พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการจัดสรรของรัฐ การครอบครองปรปักษ์ และการชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินป่าผืนใหญ่จอมทองที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตาม ป.ที่ดิน มาตรา 14 อนุมัติให้หน่วยงานราชการนำมาจัดให้แก่ประชาชนได้อยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ เมื่อเป็นการจัดที่ดินโดยรัฐ การพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทจึงต้องพิจารณาจาก ป.ที่ดิน และระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน ฉบับลงวันที่ 24 สิงหาคม 2498 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.ที่ดิน มาตรา 20 (6), 27 และ 33 เป็นสำคัญ ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน ข้อ 3 ได้กำหนดลักษณะของที่ดินที่จะนำมาจัดให้แก่ประชาชนไว้ และที่ดินที่จะนำมาจัดสรรตามระเบียบฉบับนี้ก็คือที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่บุคคลอาจจะได้มาตามกฎหมายที่ดินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 นั้นเอง ส่วนผู้ที่จะเข้าอยู่อาศัยหรือประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพในที่ดินที่รัฐจัดให้นั้น ต้องเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีคุณสมบัติและอยู่ในลักษณะข้อกำหนดโดยครบถ้วนตามข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนด ตามระเบียบข้อ 4 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 14 และข้อ 21 ตามระเบียบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ป.ที่ดิน ในหมวดว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนมีเจตนารมณ์ที่จะให้ประชาชนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีอยู่แล้วแต่มีจำนวนน้อยไม่พอเลี้ยงชีพได้มีที่ดินไว้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหาเลี้ยงชีพ โดยได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาตินำที่ดินซึ่งเป็นของรัฐไปจัดสรรให้แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าว โจทก์ซึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทให้เป็นที่ทำมาหาเลี้ยงชีพและได้รับใบจองเลขที่ 1557 จากทางราชการแล้วจึงมีสิทธิตามใบจองในอันที่จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท และต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตาม ป.ที่ดิน โดยชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อทางราชการยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่ารัฐได้มอบสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของรัฐ ดังนั้น จำเลยจึงหาอาจอ้างเรื่องการแย่งการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่ อีกทั้งจะยกเรื่องระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้มีสิทธิตามใบจองไม่ได้เช่นกัน ส่วนที่โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ต่อมามีกลุ่มคนบุกรุกเข้ามาครอบครองที่ดินพิพาทและขู่ฆ่า โจทก์และชาวบ้านรายอื่น ๆ อีกหลายร้อยรายที่ถูกบุกรุกที่ดินได้รวมตัวกันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการต่าง ๆ และคดีถึงที่สุดโดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 9600 ที่ออกทับที่ดินพิพาท ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว แต่มีเหตุจำเป็นทำให้โจทก์ไม่สามารถทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 ให้แล้วเสร็จได้ภายใน 3 ปี ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อ 17 โจทก์จึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิตามใบจองเลขที่ 1557 อยู่ จำเลยไม่อาจยกการครอบครองตาม ป.พ.พ. ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งได้สิทธิมาโดยชอบตาม ป.ที่ดิน ได้ เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศาลปกครองชั้นต้นที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดิน 9600 ที่ออกทับที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 โดยเห็นว่าการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 9600 เป็นการออกโดยอาศัยแบบแจ้งการครอบครองที่ดินที่ทำปลอมขึ้น จำเลยก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทตามใบจองเลขที่ 1557 อีกต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5206/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติและที่ดินป่าโดยไม่ชอบ ยึดครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิ
ร. เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่ ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญอันเป็นพยานหลักฐานประเภทหนึ่งที่ ป.วิ.อ. บัญญัติรับรองไว้และยังเบิกความเป็นพยานต่อศาลโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 243 รายงานผลการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ ที่ ร. จัดทำขึ้นผ่านขั้นตอนการจัดทำทั้งการถ่ายรูป สำรวจ และทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีวิชาชีพในแต่ละสาขานั้นโดยตรง และเป็นไปตามหลักวิชาการ มีมาตรฐาน แม้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้แต่ก็ผ่านกระบวนการตรวจสอบผลโดยคณะกรรมการตรวจสอบผลการวิเคราะห์ อ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ อันเป็นกระบวนการตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญอื่นอย่างเป็นระบบ ประกอบกับมีการซักถามและอธิบายโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ฉายภาพประกอบ อันถือว่าผ่านกระบวนการตรวจสอบพิสูจน์ในศาลจนเป็นที่ยอมรับและสิ้นสงสัย พยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ตรวจสอบและพิสูจน์ถึงความถูกต้องเป็นจริงได้ จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
