คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กำพล ภู่สุดแสวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเพื่อลงทุน ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด
โจทก์ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมาลงทุนสร้างทาวน์เฮาส์ในที่ดินของโจทก์ออกขายว่า โจทก์จะชำระดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ภาระในการชำระดอกเบี้ยจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ปิดกั้นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะ เป็นเหตุให้ลูกค้าของโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายทาวน์เฮาส์และเรียกเงินคืน ทำให้โจทก์ไม่ได้รับเงินจากลูกค้าไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9174/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย: การลงโทษกรรมเดียวและความถูกต้องของการคำนวณโทษ
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยจำหน่ายให้ ศ. และ ร. ในแต่ละครั้งเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายหมดไปในแต่ละคราว การกระทำของจำเลยในแต่ละครั้งซึ่งเป็นทั้งความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นกรรมเดียวกันต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด แต่ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมีระวางโทษเท่ากัน จำเลยจึงควรรับโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อย่างไรก็ดี ที่ศาลชั้นต้นรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่าลดโทษแต่ละกระทงเสียก่อนแล้วจึงรวมเข้าด้วยกัน แม้มีเศษเป็นเดือนก็คงให้เป็นเดือนต่อไปโดยไม่ปรับเป็นปีเพราะ ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่า หากกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน แล้วถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ เมื่อเป็นเช่นนี้การกำหนดโทษจำคุก 12 เดือน ย่อมมีกำหนดเท่ากับ 360 วัน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนวันตามปีปฏิทินที่อาจมีถึง 366 วัน หรือ 365 วัน สุดแท้แต่ว่าจะเป็นปีอธิกสุรทินหรือปีจันทรคติ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และผู้ให้เช่าไม่ยินยอม
การที่จำเลย (ผู้เช่า) บอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ (ผู้ให้เช่า) ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 387 ถึงมาตรา 389 กล่าวคือ โจทก์ต้องเป็นฝ่ายผิดนัดไม่สามารถส่งมอบพื้นที่เช่าให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ หรือการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนนั้นเป็นอันพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจึงจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบพื้นที่เช่าให้จำเลยเข้าอยู่อาศัย ตรงกันข้ามกลับได้ความว่า หลังจากที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์แล้ว โจทก์ได้มีหนังสือไปถึงจำเลย แจ้งให้จำเลยใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าต่อไปและชำระค่าเช่าแก่โจทก์ด้วย อันเป็นการทักท้วงจำเลยแล้วว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าของจำเลยเป็นไปโดยมิชอบ ทั้งยังยืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเช่าและชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ด้วย แต่จำเลยยังเพิกเฉยไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระโดยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ทั้งหนังสือโต้แย้งของโจทก์ก็ยืนยันว่าไม่ยินยอมให้จำเลยเลิกสัญญา การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าและเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระ
จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นล่างของอาคารจากโจทก์มีกำหนด 3 ปี โดยสัญญาเช่ามิได้มีข้อความระบุว่า จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อไรก็ได้ การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่าจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ถึง 389
จำเลยเพิกเฉยไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่าแก่โจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระก่อนสัญญาเช่าครบกำหนดโดยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ทั้งการที่โจทก์ฟัองจำเลยก็ไม่เป็นการบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าที่ค้างชำระ แม้จำเลยได้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เช่าไปก่อนครบกำหนดเวลาการเช่าก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างเนื่องจากผิดแบบ และผลของการยอมสละค่าแห่งการงานเป็นเบี้ยปรับ
