พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการฝากขังและการคุมขังในระหว่างพิจารณาคดี ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งปล่อยตัวได้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอฝากขังของพนักงานสอบสวนต่อศาลชั้นต้นได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว การคุมขังผู้ร้อง ในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาล และการคุมขังในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกับการคุมขังในระหว่างการขอฝากขังของพนักงานสอบสวน เมื่อการคุมขังในขั้นตอนของการฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนได้สิ้นสุดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถจะสั่ง ตามคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ร้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 90 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการฝากขังและการคุมขังอำนาจศาล: ศาลฎีกาจำหน่ายคดีเมื่อการขอฝากขังสิ้นสุดและเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอปล่อยตัวจากการคุมขังของพนักงานสอบสวน ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์การขอฝากขังของพนักงานสอบสวนได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้อง การคุมขังผู้ร้องในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาลและเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกับการคุมขังในระหว่างการขอฝากขังของพนักงานสอบสวนเมื่อการคุมขังในขั้นตอนของการขอฝากขังได้สิ้นสุดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถจะสั่งตามคำร้องของผู้ร้องให้ได้ศาลฎีกาจึงสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ (คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6919/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความที่มีลักษณะซื้อขายความเป็นโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงให้เงินรายละ 400,000 บาทและจำเลยที่ 4 ตกลงให้เงินจำนวน 300,000 บาท แก่โจทก์เป็นค่าทนายความนั้นหมายถึงกรณีที่ฝ่ายจำเลยชนะคดีมรดกแล้วไม่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นที่ดิน แต่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นเงินที่ได้มาจากการขายที่ดินพิพาทนั่นเอง ซึ่งจำเลยทั้งสี่จะต้องแบ่งให้โจทก์ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ในบันทึกข้อตกลง บันทึกข้อตกลงจึงถือได้ว่าเป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความเมื่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกความชนะคดีเท่านั้นหากจำเลยทั้งสี่ตกเป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์ย่อมไม่ได้รับส่วนแบ่งตามข้อตกลง อันมีลักษณะเข้าทำนองซื้อขายความกัน
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหลายประการผู้ที่ได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการจรรโลงความยุติธรรมในสังคม ทนายความจึงไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตนในลักษณะที่ตนเองเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในผลคดีโดยตรงในทำนองซื้อขายความกันย่อมไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติทนายความฯ จะมิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ก็มีผลเพียงว่าการทำสัญญาระหว่างทนายความกับลูกความทำนองนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลให้ลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกลับมีความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะผูกขาดที่ผู้ที่เป็นทนายความได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหลายประการผู้ที่ได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในฐานะที่ทนายความมีส่วนสำคัญในการจรรโลงความยุติธรรมในสังคม ทนายความจึงไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตนในลักษณะที่ตนเองเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในผลคดีโดยตรงในทำนองซื้อขายความกันย่อมไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
แม้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติทนายความฯ จะมิได้กำหนดให้การเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความของทนายความเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ก็มีผลเพียงว่าการทำสัญญาระหว่างทนายความกับลูกความทำนองนี้ไม่เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นมูลให้ลงโทษตามมาตรา 52 เท่านั้น หามีผลทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนกลับมีความสมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีสัญญาเช่าซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสองโจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อไปจากผู้เสียหาย ดังนี้ เมื่อสำเนาใบขอเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยทำขึ้นเสนอต่อผู้เสียหายเป็นเพียงคำเสนอขอเช่าซื้อรถยนต์เท่านั้นมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าซื้อ ส่วนหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เป็นสัญญาเช่าซื้อระหว่างบริษัท ธ. กับจำเลยซึ่งแม้เป็นรถยนต์คันเดียวกับรถยนต์ตามสำเนาใบขอเช่าซื้อรถยนต์ก็ตาม แต่ผู้เสียหายก็มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลย ข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับบริษัท ธ. จะมีอยู่อย่างไรก็ไม่ทำให้ผู้เสียหายกลายเป็นคู่สัญญากับจำเลยไปได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยมาแสดง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่บังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีสัญญาบังคับใช้ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อไปจาก ผู้เสียหาย แต่สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่มีสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยมาแสดง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่บังคับได้ตามกฎหมาย แม้รถยนต์ที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์ยี่ห้อ สี หมายเลขเครื่องและหมายเลขตัวถังอย่างเดียวกันกับรถยนต์ที่จำเลยขอเช่าซื้อจากผู้เสียหายก็ตาม แต่ผู้เสียหาย ก็มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลย ข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อ จะมีอยู่อย่างไร ก็ไม่ทำให้ ผู้เสียหายกลายเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลยไปได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญา: ลดโทษรายกระทงก่อนแล้วค่อยรวมโทษ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มโทษโดยไม่สมเหตุผล
ฎีกาของจำเลยที่ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีเพียง 2 เม็ด จำเลยมิได้นำมาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นฎีกาที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ระยะเวลาเริ่มต้นนับจากวันที่ศาลอ่านคำพิพากษา ไม่ใช่เมื่อเอกสารครบถ้วน
ที่โจทก์ฎีกาว่าสิทธิพื้นฐานในการอุทธรณ์ควรมี 30 วัน เมื่อมีเอกสารครบถ้วนนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 กำหนดให้คู่ความยื่นอุทธรณ์ได้ภายในเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง กำหนดเวลาดังกล่าวย่อมหมายความว่าคู่ความที่ประสงค์จะอุทธรณ์ต้องดำเนินการต่าง ๆให้แล้วเสร็จตามกำหนด มิใช่เมื่อมีเอกสารครบถ้วนแล้วจึงเริ่มนับระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่โจทก์อ้างซึ่งไม่มีบทกฎหมายบทใดสนับสนุนหากโจทก์ได้รับสำเนาเอกสารในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ตามนัด โจทก์ก็จะมีเวลาสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 12 วัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่โจทก์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และน่าจะเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับคดีที่ไม่ได้มีปัญหามากนักดังคดีนี้ การที่โจทก์อ้างว่าได้รับสำเนาเอกสารครบถ้วนในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ช้ากว่ากำหนดนัดไปเพียง 1 วัน จึงไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะเป็นเหตุสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ตามที่โจทก์ขออีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาเดิมที่ไม่ใช่ปัจจุบัน แม้เป็นการส่งโดยชอบ แต่หากจำเลยไม่ได้รับรู้เรื่องฟ้องคดี ศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้
จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายไว้ ณ บ้านที่จำเลยมีที่อยู่ทางทะเบียน จะเป็นการส่งโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาว่าการส่งหมายเป็นไปโดยชอบหรือไม่กับปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่เป็นคนละเรื่องกันเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ และจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องคดีนี้จึงไม่อาจถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาเดิมที่ไม่ใช่ปัจจุบัน แม้ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัด
จำเลยเคยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 213 จังหวัดชลบุรี ตามฟ้องและจำเลยมีที่อยู่ทางทะเบียน ณ บ้านดังกล่าวตลอดมา การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์ ส่งได้โดยวิธีปิดหมายไว้ ณ บ้านดังกล่าว แต่จำเลยไม่ได้อยู่อาศัยที่บ้านหลังนี้มากกว่า 10 ปีแล้ว โดยไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 518/136 กับ บ้านเลขที่ 81/6 และไป ๆ มา ๆ ระหว่างบ้าน 2 หลังนี้โดยไม่ได้กลับไปที่บ้านเลขที่ 213 อีกเลย แต่ยังมิได้ย้ายทะเบียนออกจากบ้านหลังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ดังนี้ แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายไว้ ณ บ้านเลขที่ 213 ดังกล่าว จะเป็นการส่งโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาว่าการส่งหมายเป็นไปโดยชอบหรือไม่กับปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ และจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องนี้ จึงไม่อาจถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6527/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งเรื่องทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ทำให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ถึงที่สุด แม้มีการอ้างเหตุผิดระเบียบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าทุนทรัพย์พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาท แต่จำเลยก็มิได้กระทำ จึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 ดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในเรื่องที่ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์โดยจำเลยไม่มีโอกาสคัดค้านอย่างไร ก็ไม่อาจมีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งถึงที่สุดแล้วได้ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัย ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา