทเงินทุน ท. อยู่ยังไม่ได้ตกเป็นของแผ่นดิน การที่ผู้ร้องซื้อสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของกลางและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด ผู้ร้องย่อมเป็นเจ้าของแท้จริงในรถยนต์ของกลางได้โดยชอบ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังในวันที่ 25 มกราคม 2542 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา คำพิพากษาคดีนี้ย่อมถึงที่สุดในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางคืนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเป็นการยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีตามลำดับในสัญญาต่างตอบแทน และสิทธิในการขอปฏิบัติการชำระหนี้ก่อน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยอยู่สามประการ ประการแรกคือบังคับให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องชำระเงินตอบแทน 35,000 บาท แก่จำเลย ประการที่สองคือบังคับให้ใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 35,000 บาท ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิในที่ดินพิพาทได้ และประการที่สามคือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท สำหรับสิทธิของโจทก์ในประการแรกและประการที่สองนั้น การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีที่อาจเลือกการชำระหนี้ได้ เมื่อที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินแล้วโดยมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้สิทธิบังคับในประการแรกคือให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับในประการที่สองคือให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นเงิน 35,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ เพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระค่าเสียหายจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยต้องมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงิน 35,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติชำระหนี้ โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบจะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ลำดับการบังคับคดีตามสัญญาต่างตอบแทน และสิทธิในการขอปฏิบัติการชำระหนี้ก่อน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยสามประการ ประการแรกคือบังคับให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องชำระเงินตอบแทนแก่จำเลย ประการที่สองคือบังคับให้ใช้ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิในที่ดินพิพาทได้ และประการที่สามคือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท สำหรับสิทธิของโจทก์ในประการแรกและประการที่สองการบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีที่อาจเลือกการชำระหนี้ได้ เมื่อที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้สิทธิบังคับในประการแรกคือให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับในประการที่สองให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์เพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระค่าเสียหายจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่า: ศาลฎีกายกเหตุเจตนาเดียวกันในการทำร้ายผู้เสียหายหลายคน ลดโทษตามคำรับสารภาพ
ชั้นพิจารณา จำเลยมิได้นำสืบปฏิเสธความถูกต้องของบันทึการจับกุมเมื่อฟังได้ว่า ชั้นจับกุมจำเลยได้ให้การรับสารภาพตามบันทึกการจับกุมจริง จึงใช้ยันจำเลยได้ หากจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์มิได้กระทำความผิดที่ถูกกล่าวหา ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะต้องให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเช่นนั้น
การที่จำเลยหลบหนีไปจากที่พักในคืนเกิดเหตุเป็นข้อพิรุธที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง
ผู้เสียหายที่ 1 ถูกจำเลยใช้ขวานฟันเป็นบาดแผลที่ศีรษะส่วนบนด้านหลังยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะและกะโหลกศีรษะร้าว ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกฟันเป็นบาดแผลที่ขมับแถบซ้ายจดโหนกแก้มแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะ ที่ศีรษะด้านหน้าแถบซ้ายจดเหนือคิ้วซ้ายแผลยาว 10 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร ลึกจดเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ กะโหลกศีรษะแถบซ้ายแตกยุบ สมองฉีกขาด กลางต้นแขนซ้ายแผลยาว2 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ และเหนือข้อศอกขวาแผลยาว3 เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร ลึกจดกล้ามเนื้อ บาดแผลที่ผู้เสียหายทั้งสองได้รับดังกล่าว หากแพทย์รักษาไม่ทันหรือมีโรคแทรกซ้อนอาจทำให้ผู้เสียหายทั้งสองถึงแก่ชีวิตได้ และจากลักษณะบาดแผลดังกล่าว เชื่อได้ว่าจำเลยได้ใช้ขวานฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอย่างแรง สำหรับขวานที่จำเลยใช้ฟันศีรษะผู้เสียหายทั้งสองเป็นขวานที่ใช้ในงานช่างไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ขวานดังกล่าวเป็นขวานขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นอาวุธทำอันตรายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้โดยง่าย การที่จำเลยใช้ขวานดังกล่าวเลือกฟันที่ศีรษะผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ถึงแก่ความตามเพราะแพทย์ช่วยรักษาผู้เสียหายทั้งสองไว้ได้ทัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
การที่จำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองเนื่องจากโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงโดยจำเลยเป็นช่างไม้ได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นช่างทาสี แล้วจำเลยได้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกัน การที่จะทำร้ายใครก่อนหลังย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะจำเลยไม่สามารถใช้ขวานฟันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองคนพร้อมกันทีเดียวได้ แต่เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาจะทำร้ายเฉพาะผู้เสียหายที่ 1 แล้วเพิ่มเจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีกคนหนึ่งในภายหลังเช่นนี้แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อบุคคลหลายคนก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมาเป็นความผิดสองกรรมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ศาลอุทธรณ์ได้นำคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมมาฟังประกอบการลงโทษจำเลย คดีจึงมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ.มาตรา 78 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ลดโทษให้จำเลย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขลดโทษให้จำเลยบางส่วนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายต่อเนื่อง: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจากความผิดหลายกรรมเป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองเพราะมีสาเหตุโกรธเคืองเนื่องจากโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงโดยจำเลยเป็นช่างไม่ได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นช่างทาสี แล้วจำเลยได้ใช้ขวานฟันผู้เสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาต่อเนื่องกันการที่จะทำร้ายใครก่อนหลังย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะไม่สามารถใช้ขวานฟันผู้เสียหายทั้งสองคนพร้อมกันทีเดียวได้ แต่จำเลยประสงค์จะทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน แม้จะมีการกระทำหลายหนและต่อบุคคลหลายคนก็อยู่ภายในเจตนาอันนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8139/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ทางพิพาท: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งย่อมเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องและเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและฟ้องแย้งย่อมมีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอันเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย นอกจากจำเลยจะไม่ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทแล้ว จำเลยยังมีสิทธิห้ามโจทก์เกี่ยวข้องและใช้ทางพิพาทได้ด้วย ส่วนข้ออ้างของจำเลยจะรับฟังได้หรือไม่ และจำเลยจะเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ได้หรือไม่ เพียงใดนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาฟ้องแย้งเช่นนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมและมิได้มีเงื่อนไขเลยว่าจะถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อจำเลยต้องแพ้คดีตามคำฟ้องเสียก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8021/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพในคดียาเสพติดอัตราโทษสูง ศาลต้องพิสูจน์การกระทำผิดจริง
การสืบพยานประกอบคำรับสารภาพในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันและคุ้มครองเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูงมิให้ต้องรับโทษหนักเกินกว่าความผิดที่กระทำ แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บัญญัติว่าพยานหลักฐานนั้นหมายถึงพยานหลักฐานในเรื่องใดบ้าง แต่ก็เป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าต้องเป็นพยานหลักฐานซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226 นั้นเอง เพียงแต่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบให้ได้ความชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพราะเป็นการนำสืบเพื่อประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้เห็นเป็นเค้ามูลว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามที่ให้การรับสารภาพ ก็เป็นการเพียงพอแล้วที่จะลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพนั้น แต่พยานหลักฐานเหล่านั้นต้องมิใช่พยานหลักฐานอันเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพนั้นเองและต้องไม่ใช่ถ้อยคำของเจ้าพนักงานผู้ได้มาซึ่งคำรับนั้น มิฉะนั้นย่อมเท่ากับเป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยโดยอาศัยแต่คำรับสารภาพของจำเลยโดยลำพังซึ่งไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย
โจทก์มีแต่คำเบิกความของพนักงานสอบสวนเป็นพยานประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยเคยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยเดินทางไปซื้อเมทแอมเฟตามีนและฝิ่นดิบของกลางจากประเทศ พ. แล้วนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การรับสารภาพของจำเลยโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุน พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยยังไม่เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนและฝิ่นดิบของกลางจากประเทศ พ. เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7920/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล
แม้การสับเปลี่ยนผู้ต้องหาในคดีนี้จะกระทำในชั้นสอบสวนก่อนมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นเหตุขัดขวางมิให้การดำเนินคดีในศาลเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและถูกต้อง เพราะทำให้มีการดำเนินคดีอาญาในศาลต่อบุคคลผู้บริสุทธิ์โดยผู้กระทำความผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษ การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองคบคิดกันจัดให้มีการเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน โดยมีเจตนาให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ซึ่งไม่ได้กระทำความผิดอาญาถูกดำเนินคดีในศาลแทนนาย อ. และเพื่อให้นาย อ. รอดพ้นจากการถูกลงโทษในความผิดที่ได้กระทำ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองย่อมก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในศาล อันเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว เมื่อความปรากฏแก่ศาลตามคำแถลงของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองกระทำความผิดดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องทำการไต่สวนข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: ขายฝากที่ดินเป็นเพียงกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน ศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าการขายฝากที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นโมฆะ เมื่อฟังว่าการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสียมิใช่บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท คืนให้โจทก์
of 55