ในปัญหาที่ว่าโจทก์ก่อสร้างบ้านพักที่พิพาทผิดไปจากแบบแปลนตามสัญญาจ้างหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ก่อสร้างงานงวดที่สามผิดไปจากแบบแปลนตามสัญญาจ้าง โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ทั้งเมื่อจำเลยอุทธรณ์ โจทก์ก็ยื่นคำแก้อุทธรณ์ยอมรับว่ามีการก่อสร้างงวดที่สามผิดไปจากแบบแปลนจริง แต่เป็นการผิดไปเพียงเล็กน้อย ดังนั้น ปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องวินิจฉัย การที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อนี้เป็นการยกเอาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ขึ้นคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. ตาม 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ในการก่อสร้างบ้านพักที่พิพาทโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจ้างไว้มีข้อความว่าหากโจทก์ก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนตามสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่ชำระค่าจ้างส่วนที่ค้างแก่โจทก์ได้ ข้อสัญญาดังกล่าวมีผลเป็นการที่โจทก์ยอมสละค่าแห่งการงานที่โจทก์เสียไปในการก่อสร้างบ้านพักงวดที่สามให้แก่จำเลยเพื่อเป็นค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยมีสิทธิได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน จึงไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยคืนเบี้ยปรับบางส่วนแก่โจทก์ โจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ได้
การพิจารณาว่าเมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว จำเลยยังต้องรับผิดชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์หรือไม่ ต้องอาศัยข้อความในสัญญาจ้างเป็นสำคัญ เมื่อสัญญาจ้างมีข้อความระบุว่า หากโจทก์ก่อสร้างผิดไปจากรูปแบบตามสัญญาจ้าง โจทก์ยอมให้จำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างอยู่ให้แก่โจทก์ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำสัญญาดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในงานก่อสร้างงวดที่สามจากจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การบอกเลิกสัญญาจากความผิดของผู้รับจ้างและการสละค่าแห่งการงานเป็นเบี้ยปรับ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างก่อสร้างบ้านพักไว้มีข้อความว่าหากโจทก์ก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนตามสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่ชำระค่าจ้างส่วนที่ค้างแก่โจทก์ได้ มีผลเป็นการที่โจทก์ยอมสละค่าแห่งการงานที่โจทก์เสียไปในการก่อสร้างบ้านพักงวดที่สามให้แก่จำเลยเพื่อเป็นค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยมีสิทธิได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381
การพิจารณาว่าเมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว จำเลยยังต้องรับผิดชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์หรือไม่ ต้องอาศัยข้อความในสัญญาจ้างเป็นสำคัญ เมื่อสัญญาจ้างระบุว่าหากโจทก์ก่อสร้างผิดไปจากรูปแบบตามสัญญาจ้าง โจทก์ยอมให้จำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างอยู่ให้แก่โจทก์ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำข้อสัญญาดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในงานก่อสร้างงวดที่สามจากจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงซึ่งอยู่ในความดูแลตามหน้าที่ราชการ พยานหลักฐานน้ำหนักเพียงพอ
การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควร เมื่อโจทก์เห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนนี้มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลย การที่โจทก์ไม่สั่งให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำเด็กหญิง ส. และเด็กหญิง น. ไว้เป็นพยานและนำมาเบิกความต่อศาลจึงไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด
การที่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่ จำเลยย่อมมีหน้าที่ปกครองดูแลผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์ของจำเลย เมื่อจำเลยพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80, 277 วรรคสอง (เดิม), 284 วรรคแรก, 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจก้าวล่วงการพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ในการพิจารณาคดีล้มละลาย แต่คำขอท้ายฟ้องมีใจความว่า ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งเพิ่มเติม รายงานกระบวนพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง และมีคำสั่งให้ศาลล้มละลายกลางนัดคู่ความมาพร้อมกันแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างเที่ยงธรรม หากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นแทนคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง เป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลชั้นต้นก้าวล่วงเข้าไปแก้ไขกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลางซึ่งเป็นศาลที่อยู่ในลำดับชั้นเดียวกันได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะไม่รับคดีโจทก์ไว้พิจารณาโดยยกฟ้องโจทก์เสีย เพราะเป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แทนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองเงินฝากเป็นคำมั่นสัญญาผูกพันธนาคาร