พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดหลายกรรม และการลงโทษตามบทกฎหมายที่โจทก์ประสงค์ แม้ไม่ได้อ้างมาตราลงโทษโดยตรง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ในตอนต้นแล้วว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดหลายกรรม แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตราอันเป็นบทลงโทษไว้ด้วยก็เห็นเจตนาได้ว่าข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพแล้วนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสาม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและลงโทษจำเลยไม่เกิน 5 ปีจำเลยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและไม่ต่อใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรม การลดโทษต้องมีเหตุเฉพาะตัว
จำเลยปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ เป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้วกรรมหนึ่ง เมื่อใบอนุญาตหมดอายุแล้วจำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้างแต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกย่อมเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ 71 อีกกรรมหนึ่ง เหตุบรรเทาโทษเป็นเหตุเฉพาะตัว ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยที่ไม่มีเหตุบรรเทาโทษย่อมไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดสองกรรม
ในระหว่างเวลาซึ่งอยู่ในอายุใบอนุญาตก่อสร้าง จำเลยที่ 1กับพวกได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมและพักอาศัยผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้แก้ไขรื้อถอนและสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้นการที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดสำเร็จไปแล้วกรรมหนึ่งและเมื่อครบกำหนดในใบอนุญาตให้ก่อสร้างแล้ว จำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้าง แต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกอันเป็นการก่อสร้างในขณะที่ใบอนุญาตให้ก่อสร้างหมดอายุจึงเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ 71อีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดกรรมเดียวและกรรมต่างกัน
การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในขณะที่ใบอนุญาตให้ก่อสร้างยังไม่หมดอายุนั้น เป็นการกระทำความผิดสำเร็จไปแล้วกรรมหนึ่ง และเมื่อครบกำหนดในใบอนุญาตให้ก่อสร้างจำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้าง แต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีก อันเป็นการก่อสร้างในขณะที่ใบอนุญาตให้ก่อสร้างหมดอายุ จึงเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ71 อีกกรรมหนึ่ง จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ให้การปฏิเสธทั้งในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ ซึ่งเป็นเหตุเฉพาะตัว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษให้จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอในฟ้องฎีกาของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร การรื้อถอน และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้ออาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงรับฟังไม่ได้ว่ามีกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด ปัญหาว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารขอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของประชาชนและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การกระทำความผิดตามกฎหมาย ซึ่งผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อจำเลยต้องโทษถึงจำคุก แม้จะมีโทษปรับด้วย ศาลก็มีอำนาจพิจารณาลงโทษจำคุกจำเลยแต่เพียงสถานเดียวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคาร การลงโทษและความผิดหลายกระทง
การก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนตามที่ได้รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 อยู่ในตัว เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่จำเลยได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และมีโทษตามมาตรา 65 กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งมาตรา 43 วรรคสาม บัญญัติถึงมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสองวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม การฝ่าฝืนคำสั่งตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่ จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 69 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 65 วรรคสอง ไม่ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดกรรมหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยฝ่าฝืนโดยยังคงทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสองและมาตรา 42 วรรคหนึ่ง และหากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้จัดให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้กำหนดให้ใช้เสาในการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีเสาทั้งสองข้างของตัวอาคารสำหรับรับน้ำหนักของอาคารข้างละ 5 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาจำนวน 10 ต้น และให้เสาแต่ละต้นเป็นเสาของอาคารนั้นเอง ไม่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียง แต่จำเลยกับ ร.ไ้ดร่วมกันก่อสร้างโดยใช้เสาสำหรับรับน้ำหนักของอาคารทั้งสองข้างของตัวอาคารดังกล่าวเพียงข้างละ 4 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาเพียง 8 ต้น และตำแหน่งของเสาแต่ละต้นดังกล่าวก็ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ระบุไว้ตามแผนผังบริเวณแบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ทั้งเสาทางด้านซ้ายมือของตัวอาคาร 4 ต้นก็ไม่ได้เป็นเสาของตัวอาคารนั้นเอง หากแต่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียงที่อยู่ติดกัน อันเป็นการผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว โดยไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย และตามแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้กำหนดให้มีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 แต่จำเลยกับ ร.ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเต็มพื้นที่ดินทั้งหมดโดยไม่เว้นที่ว่าง โดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติดังกล่าว ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต และไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการก่อสร้างผิดจากแผนผัง บริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต หรือผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตอย่างไร เป็นการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติความคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยชัดแจ้งแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าเป็นการผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2522 ในข้อใดอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การลงโทษเกินคำขอ และการปรับบทลงโทษอาคารพาณิชย์
แม้ตาม ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้ กระทำผิดในฐานะ ผู้ดำเนินการตาม ความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่ง เป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้อง ระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตาม ที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตาม มาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัว อาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 44ซึ่ง จะต้องถูกลงโทษตาม มาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องเป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ เป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม...ต้องระวางโทษ..." หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ หากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้.