ในปี 2510 ที่ดินเกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นพื้นที่หาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึง ส่วนน้อยที่อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นป่าชายหาดและหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึง ที่ดินส่วนใหญ่ที่เป็นหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึงนั้นเป็นที่ชายทะเลอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) แม้ที่ดินเกิดเหตุส่วนใหญ่ที่เป็นหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึงนี้ในภายหลังน้ำทะเลร่นหรือเขินไปทางทิศตะวันตกทำให้กลายเป็นที่ดินที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงก็ตาม ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1309 ตราบใดที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.ถอนสภาพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 ประกอบ ป.ที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอยู่เช่นเดิม ส่วนที่ดินเกิดเหตุส่วนน้อยที่อยู่ทางทิศตะวันออกที่เป็นป่าชายหาดและหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงและไม่ปรากฏมีผู้ครอบครองทำประโยชน์นั้น เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) แม้จะมีบทบัญญัติว่าบุคคลอาจได้มาตามกฎหมายที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1334 ซึ่ง ป.ที่ดิน มาตรา 4 ก็บัญญัติรับรองให้เฉพาะที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่มีการครอบครองและทำประโยชน์ก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับเท่านั้น แต่การเข้ายึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุของจำเลยเป็นเวลาภายหลังปี 2519 และเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
ในปี 2510 ที่ดินเกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นพื้นที่หาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึง ส่วนน้อยที่อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นป่าชายหาดและหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึง ที่ดินส่วนใหญ่ที่เป็นหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึงนั้นเป็นที่ชายทะเลอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) แม้ที่ดินเกิดเหตุส่วนใหญ่ที่เป็นหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึงนี้ในภายหลังน้ำทะเลร่นหรือเขินไปทางทิศตะวันตกทำให้กลายเป็นที่ดินที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงก็ตาม ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1309 ตราบใดที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.ถอนสภาพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 ประกอบ ป.ที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอยู่เช่นเดิม ส่วนที่ดินเกิดเหตุส่วนน้อยที่อยู่ทางทิศตะวันออกที่เป็นป่าชายหาดและหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงและไม่ปรากฏมีผู้ครอบครองทำประโยชน์นั้น เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) แม้จะมีบทบัญญัติว่าบุคคลอาจได้มาตามกฎหมายที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1334 ซึ่ง ป.ที่ดิน มาตรา 4 ก็บัญญัติรับรองให้เฉพาะที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่มีการครอบครองและทำประโยชน์ก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับเท่านั้น แต่การเข้ายึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุของจำเลยเป็นเวลาภายหลังปี 2519 และเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจัดหาประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการละเมิดจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมที่ครอบครองมาก่อนใช้ ป.ที่ดิน โดยมิได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยชอบแม้ว่าเดิมที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตาม ป.ที่ดิน มาตรา 10 และมาตรา 11 จนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ อย่างไรก็ตาม แม้จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยปลูกสร้างอาคารและปลูกต้นไม้และพืชผลต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมโดยสุจริตตลอดมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1336 เรียกร้องให้โจทก์รื้อถอนอาคารและเก็บเกี่ยวพืชผลขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท แต่โจทก์เพิกเฉยนั้น ก็มีผลเพียงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องใช้สิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เพื่อที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ชนะคดีแล้วจะได้ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลตามขั้นตอนของกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 ทวิ, 296 ตรี, 296 จัตวา, 296 เบญจ 296 ฉ และมาตรา 296 สัตต แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 หามีสิทธิที่จะใช้อำนาจโดยพลการเข้าดำเนินการรื้อถอนเพื่อขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยตนเองไม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและไถปรับหน้าดินทำให้พืชผลโจทก์เสียหาย ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7592/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ความเสียหายและการคิดค่าเสียหายนับแต่วันรับโอน
ขณะที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาท จำเลยไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้เห็นเป็นใจในการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิชอบทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อกระทรวงการคลังโจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท แม้ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ แต่เนื่องจากขณะนั้นจำเลยยังไม่ทราบถึงสิทธิของโจทก์ว่าจะมีอำนาจขอเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทได้หรือไม่ ดังนี้โจทก์จะคิดค่าเสียหายนับแต่วันที่จำเลยรับโอนที่พิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำประโยชน์เหนือที่ดินของเจ้าของที่ดินเดิม และผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ดินที่ได้รับประโยชน์จากการวางสายไฟฟ้า
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 2 แถวด้านหน้าและด้านหลัง แล้วปลูกตึกแถวพร้อมกับวางสายไฟฟ้าจากที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าเพื่อประโยชน์ในการใช้ไฟฟ้าของตึกแถวด้านหลัง การที่เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้กับผู้อื่นโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อกำจัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้ และข้อกำจัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1338 ก็มีผลบังคับกันได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อตกลงเดิม การโอนสิทธิทำให้ผู้รับโอนต้องผูกพันตามข้อจำกัดนั้น
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 2 แถวด้านหน้าและด้านหลัง แล้วปลูกตึกแถวพร้อมกับวางสายไฟฟ้าจากที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าเพื่อประโยชน์ในการใช้ไฟฟ้าของตึกแถวด้านหลัง การที่เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้กับผู้อื่นโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อกำจัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้ และข้อกำจัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1338ก็มีผลบังคับกันได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินป่าช้าสาธารณะ แม้เลิกใช้แล้ว ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จนกว่าจะมีกฎหมายถอนสภาพ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งสาธารณชนใช้เผาและฝังศพมานานหลายสิบปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาทางการจะไม่ให้เผาและฝังศพอีก ได้มีการล้างป่าช้าและสร้างสำนักงานราชการขึ้น แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพที่ดินจากป่าช้าสาธารณะสำหรับสาธารณชนใช้ร่วมกันตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น แม้สาธารณชนจะเลิกใช้บริเวณที่พิพาทเป็นป่าช้า ที่พิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ทางราชการจะออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินป่าช้าสาธารณะ แม้เลิกใช้แล้วก็ยังเป็นสมบัติของแผ่นดิน ไม่ออกโฉนดให้เอกชนได้
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งสาธารณชนใช้เผาและฝังศพมานานหลายสิบปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาทางการจะไม่ให้เผาและฝังศพอีก ได้มีการล้างป่าช้าและสร้างสำนักงานราชการขึ้นแต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพที่ดินจากป่าช้าสาธารณะสำหรับสาธารณชนใช้ร่วมกันตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น แม้สาธารณชนจะเลิกใช้บริเวณที่พิพาทเป็นป่าช้าที่พิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ทางราชการจะออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686-1689/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินจากการจัดสรรของรัฐ vs. การครอบครองก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน ศาลยืนตามสิทธิผู้ได้รับจัดสรร
โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทโดยทางราชการจัดสรรให้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 30 และได้รับใบจองแล้วแม้จำเลยจะได้ยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน จำเลยก็ไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน และพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 ให้ถือว่าจำเลยมีเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้ว สิทธิของจำเลยหากจะดีกว่าผู้อื่นทั่วๆไป ก็หาอาจใช้ยันโจทก์ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินโดยชอบแล้วไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686-1689/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การจัดสรรที่ดินโดยรัฐและการสละสิทธิโดยปริยาย
โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทโดยทางราชการจัดสรรให้ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 30 และได้รับใบจองแล้ว แม้จำเลยจะได้ยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน จำเลยก็ไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน และพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 มาตรา 5 ให้ถือว่าจำเลยมีเจตนาสละสิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้ว สิทธิของจำเลยหากจะดีกว่าผู้อื่นทั่วๆไป ก็หาอาจใช้ยันโจทก์ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินโดยชอบแล้วไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่พิพาทได้