จำเลยต้องรับผิดชอบเมื่อมีการถอนเงินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับรอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ให้คำรับรองแก่โจทก์ว่า ส. มีบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์พิเศษอยู่กับจำเลยที่ 2 จำนวน 3,000,000 บาท จำเลยที่ 2 จะไม่ยอมให้ผู้ใดถอนเงินดังกล่าวออกจากบัญชีเว้นเสียแต่จะได้รับความยินยอมจากโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เชื่อคำรับรองนั้นและยอมให้ ส. นำรถยนต์ของโจทก์ไปขาย ต่อมาโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของ ส. เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ปรากฏว่าบัญชีดังกล่าวปิดแล้ว เนื่องจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ยอมให้ ส. ถอนเงินออกจากบัญชีอันเป็นการผิดสัญญาและเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า การที่จำเลยทั้งสองให้ ส. ถอนเงินจากบัญชีเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองไปยังโจทก์ก็เป็นการปฏิบัติงานตามปกติของจำเลยที่ 2 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือกระทำละเมิดต่อโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือต้องร่วมรับผิดในมูลละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองยอดเงินฝากของ ส. ไปถึงโจทก์ เป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองไปถึงโจทก์ยืนยันว่า ส. มีเงินฝากในบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์พิเศษอยู่กับจำเลยที่ 2 ซึ่งมียอดเงินฝากในขณะนั้น 3,000,000 บาท และจำเลยที่ 2 จะไม่ยอมให้ผู้ใดถอนเงินจำนวนดังกล่าวออกจากบัญชีเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากโจทก์ คำรับรองนี้มีลักษณะเป็นคำมั่นซึ่งมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำมั่นดังกล่าว โดยหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงยอมให้ ส. รับรถยนต์จากโจทก์ไปจำหน่ายได้ อันพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำมั่นของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้เสนอ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก จำเลยที่ 2 ต้องถูกผูกพันตามคำมั่นที่จะไม่ยอมให้ผู้ใดถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ยอมให้ ส. เปลี่ยนบัญชีเงินฝากจากบัญชีออมทรัพย์พิเศษเป็นบัญชีออมทรัพย์ธรรมดาและยอมให้ถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ตามคำมั่นอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้ถอนเงินจากบัญชีของ ส. โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากเงินในบัญชีที่ ส. ฝากไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมทหารโมฆะ: ขาดพยานถูกต้อง & ไม่เป็นพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
พลตรี น. ไม่ได้ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมทหารฉบับพิพาท คงมีพันเอก พ. ลงชื่อเป็นพยานเพียงคนเดียวเท่านั้น พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทจึงทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามแบบที่ ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 จำเลยที่ 3 ไม่อาจอาศัยพินัยกรรมทหารฉบับพิพาทมาอ้างอิงแสวงสิทธิใดๆ ได้
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับเป็นพินัยกรรมซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความในส่วนสาระสำคัญด้วยลายมือตนเองทั้งหมด มีใจความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในเรื่องอื่นที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตนตายก็ได้ ทั้งนี้ ข้อความที่เขียนด้วยลายมือตนเองต้องมีข้อความที่อ่านแล้วพอเข้าใจได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะให้ทรัพย์มรดกตกได้แก่ใคร แต่พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทเป็นแบบพิมพ์พินัยกรรมของทางราชการทหาร ซึ่งพิมพ์ข้อความกำหนดการเผื่อตายของผู้ทำพินัยกรรมไว้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คงเว้นช่องว่างไว้ให้ผู้ทำพินัยกรรมกรอกแต่เฉพาะสถานที่และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมกับชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมและลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น หากตัดข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ออกเสียให้เหลือแต่เฉพาะข้อความที่พลเอก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยลายมือตนเองก็ไม่มีความหมายเป็นพินัยกรรม พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทจึงไม่เป็นพินัยกรรมแบบผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่จำเลยที่ 3 ยกขึ้นอ้างเป็นเรื่องอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกที่ตนมีสิทธิได้รับในฐานะทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมทหารฉบับพิพาทตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 3 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเรื่องอายุความดังกล่าว
of 55