พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11031/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในสัญญาซื้อขาย แม้เป็นของจำเลย แต่หากไม่รู้เห็นการกรอกข้อความ สัญญาไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการทำสัญญา
จำเลยให้การว่าลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยเป็นเอกสารปลอม คำให้การดังนี้เป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว นอกจากนั้นยังเป็นการอ้างว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อขายเป็นของจำเลยแต่จำเลยไม่ได้รู้เห็นในการเขียนข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว เท่ากับหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ดังฟ้อง กรณีจึงไม่เป็นการนำสืบและรับฟังนอกประเด็นที่ให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10075/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ แม้ศาลไม่ได้ระบุชัดเจนในคำพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตามรูปคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก ลงโทษจำคุก 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 4,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงปรับ 2,000 บาท ให้คุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรกำหนด กับให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควร มีกำหนด 24 ชั่วโมง ตาม ป.อ. มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้กล่าวในคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำเลยก็ตาม แต่กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ใช้ดุลพินิจให้ความปรานีรอการลงโทษแก่จำเลย เป็นแต่มิได้กล่าวบรรยายในคำพิพากษาให้ครบถ้วน อันนับว่าเป็นการพิพากษาโดยผิดหลง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจให้แก้ไขให้ถูกต้องตามรูปคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8249/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้เป็นไม้ที่ชาวบ้านปลูกเอง ก็ยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ
ป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกำหนดตามเขตพื้นที่ และไม้ก็หมายถึงไม้ทุกชนิดในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น โดยไม่ได้จำแนกว่าเป็นไม้ที่เกิดขึ้นเองหรือมีคนปลูกขึ้นมา และการกระทำของจำเลยทั้งสองที่ตัดไม้ยูคาลิปตัสที่ชาวบ้านปลูกเองเป็นความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 เพียงตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน หรือขุดไม้ที่อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ ถือว่าเข้าลักษณะ "ทำไม้" ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 4 แล้ว และการที่จำเลยทั้งสองตัดไม้ถึง 35 ท่อน แสดงถึงการตัดไม้จำนวนหลายต้น ดังนั้น ไม่ว่าจะอ้างเช่นใด ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการกระทำนี้ไม่มีผลให้เป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848-5849/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่อง: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19
ญาติของผู้เสียหายไปแจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่แต่เพียงว่า ผู้เสียหายได้หายตัวไปโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงมาแจ้งความเพื่อขอให้เจ้าพนักงานตำรวจช่วยสืบหาตัวผู้เสียหายให้เท่านั้น ไม่มีรายละเอียดอื่น ไม่มีแม้แต่ข้อความที่ระบุว่าผู้แจ้งเชื่อว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น การแจ้งความเช่นนี้ จึงมิใช่คำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) (8) ไม่ก่อให้เกิดปัญหาว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคดีนี้ตามมาตรา 19 วรรคสอง (ข) เพราะข้อเท็จจริงตามคำแจ้งความดังกล่าว ไม่ทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่จะสามารถเป็นได้แม้กระทั่งพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนคนหนึ่งในหลายท้องที่ที่มีการกระทำความผิดต่อเนื่องกันตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง
กรณีว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่ได้ผ่านบทบัญญัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง มาก่อนแล้ว และเกิดมีปัญหาที่พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องต่างมีอำนาจสอบสวนเท่านั้น สถานีตำรวจภูธรอำเภอบันนังสตาเป็นท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อน โดยผู้เสียหายถูกเอาตัวไปที่บริเวนหน้าสำนักสงฆ์ถ้ำกระแชง และเป็นสถานีตำรวจที่ ด. ได้ไปกล่าวโทษไว้ เช่นนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบันนังสตาจึงย่อมเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสอง (ข)
กรณีว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่ได้ผ่านบทบัญญัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง มาก่อนแล้ว และเกิดมีปัญหาที่พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องต่างมีอำนาจสอบสวนเท่านั้น สถานีตำรวจภูธรอำเภอบันนังสตาเป็นท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อน โดยผู้เสียหายถูกเอาตัวไปที่บริเวนหน้าสำนักสงฆ์ถ้ำกระแชง และเป็นสถานีตำรวจที่ ด. ได้ไปกล่าวโทษไว้ เช่นนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบันนังสตาจึงย่อมเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสอง (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5117/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์-กรรโชกกรรมเดียว: ศาลฎีกายืนโทษจำเลยฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยพิจารณาจากเจตนาและพฤติการณ์ต่อเนื่อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามข่มขืนใจผู้เสียหายให้มอบเงิน 40,000 บาท ผู้เสียหายต่อรองเหลือ 35,000 บาท แต่ทางพิจารณาได้ความผู้เสียหายให้เงิน 50,000 บาท ถือเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดเพราะไม่ว่าเป็นเงินเท่าใดก็เป็นความผิด และไม่มีจำเลยคนใดหลงต่อสู้ ศาลฎีกาลงโทษจำเลยทั้งสามได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยทั้งสามร่วมกันล่อหลอกให้ผู้เสียหายไปหา แล้วใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ ระหว่างอยู่ในรถมีทั้งการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายขู่เข็ญให้ผู้เสียหายไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวิธีการที่จะให้ผู้เสียหายยอมให้หรือยอมจะให้พวกตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน และเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไป พวกจำเลยยังนำบัตรเอทีเอ็มไปถอนเงินของผู้เสียหายออกมาและขู่เข็ญผู้เสียหายจนยอมที่จะให้เงินแก่พวกจำเลยเป็นการทดแทนที่จะให้ไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษ แสดงว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาที่จะให้ได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายมากที่สุดโดยไม่คำนึงถึงวิธีการและจะให้ได้มาอย่างไร การกระทำความผิดมีลักษณะต่อเนื่องไม่ขาดตอน และการกระทำที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์กับความผิดฐานร่วมกันกรรโชกเกิดขึ้นซ้อนกัน ทั้งความผิดฐานร่วมกันกรรโชกเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่ผู้เสียหายยอมให้ทรัพย์สินที่พวกจำเลยเอาไปและยอมจะให้เงินแก่พวกจำเลยอีกในภายหลัง การที่จำเลยทั้งสามจะได้เงินส่วนที่ผู้เสียหายตกลงจะให้ในภายหลังหรือไม่ หามีผลให้การกระทำความผิดฐานร่วมกันกรรโชกไม่เป็นความผิดสำเร็จไม่ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันกรรโชกและร่วมกันปล้นทรัพย์จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จำเลยทั้งสามร่วมกันล่อหลอกให้ผู้เสียหายไปหา แล้วใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ ระหว่างอยู่ในรถมีทั้งการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายขู่เข็ญให้ผู้เสียหายไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวิธีการที่จะให้ผู้เสียหายยอมให้หรือยอมจะให้พวกตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน และเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไป พวกจำเลยยังนำบัตรเอทีเอ็มไปถอนเงินของผู้เสียหายออกมาและขู่เข็ญผู้เสียหายจนยอมที่จะให้เงินแก่พวกจำเลยเป็นการทดแทนที่จะให้ไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษ แสดงว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาที่จะให้ได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายมากที่สุดโดยไม่คำนึงถึงวิธีการและจะให้ได้มาอย่างไร การกระทำความผิดมีลักษณะต่อเนื่องไม่ขาดตอน และการกระทำที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์กับความผิดฐานร่วมกันกรรโชกเกิดขึ้นซ้อนกัน ทั้งความผิดฐานร่วมกันกรรโชกเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่ผู้เสียหายยอมให้ทรัพย์สินที่พวกจำเลยเอาไปและยอมจะให้เงินแก่พวกจำเลยอีกในภายหลัง การที่จำเลยทั้งสามจะได้เงินส่วนที่ผู้เสียหายตกลงจะให้ในภายหลังหรือไม่ หามีผลให้การกระทำความผิดฐานร่วมกันกรรโชกไม่เป็นความผิดสำเร็จไม่ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันกรรโชกและร่วมกันปล้นทรัพย์จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญของสหกรณ์ ต้องผ่านมติคณะกรรมการดำเนินการก่อน ไม่สามารถเรียกโดยประธานหรือเลขานุการได้โดยลำพัง
แม้ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 116 วรรคสาม จะบัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่สมาชิกเป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ให้คณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ" อันมีลักษณะเป็นสภาพบังคับให้คณะกรรมการดำเนินการฯ ต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกร้องขอก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่อำนาจของกรรมการดำเนินการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนที่จะเรียกประชุมได้โดยลำพัง เมื่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ชอบที่เรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณากันเสียก่อน และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ จะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นการกระทำของคณะกรรมการดำเนินการฯ นั้น ตามระเบียบสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยว่าด้วย การเลือกตั้ง การประชุม และการดำเนินกิจการของคณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2542 ข้อ 78
เมื่อผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 จำนวน 56 คน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 400 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญในวันที่ 9 มกราคม 2544 การที่ ช. กรรมการดำเนินการกำหนดนัดประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกโจทก์ที่ 1 ร้องขอ โดยไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวก่อนมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญแต่อย่างใด ดังนั้น การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ การประชุมและการลงมติในที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2544 จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติที่กำหนดนัดวันประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 ในวันที่ 22 มกราคม 2544 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 เป็นการประชุมที่ไม่มีการเรียกนัดประชุมไว้ก่อน การประชุมและการมีมติในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
เมื่อผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 จำนวน 56 คน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 400 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญในวันที่ 9 มกราคม 2544 การที่ ช. กรรมการดำเนินการกำหนดนัดประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกโจทก์ที่ 1 ร้องขอ โดยไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวก่อนมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญแต่อย่างใด ดังนั้น การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ การประชุมและการลงมติในที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2544 จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติที่กำหนดนัดวันประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 ในวันที่ 22 มกราคม 2544 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 เป็นการประชุมที่ไม่มีการเรียกนัดประชุมไว้ก่อน การประชุมและการมีมติในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยคดีแพ่ง: สิทธิคิดดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีรับชำระหนี้แทนโจทก์
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามหมายบังคับคดีโดยทำการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยรวมทั้งรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด 25,500,000 บาท ไว้เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2544 เป็นการกระทำไปในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 ถือได้ว่าเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย เป็นเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินตามคำพิพากษาถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2544 อันเป็นวันขายทอดตลาดเท่านั้น หามีสิทธิคิดดอกเบี้ยถึงวันที่ 7 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิถึงที่สุดไม่ เพราะความล่าช้าจนถึงกำหนดวันดังกล่าวเกิดจากการต่อสู้คดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง โดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9435/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาขึ้นอยู่กับผู้เสียหายโดยนิตินัย คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่นมีผลผูกพัน
คำพิพากษาถึงที่สุดของศาลฎีกาซึ่งคู่ความนำสืบกล่าวอ้างรับกันว่ามีการดำเนินคดีดังกล่าวจนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษานั้น ย่อมต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวได้ โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์และเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม และยังได้รับโอนสิทธิผลงานอุลตร้าแมนตามข้อตกลงมอบสิทธิ แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่ออาศัยเป็นเหตุฟ้องจำเลยทั้งสองได้ยุติไปตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลฎีกาว่า โจทก์มิใช่ผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนตั้งแต่เริ่มแรก และข้อตกลงมอบสิทธิเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ กรณีย่อมต้องถือว่าโจทก์อ้างสิทธิโดยแอบอ้างการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์และใช้เอกสารสิทธิปลอมโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย และไม่มีอำนาจฟ้องมาตั้งแต่แรก แม้ข้อเท็จจริงนี้จะปรากฏขึ้นในชั้นพิจารณาของศาลฎีกา แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างมาตั้งแต่ต้น ศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9243/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขวางการจับกุม-การแสดงตัวเจ้าพนักงาน: สิทธิในการปกป้อง-เจตนาขัดขวาง
ขณะเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา สิบตำรวจเอก ว. กับพวกมิได้แต่งเครื่องแบบเจ้าพนักงานตำรวจ เข้าทำการตรวจค้นจับกุม ส. เป็นการตรวจค้นจับกุมในยามค่ำคืน บุคคลทั่วไปย่อมเกรงว่าผู้ที่เข้าตรวจค้นจับกุมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจริงหรือไม่ ทั้งข้อหาที่ ส. กระทำความผิดก็เพียงมีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดไม่ร้ายแรงนัก สิบตำรวจเอก ว. กับพวกมิได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจโดยแสดงบัตรประจำตัวให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดู การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงแต่ร่วมกันใช้กำลังผลักดันและกระชากแขนเจ้าพนักงานตำรวจเพียงเพื่อต้องการปกป้อง ส. ซึ่งเป็นน้องชายจำเลยที่ 1 ตามสมควร ไม่มีเจตนาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงไม่ได้กระทำความผิด
เมื่อคดีฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงไม่อาจเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 140 วรรคแรก คงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบ มาตรา 225
เมื่อคดีฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงไม่อาจเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 140 วรรคแรก คงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7365/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญา: ศาลฎีกายกเรื่องนับโทษเนื่องจากขาดหลักฐาน และยืนอำนาจฟ้องของโจทก์
หลังจากสืบพยานเสร็จ ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์เพิ่งทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการต้องโทษของจำเลยและขอแก้ไขฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3221/2546 ของศาลอาญา และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ ขอให้นับโทษจำเลยเรียงติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาสั่งคำร้องของโจทก์ในวันนัดฟังคำพิพากษาและในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องได้ เช่นนี้ แม้จำเลยมิได้คัดค้านคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ กรณีก็ไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ขอแก้ไขฟ้องดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้แสดงให้ปรากฏต่อศาลว่า จำเลยเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวตามคำร้องของโจทก์จริงหรือไม่ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีดังกล่าวหรือไม่เพียงใด จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีอื่นที่อาจนำโทษในคดีนี้ไปนับติดต่อได้
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2539 เจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร และปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนให้บริการช่วยเหลือประชาชน เมื่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักรตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยอำนาจสอบสวน เป็นการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรมตำรวจให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การที่ระเบียบดังกล่าวกำหนดลักษณะความผิดที่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามไว้ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่กรมตำรวจมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเท่านั้น การที่ผู้บังคับการกองปราบปรามมีคำสั่งที่ 288/2538 แต่งตั้งพนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้ โดยผู้บัญชาการสอบสวนกลางอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในระเบียบแล้ว จึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบกรมตำรวจ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2539 เจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร และปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนให้บริการช่วยเหลือประชาชน เมื่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักรตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยอำนาจสอบสวน เป็นการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรมตำรวจให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การที่ระเบียบดังกล่าวกำหนดลักษณะความผิดที่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามไว้ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่กรมตำรวจมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเท่านั้น การที่ผู้บังคับการกองปราบปรามมีคำสั่งที่ 288/2538 แต่งตั้งพนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้ โดยผู้บัญชาการสอบสวนกลางอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในระเบียบแล้ว จึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบกรมตำรวจ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้