คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 65

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดทางอาญาในสภาวะเมาสุรา และการพิสูจน์ความสามารถในการรับรู้ความผิด
แม้พฤติการณ์ของจำเลยที่ใช้อาวุธปืนยิงคนจำนวนมากคล้ายคนมีสติไม่เหมือนคนปกติก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้นำแพทย์มาเบิกความยืนยันและไม่มีเอกสารใด ๆ มาแสดงว่าจำเลยเป็นโรคจิต ศาลจึงไม่อาจที่จะวินิจฉัยได้เองว่า จำเลยมีจิตไม่ปกติ ทั้งจำเลยสามารถให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลได้ตามปกติโดยไม่
ปรากฏว่ามีอาการผิดปกติแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยดื่มสุราจนเมา การที่จำเลยกระทำความผิดไปจึงเนื่องมาจากดื่มสุรา ซึ่งจำเลยจะอ้างเป็นเหตุลดหย่อนผ่อนโทษตาม ป.อ. มาตรา 65 ไม่ได้ เพราะจำเลยสมัครใจดื่มเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยปัญญาอ่อน ตัดต้นไม้โดยไม่รู้ผิด การขาดเจตนาทำให้ไม่มีความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยปฏิเสธตลอดมาว่า จำเลยมีความพิการทางสมอง ไม่อาจรู้ได้ว่าการกระทำของตนเป็นความผิดดังนั้นปัญหาว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง หรือไม่นั้น ศาลต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาซึ่งได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับผิดในทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 59 หรือไม่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยเป็นบุคคล ปัญญาอ่อนที่ถึงขนาดไม่อาจรู้ได้ว่าการตัดต้นไม้เป็นผิดกฎหมาย กรณีจึงมิใช่จำเลยกระทำผิดในขณะที่สามารถรู้ ผิดชอบเพราะมีจิตบกพร่องตาม ป.อ. มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ถึงขั้นที่ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมิได้รู้สำนึกในการที่กระทำทั้งมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดเพราะขาดเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยปัญญาอ่อน ตัดต้นไม้โดยไม่รู้ผิด การกระทำจึงไม่มีความผิดเพราะขาดเจตนา
จำเลยปัญญาอ่อนถึงขนาดไม่อาจรู้ได้ว่าการตัดต้นไม้หวงห้ามเป็นผิดกฎหมาย กรณีจึงมิใช่จำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะมีจิตบกพร่องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ถึงขั้นที่ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมิได้รู้สำนึกในการที่กระทำทั้งมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนาตามมาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากอาการป่วยทางจิต: ลดโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง
จำเลยป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเกิดความเครียดในการประกอบอาชีพและรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าจนมีความกร้าวร้าวสะสมมากขึ้น เมื่อพบโจทก์ร่วมกำลังขับเรือเร่ขายสินค้าเช่นเดียวกับจำเลยจึงกระตุ้นจิตใจให้มีความกร้าวร้าวยิ่งขึ้นจนทำร้ายโจทก์ร่วมอย่างรุนแรง แต่จำเลยยังขับเรือหลบหนีกลับบ้านได้ แสดงว่าสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือสามารถบังคับตนเองได้บ้างต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในทางอาญาของผู้ป่วยทางจิต: การพิสูจน์ความสามารถในการรู้ผิดชอบขณะกระทำความผิด
จำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตมานานแล้ว จะมีการกำเริบ เป็นครั้งคราวและไม่อาจรู้ได้ล่วงหน้า เมื่อมีอาการทางจิต แล้วจะรู้สึกกลัวและจำอะไรไม่ได้ การที่จำเลยฟันทำร้าย ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับบาดเจ็บนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับ ผู้เสียหายทั้งสี่มีเรื่องบาดหมางมาก่อนอันจะเป็นมูลเหตุ ให้จำเลยโกรธเคืองมุ่งร้ายผู้เสียหาย ถือเป็นการผิดปกติวิสัย ที่คนจิตปกติจะมาฟันทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏสาเหตุใด ๆ มาก่อน ดังนั้น พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยทำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่ สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรก การกระทำของจำเลยที่ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรกนั้นต้อง พิจารณาถึงผู้กระทำว่ารู้สึกผิดชอบในการกระทำผิดลงในขณะนั้นกับขณะนั้นผู้กระทำสามารถยับยั้งหรือบังคับตนเองได้หรือไม่อันเนื่องจากมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต มิใช่ถือเอาการกระทำของจำเลยภายหลังเกิดเหตุ ที่นำชี้สถานที่เกิดเหตุกับแสดงท่าทาง ในการกระทำผิดมาเป็นเกณฑ์พิจารณาประกอบการกระทำความผิด ที่กระทำก่อนแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7151/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดชิงทรัพย์โดยมีเจตนาและวางแผน แม้มีอาการสมองฝ่อและควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แต่ไม่ถึงขั้นไม่สามารถรู้ผิดชอบ
ก่อนเกิดเหตุ 2 ถึง 3 วัน จำเลยดูข่าวโทรทัศน์ที่คนร้าย ทำทีเข้าไปซื้อทองแล้วชักอาวุธปืนออกมาปล้นเอา ทองหลบหนีไปได้ จึงคิดวางแผนเอาอย่างบ้างโดยไปยืม รถจักรยานยนต์จาก ก. ใช้สก๊อตเทปปิดป้ายทะเบียนไว้เพื่อไม่ให้จำหมายเลขทะเบียนได้และเอามีดคล้ายมีดปังตอที่มารดา ใช้หั่นผักห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์พกไว้ที่เอวด้านหลังแล้วขับรถจักรยานยนต์หาร้านขายทองที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจ และมีผู้หญิงเป็นคนขาย ทำทีเข้าไปซื้อสร้อยคอทองคำในร้านของผู้เสียหาย เมื่อได้สร้อยแล้วจำเลยชักมีดขึ้นมาชูขู่คนในร้าน จากนั้น นำสร้อยคอทองคำไปขายและเปลี่ยนเพิ่มสายสร้อยข้อมือ ของจำเลยส่วนเงินที่ได้มาได้พาพรรคพวกไปเลี้ยง ไปเที่ยวและเล่นการพนัน พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่า จำเลยกระทำผิดโดยมีแผนการอันเนื่องมาจากความโลภ และเอาเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ไปเที่ยวเตร่หาความสำราญเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดอื่นโดยทั่ว ๆ ไป แม้จำเลยจะสมองฝ่อ เพราะเคยถูกรถยนต์เฉี่ยวชนศีรษะกระแทกพื้นมีผลทำให้เชาวน์ปัญญาลดลงอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่ายขาดการยับยั้งชั่งใจเช่นคนทั่วไปอยู่บ้าง แต่ยังไม่ถึงขนาด ที่จะฟังได้ว่าขณะกระทำผิดจำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยในคดีอาญา โดยพิจารณาจากอาการทางจิตหลังเกิดเหตุ และคำรับสารภาพ
จำเลยฎีกาว่าได้กระทำความผิดขณะที่จิตผิดปกติไม่สมประกอบและไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ โดยมิได้เกิดจากเจตนาที่ชั่วร้าย เป็นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยในสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลย ช่วงเวลาใกล้เคียงก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยจะมีอาการป่วยเจ็บอย่างใดและใบรับรองแพทย์แสดงว่าจำเลยเข้ารักษาตัวเป็นระยะเวลาหลังเกิดเหตุนานพอสมควรกรณีไม่สามารถนำมาเป็นเหตุให้ลงโทษจำเลยในสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา/จำเลยและการต่อสู้คดีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14 ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะชี้ขาดในกรณีมีเหตุควรเชื่อว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่แพทย์เบิกความเป็นพยานในชั้นที่ศาลชั้นต้นจะต้องชี้ขาดว่า สภาพของจำเลยในขณะที่ถูกฟ้องคดีนี้สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ตามป.วิ.อ.มาตรา 14 โดยแพทย์เบิกความเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2536 ว่า จำเลยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ปี 2532 ตรวจพบว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท ขณะตรวจพบว่าจำเลยมีอาการวิตกกังวล ไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างต่อเนื่อง จากสภาพของจำเลยขณะที่ตรวจ แพทย์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นโรคทางจิตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้เมื่อไม่ปรากฏความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยระหว่างเกิดเหตุ และเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริงต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถถามตอบต่อศาลได้ ดังนี้ ความเห็นของแพทย์ดังกล่าวจึงยังไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน อันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความสามารถในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาที่มีอาการเจ็บป่วยทางจิต และการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะชี้ขาดในกรณีมีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมาย การที่แพทย์เบิกความเป็นพยานในชั้นที่ศาลชั้นต้นจะต้องชี้ขาดว่า สภาพของจำเลยในขณะที่ถูกฟ้องคดีนี้สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14โดยแพทย์เบิกความเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2536 ว่า จำเลยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ปี 2532 ตรวจพบว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภทขณะตรวจพบว่าจำเลยมีอาการวิตกกังวล ไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างต่อเนื่อง จากสภาพของจำเลยขณะที่ตรวจ แพทย์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นโรคทางจิตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้เมื่อไม่มีปรากฏความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยระหว่างเกิดเหตุ และเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริงต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถถามตอบต่อศาลได้ ดังนี้ ความเห็นของแพทย์ดังกล่าวจึงยังไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน อันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลังฆ่าผู้อื่น และประเด็นความสามารถในการรับผิดชอบทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช
การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังจากฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แต่การที่จำเลยที่ 1 ออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวมา หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกเลย และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติราชการได้แล้ว อีกทั้งสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายก็เนื่องจากผู้ตายด่าว่าดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการีวงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้สำนึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะและฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซ่อนเร้นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมด้วยรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซุกซ่อนไว้อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงชัดว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงมีความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและยังมีความโลภที่จะได้ทรัพย์สินของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต
of 9