พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9247/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ใช้ก่อน
จำเลยเคยเห็นสินค้ารองเท้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" ของโจทก์มาก่อนจึงได้เลียนแบบมาเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" ของจำเลยแล้วนำไปยื่นขอจดทะเบียน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" โดยไม่สุจริต จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริตนั้นมาฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์มิให้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" กับสินค้ารองเท้าของโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" และใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารองเท้ามาก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" ดีกว่าจำเลยผู้ได้รับการจดทะเบียนและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์ไม่เคยโฆษณาเผยแพร่และส่งสินค้ารองเท้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนและได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" ประกอบกับโจทก์ยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" กับสินค้ารองเท้าในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" กับสินค้ารองเท้าแตะที่จำเลยได้จดทะเบียนให้ชดใช้ค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" ของโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
เมื่อโจทก์ไม่เคยโฆษณาเผยแพร่และส่งสินค้ารองเท้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนและได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" ประกอบกับโจทก์ยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" กับสินค้ารองเท้าในประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "AIR WALK" กับสินค้ารองเท้าแตะที่จำเลยได้จดทะเบียนให้ชดใช้ค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AIRWALK" ของโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9041/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันจนสับสน ห้ามรับจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอนั้น ต่างมีตัวอักษรโรมันคำว่า "VALENTINO" จัดวางไว้อย่างเด่นชัดเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าโจทก์ได้นำคำว่า "VALENTINO" และคำว่า "COUTURE" มาใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้กับสินค้านำออกจำหน่ายเป็นที่แพร่หลายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งได้มีการจดทะเบียนไว้ด้วยแล้วก่อนที่ผู้ขอจดทะเบียนได้นำคำว่า "VALENTINO" และคำว่า "COUPEAU" มาจัดวางในเครื่องหมายการค้าของตน ดังนี้ แม้ผู้ขอจดทะเบียนจะมีสิทธิใช้คำว่า "VALENTINO" มาเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าของตนก็ตาม แต่ก็ต้องกระทำโดยสุจริตป้องกันความสับสนต่อผู้บริโภคโดยออกแบบเครื่องหมายการค้าให้มีลักษณะแตกต่างกันซึ่งมีโอกาสทำได้ แต่กลับปรากฏว่าผู้ขอจดทะเบียนได้ออกแบบลักษณะเครื่องหมายการค้าที่นอกจากจะใช้คำที่เหมือนของโจทก์แล้วยังออกแบบวางรูปและคำในรูปแบบเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งยังมีสำเนียงที่เรียกขานใกล้เคียงกัน โดยนำไปใช้กับสินค้าต่าง ๆ อย่างเดียวกัน จึงมีโอกาสทำให้ผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าหลงผิดว่าสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นสินค้าของโจทก์ได้ง่าย ส่อแสดงว่าผู้ขอจดทะเบียนมีเจตนาที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อประโยชน์ในการขายสินค้าของตนโดยอาศัยชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับสินค้าอย่างเดียวกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ย่อมไม่เป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้และต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (3) และมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (2)
เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนยังมิได้มีคำสั่งให้รับจดทะเบียน จึงไม่จำต้องพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนแต่อย่างใด เพราะเครื่องหมายการค้าที่ศาลพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าที่ไม่พึงรับจดทะเบียนได้ ก็เป็นการต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้อยู่แล้ว
เครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนยังมิได้มีคำสั่งให้รับจดทะเบียน จึงไม่จำต้องพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนแต่อย่างใด เพราะเครื่องหมายการค้าที่ศาลพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าที่ไม่พึงรับจดทะเบียนได้ ก็เป็นการต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8716/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง: ศาลตัดสินว่าไม่ใช่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน แต่เป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมด
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท และทำบันทึกต่อท้ายสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงว่า หากจำเลยได้ขายหรือให้ใช้ลิขสิทธิ์ในงานเพลงดังกล่าว จำเลยจะแบ่งผลประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินที่ได้รับจากการขายหรือให้ใช้ลิขสิทธิ์ เป็นกรณีที่เห็นได้ว่าค่าตอบแทนจำนวน 200,000 บาท ที่ระบุในสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงนั้น น้อยเกินไป แต่ขณะเดียวกันจำเลยผู้ซื้อลิขสิทธิ์ในงานเพลงนั้นก็ไม่ต้องการจ่ายค่าตอบแทนสูงกว่านี้ในขณะทำสัญญา จึงเลือกให้ผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขายลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมเพลงดังกล่าวในอนาคต ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ที่ 1 กับจำเลยตกลงทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นอันมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยเจตนาลวงของโจทก์ที่ 1 กับจำเลยซึ่งมีเจตนาจะอำพรางสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนตามที่โจทก์ที่ 1 อ้าง แต่เป็นสัญญาโอนลิขสิทธิ์ในงานเพลงดังกล่าว โจทก์ทั้งห้าจึงมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์อีกต่อไป แต่คงมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8563/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายต่างประเทศ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ และอายุความของหนี้
ตามคำร้องของจำเลยขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้อำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่รับโอนคดีนี้จากศาลแพ่ง โดยกล่าวอ้างว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบในการรับโอนคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษา มิใช่กรณีคู่ความเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 3 กำหนดไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาใช้บังคับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 โดยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงกรณีที่มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบว่า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อศาลเห็นสมควร หมายถึง กรณีที่ศาลเห็นถึงกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเองก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้โดยไม่ต้องมีคำร้องจากคู่ความแต่อย่างใด กรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นกรณีที่เกิดจากความประสงค์ของคู่ความนั้นที่ต้องการขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณา โดยกรณีนี้คู่ความผู้ยื่นคำร้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 27 วรรคสอง กล่าวคือต้องยื่นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่คู่ความนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามคำร้องของจำเลยขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ได้รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณา โดยจำเลยอ้างว่าเป็นการโอนและรับโอนคดีที่ไม่ชอบ เป็นกรณีที่จำเลยประสงค์จะให้มีการเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นเอง จึงยื่นคำร้องฉบับนี้ต่อศาล อันเป็นกรณีที่คู่ความร้องขอตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ที่อยู่ในบังคับต้องยื่นคำร้องภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 วรรคสอง แล้ว และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันนัดพร้อม ซึ่งทนายจำเลยเข้าร่วมดำเนินกระบวนพิจารณาด้วยว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้รับโอนคดีนี้จากศาลแพ่งและดำเนินการนัดสืบพยานจำเลยต่อไป ทนายจำเลยแถลงขอสืบพยานบุคคลที่เหลืออีก 3 ปาก แสดงว่า จำเลยได้ทราบว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ไว้ในวันนัดพร้อมแล้ว จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในวันนั้น ทั้งยังกลับขอดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปอีกด้วย ต่อมาจำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่รับโอนคดีไว้ อันเป็นการยื่นคำร้องเกินกว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบถึงกระบวนพิจารณาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ไว้แล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
สัญญารับขนของทางทะเลระหว่างบริษัท จ. ผู้ส่งสินค้ากับจำเลยในคดีนี้ เป็นการขนส่งสินค้าโดยมีการออกใบตราส่ง จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งมีชื่อโจทก์ระบุในใบตราส่ง แม้ในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง ผู้ส่งสินค้าอาจสั่งให้ผู้ขนส่งจัดการแก่สินค้าเป็นประการอื่น นอกจากการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งได้ แต่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้ไว้แก่ผู้ขนส่ง หากผู้ขนส่งจัดการไปตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแล้ว ผู้ขนส่งก็ยังต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งซึ่งมีใบตราส่งฉบับที่ไม่ได้เวนคืนตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่ตามหนังสือแจ้งของผู้ส่งสินค้ามีใจความเพียงว่า ผู้ส่งสินค้าตกลงให้จำเลยผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง (Consignee) โดยไม่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งเท่านั้น ซึ่งผู้รับตราส่งก็หมายถึงโจทก์ ไม่ใช่บริษัท ย. และไม่ปรากฏว่าได้มีการเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้แก่จำเลยผู้ขนส่ง การที่จำเลยส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. โดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่ง จึงไม่ใช่การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าและไม่ใช่กรณีที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 36 แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ขนส่งปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับตราส่งในความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำของจำเลย
มาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2539 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในจำนวนเงินจำกัดตามข้อจำกัดไว้เฉพาะกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดเนื่องจากการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า โดยเหตุแห่งความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ข้อเท็จจริงคดีนี้ความว่า จำเลยผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. ซึ่งไม่ใช่ผู้รับตราส่งไปโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับตราส่งในใบตราส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขนส่งที่ต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ใช่กรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหายหรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับตราส่งเต็มตามจำนวนความเสียหาย โดยไม่ได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 58
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้ขายสินค้าในประเทศมาเลเซียได้ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าไม้จากประเทศมาเลเซียโดยทางเรือมายังประเทศไทย โดยจำเลยได้ระบุในใบตราส่งว่า โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง แต่เมื่อสินค้ามาถึงปลายทางในประเทศไทยแล้วจำเลยได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท ย. ไปโดยมิได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งและมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ผู้รับตราส่งโดยมีการเวนคืนใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญา โดยส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้รับตราส่ง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะระบุในคำฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยโดยละเอียด อันมีลักษณะทั้งเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาและละเมิดด้วย ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจะนำบทกฎหมายเรื่องใดมาบังคับใช้กับข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความ ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งผู้มีสิทธิในสินค้าที่ขนส่งในความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นความรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า อันจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ซึ่งจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวและความรับผิดของจำเลยที่ปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเลในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
สัญญารับขนของทางทะเลระหว่างบริษัท จ. ผู้ส่งสินค้ากับจำเลยในคดีนี้ เป็นการขนส่งสินค้าโดยมีการออกใบตราส่ง จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งมีชื่อโจทก์ระบุในใบตราส่ง แม้ในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง ผู้ส่งสินค้าอาจสั่งให้ผู้ขนส่งจัดการแก่สินค้าเป็นประการอื่น นอกจากการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งได้ แต่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้ไว้แก่ผู้ขนส่ง หากผู้ขนส่งจัดการไปตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแล้ว ผู้ขนส่งก็ยังต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งซึ่งมีใบตราส่งฉบับที่ไม่ได้เวนคืนตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่ตามหนังสือแจ้งของผู้ส่งสินค้ามีใจความเพียงว่า ผู้ส่งสินค้าตกลงให้จำเลยผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง (Consignee) โดยไม่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งเท่านั้น ซึ่งผู้รับตราส่งก็หมายถึงโจทก์ ไม่ใช่บริษัท ย. และไม่ปรากฏว่าได้มีการเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้แก่จำเลยผู้ขนส่ง การที่จำเลยส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. โดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่ง จึงไม่ใช่การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าและไม่ใช่กรณีที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 36 แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ขนส่งปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับตราส่งในความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำของจำเลย
มาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2539 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในจำนวนเงินจำกัดตามข้อจำกัดไว้เฉพาะกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดเนื่องจากการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า โดยเหตุแห่งความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ข้อเท็จจริงคดีนี้ความว่า จำเลยผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. ซึ่งไม่ใช่ผู้รับตราส่งไปโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับตราส่งในใบตราส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขนส่งที่ต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ใช่กรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหายหรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับตราส่งเต็มตามจำนวนความเสียหาย โดยไม่ได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 58
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้ขายสินค้าในประเทศมาเลเซียได้ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าไม้จากประเทศมาเลเซียโดยทางเรือมายังประเทศไทย โดยจำเลยได้ระบุในใบตราส่งว่า โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง แต่เมื่อสินค้ามาถึงปลายทางในประเทศไทยแล้วจำเลยได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท ย. ไปโดยมิได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งและมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ผู้รับตราส่งโดยมีการเวนคืนใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญา โดยส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้รับตราส่ง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะระบุในคำฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยโดยละเอียด อันมีลักษณะทั้งเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาและละเมิดด้วย ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจะนำบทกฎหมายเรื่องใดมาบังคับใช้กับข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความ ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งผู้มีสิทธิในสินค้าที่ขนส่งในความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นความรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า อันจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ซึ่งจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวและความรับผิดของจำเลยที่ปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเลในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8351/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ของกลางตกเป็นของผู้เสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์: เสื้อยืดที่ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์
เสื้อยืดของกลางเป็นทรัพย์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งจำเลยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป โดยรู้อยู่แล้วว่าทรัพย์นั้นเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ต้องพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า เสื้อยืดของกลางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดและพิพากษาให้ริบของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งของต่อความเสียหายจากการแจ้งน้ำหนักสินค้าไม่ถูกต้อง และการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่ง
ความเสียหายที่ผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นกรณีที่ผู้ส่งของเป็นผู้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความในใบตราส่งเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว มาตรา 32 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่ง เนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความที่ไม่ถูกต้องนั้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งสินค้าและผู้ขนส่ง กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่ง: การประเมินความรับผิดและค่าเสียหาย
ความรับผิดของผู้ส่งของในความเสียหายอันเนื่องมาจากการแจ้งหรือจัดให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความในใบตราส่งโดยไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของเครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเลฯ นั้น เพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกให้ตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว บทบัญญัติ มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญาขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่งนั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลที่มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดต่อผู้ขนส่งสำหรับความเสียหายดังกล่าว เป็นเพราะความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ทรงใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลเนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของเครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของจำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นที่ไม่ถูกต้องไว้ในใบตราส่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับใบตราส่งตามมาตรา 32 วรรคสองนี้จึงมิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขนส่งหรือเรือผู้ขนส่งโดยตรง ดังนี้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าไม้เนื้อแข็งแปรรูปน้อยกว่าน้ำหนักสินค้าของสินค้าตามความเป็นจริง และมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ผู้ขนส่งและสินค้าของผู้อื่นในเรือซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้แต่ต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่ง ในกรณีที่ความเสียหายเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายในระหว่างเปลี่ยนเครื่องบินที่สนามบินไทย ถือเป็นความผิดในราชอาณาจักร
จำเลยมี 3,4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยเมื่อจำเลยลงจากเครื่องบินของสายการบินที่จำเลยโดยสารมาจากเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเปลี่ยนเครื่องบินไปยังเมืองไทเป ดินแดนไต้หวัน ขณะจำเลยเดินผ่านห้องผู้โดยสารขาออกของท่าอากาศยานกรุงเทพ จำเลยจึงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยแล้ว เมื่อจำเลยมียาเสพติดให้โทษดังกล่าวไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งตามกฎหมายไทยบัญญัติว่าเป็นความผิด จำเลยจึงเป็นผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8333/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ทรัพย์สินที่ละเมิดลิขสิทธิ์ตกเป็นของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 ตอนแรกที่บัญญัติว่า "บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. นี้ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 69 หรือมาตรา 70 ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง..."นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการทางอาญาที่ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ให้ตกแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อให้เป็นที่มั่นใจแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ว่าทรัพย์ดังกล่าวจะไม่หมุนเวียนกลับเข้าสู่ตลาดโดยมิชอบอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้อีกต่อไป ดังนั้น หากทรัพย์ของกลางเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลย่อมต้องพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนทรัพย์สิ่งใดจะเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์อย่างใดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์นั้นเป็นแต่ละกรณีไป คดีนี้ปรากฎข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามคำฟ้องโดยจำเลยให้การรับสารภาพแล้วว่า กางเกงชั้นในเด็กของกลางเป็นทรัพย์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งจำเลยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปโดยรู้อยู่แล้วว่าทรัพย์นั้นเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงย่อมฟังได้ว่ากางเกงชั้นในเด็กของกลางทั้ง 22 ตัว เป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ จึงต้องพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7934/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาต้องมีวันพ้นโทษจริง และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 92 จะต้องเป็นผู้ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งวันพ้นโทษ คือวันพ้นโทษจำคุกในคดีก่อน ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้จำเลยจะกระทำความผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษ ก็เพิ่มโทษมิได้
แผ่นซีดีรอมประเภทเอ็มพี 3 ซึ่งมีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางดังกล่าวหาใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานขาย เสนอขายงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง ไม่ แต่ของกลางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ศาลต้องสั่งให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 75
แผ่นซีดีรอมประเภทเอ็มพี 3 ซึ่งมีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางดังกล่าวหาใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานขาย เสนอขายงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง ไม่ แต่ของกลางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ศาลต้องสั่งให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 75