พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาความผิด การพยายามