พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลังฆ่าผู้อื่น และประเด็นความสามารถในการรับผิดชอบทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช
การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังจากฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แต่การที่จำเลยที่ 1 ออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวมา หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกเลย และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติราชการได้แล้ว อีกทั้งสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายก็เนื่องจากผู้ตายด่าว่าดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการีวงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้สำนึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะและฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซ่อนเร้นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมด้วยรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซุกซ่อนไว้อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงชัดว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงมีความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและยังมีความโลภที่จะได้ทรัพย์สินของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แต่การที่จำเลยที่ 1 ออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวมา หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกเลย และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติราชการได้แล้ว อีกทั้งสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายก็เนื่องจากผู้ตายด่าว่าดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการีวงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้สำนึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะและฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซ่อนเร้นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมด้วยรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซุกซ่อนไว้อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงชัดว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงมีความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและยังมีความโลภที่จะได้ทรัพย์สินของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความมึนเมาจากการเสพสุราและกัญชา ไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดทางอาญา หากจำเลยยังสามารถแยกแยะได้
แม้แพทย์จะเบิกความว่าจำเลยมีอาการหูแว่ว สอบถามไม่พูดแต่แสดงอาการฉุนเฉียว แยกตัวอยู่ตามลำพัง หลังจากตรวจแล้วพบแนวคิดผิดปกติและหลังจากรับตัวจำเลยได้ 1 วัน ได้เริ่มสอบถามจำเลย จำเลยพูดคำตอบคำอย่างรู้เรื่อง และลงความเห็นว่าอาการที่ตรวจพบเชื่อว่าเป็นมานานไม่น้อยกว่า1 ปี ก็ตาม แต่ก่อนเกิดเหตุ แม้จำเลยดื่มสุราก็ไม่มีอาการผิดปกติ ขณะเกิดเหตุก็สามารถจดจำบุคคลและเรียกชื่อได้ถูกต้อง ได้เลือกทำร้ายเฉพาะบุคคล ไม่ทำร้ายบุคคลทั่วไปซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุจำนวนมาก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
จำเลยเสพสุราและกัญชาทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้มึนเมาจำเลยจึงไม่อาจยกเอาความมึนเมานั้นขึ้นเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
จำเลยเสพสุราและกัญชาทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้มึนเมาจำเลยจึงไม่อาจยกเอาความมึนเมานั้นขึ้นเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดโดยปราศจากความสามารถในการรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถควบคุมตนเองได้จากโรคจิตและอาการมึนเมา
แม้แพทย์จะเบิกความว่าจำเลยมีอาการหูแว่ว สอบถามไม่พูดแต่แสดงอาการฉุนเฉียว แยกตัวอยู่ตามลำพัง หลังจากตรวจแล้วพบแนวคิดผิดปกติและหลังจากรับตัวจำเลยได้ 1 วัน ได้เริ่มสอบถามจำเลย จำเลยพูดคำตอบคำอย่างรู้เรื่อง และลงความเห็นว่าอาการที่ตรวจพบเชื่อว่าเป็นมานานไม่น้อยกว่า 1 ปี ก็ตามแต่ก่อนเกิดเหตุ แม้จำเลยดื่มสุราก็ไม่มีอาการผิดปกติขณะเกิดเหตุก็สามารถจดจำบุคคลและเรียกชื่อได้ถูกต้อง ได้เลือกทำร้ายเฉพาะบุคคล ไม่ทำร้ายบุคคลทั่วไปซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุจำนวนมาก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ จำเลยเสพสุราและกัญชาทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้มึนเมา จำเลยจึงไม่อาจยกเอาความมึนเมานั้นขึ้นเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดลักทรัพย์ของผู้ป่วยทางจิต: การพิจารณาความสามารถในการรู้ผิดชอบ
ก่อนกระทำผิดจำเลยเคยให้นายแพทย์ น. ตรวจร่างกาย 2 ครั้งผลการตรวจปรากฏว่าจำเลยเป็นโรคประสาทหลอนและปวดศีรษะด้านซ้ายมือมีอาการสับสน ถ้ามีการดื่มสุรามากหรือเกิดความเครียดมากอาจไม่รู้สึกตัวประมาณ 12-13 ชั่วโมง ในคืนเกิดเหตุจำเลยดื่มสุราแล้วจำเลยได้ใช้มีดงัดสายยูประตูเข้าไปลักทรัพย์แล้วนำทรัพย์กลับไปบ้านจำเลยชั้นสอบสวนจำเลยให้การได้ละเอียดในการที่จำเลยเข้าไปทำการลักทรัพย์ทั้งสามารถนำชี้ที่เกิดเหตุถึงสิ่งที่จำเลยได้กระทำแล้วแสดงให้เห็นว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดในขณะที่สามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการกำหนดนัดพิจารณาคดีและการรับฟังความเห็นแพทย์เรื่องวิกลจริต
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อแพทย์ผู้รักษาอาการของจำเลยแถลงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว จึงให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป โดยโจทก์มิได้ร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปนั้น เป็นอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 35 ซึ่งบัญญัติให้อำนาจศาลที่จะกำหนดนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลในวันที่ศาลเปิดทำการและเวลาทำงานได้และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ให้อำนาจศาลนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับได้ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
ความเห็นของแพทย์ทั้งหลายที่ตรวจอาการของจำเลยว่า จำเลยมีอาการทางจิตนั้น ต่างเป็นความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจอาการจำเลยระหว่างพิจารณาคดีนี้ทั้งสิ้น ไม่ปรากฎความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยมาก่อนเกิดเหตุคดีนี้หรือระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ ทั้งไม่ปรากฎประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อนความเห็นของแพทย์ดังกล่าวไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้ผิดชอบ
ความเห็นของแพทย์ทั้งหลายที่ตรวจอาการของจำเลยว่า จำเลยมีอาการทางจิตนั้น ต่างเป็นความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจอาการจำเลยระหว่างพิจารณาคดีนี้ทั้งสิ้น ไม่ปรากฎความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยมาก่อนเกิดเหตุคดีนี้หรือระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ ทั้งไม่ปรากฎประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อนความเห็นของแพทย์ดังกล่าวไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้ผิดชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการกำหนดนั่งพิจารณาคดี และการรับฟังอาการทางจิตของผู้ต้องหาเพื่อประกอบการพิจารณา
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อแพทย์ผู้รักษาอาการของจำเลยแถลงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว จึงให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป โดยโจทก์มิได้ร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปนั้น เป็นอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 35 ซึ่งบัญญัติให้อำนาจศาลที่จะกำหนดนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลในวันที่ศาลเปิดทำการและเวลาทำงานได้และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้อำนาจศาลนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับได้ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ความเห็นของแพทย์ทั้งหลายที่ตรวจอาการของจำเลยว่าจำเลยมีอาการทางจิตนั้น ต่างเป็นความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจอาการ จำเลยระหว่างพิจารณาคดีนี้ทั้งสิ้น ไม่ปรากฏความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยมาก่อนเกิดเหตุคดีนี้หรือระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ ทั้งไม่ปรากฏประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อน ความเห็นของแพทย์ดังกล่าวไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้ผิดชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีเพื่อรักษาพยาบาล และการพิสูจน์ภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นให้งดการพิจารณาคดี ส่งตัวจำเลยไปรักษาที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้น โดยให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว เมื่อจำเลยสามารถต่อสู้คดีแล้วให้โจทก์ร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปเนื่องจากแพทย์แถลงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้แล้วคำสั่งดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 35 ที่บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนั่งพิจารณาคดีในวันที่ศาลเปิดทำการและเวลาทำงานได้ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับได้ เมื่อไม่มีความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยก่อนหรือระหว่างเกิดเหตุ ทั้งไม่ปรากฎประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อนการที่แพทย์ตรวจอาการของจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีแล้วมีความเห็นว่าจำเลยมีอาการทางจิตนั้น ยังไม่อาจรับฟังว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้สึกผิดชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช: การพิสูจน์ความสามารถในการรู้ผิดชอบ
จำเลยมีอาการผิดปกติทางจิต หรือมีจิตบกพร่องหวาดระแวงว่าโจทก์ร่วมเป็นคนร้ายที่จะมาฆ่าจำเลยจึงได้ใช้มีดแทงโจทก์ร่วมไปและจากคำเบิกความของนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชเบิกความยืนยันว่า ลักษณะอาการประสาทของจำเลยตามหลักวิชาการจำเลยยังสามารถรับผิดชอบอยู่ ภรรยาของจำเลยก็เบิกความว่าปกติจำเลยสามารถทำงานได้ แต่เวลามีอาการจำเลยจะมีลักษณะกลัวคนจำเลยนั่งซึมนานประมาณ 10 วันจึงเกิดเหตุหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยไม่ได้หลบหนีคงนั่งซึมจนถูกจับตัวส่งตำรวจ ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยก่อนและหลังการกระทำผิดดังกล่าว ไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำผิดเพราะไม่สามารถบังคับตนเองได้ ถือว่าจำเลยกระทำผิดขณะยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยป่วยโรคคริทินแต่กำเนิด ทำให้มีจิตบกพร่อง ไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ จึงไม่ต้องรับโทษในคดีอนาจาร
จำเลยกระทำอนาจารและพยายามกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปีแต่ได้ความว่า จำเลยป่วยเป็นโรคคริทิน ซึ่งเกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาเจริญวัยทางสติปัญญาช้ากว่าอายุจริง จำเลยเพิ่งเดินได้เมื่ออายุ7 ปี พูดได้เป็นประโยคเมื่ออายุ 9 ปี ขณะอายุ 11 ปี 11 เดือนมีความสามารถทางสติปัญญาเท่ากับเด็กอายุ 5 ปี ก่อนเกิดเหตุ 2 เดือนแพทย์ตรวจจำเลยปรากฏว่าสติปัญญายังช้า ไม่รู้จักเหตุผล ไม่มีการวางแผน ไม่มีความรับผิดชอบ ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตไม่มีทางหายขาด ถือว่าจำเลยกระทำผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบ เพราะมีจิตบกพร่องด้วยป่วยเป็นโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิด จึงไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาของผู้ป่วยปัญญาอ่อน: การพิสูจน์ความสามารถในการรู้ผิดชอบ
จำเลยกระทำความผิดในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะมีจิตบกพร่องด้วยเหตุป่วยเป็นโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิดเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรก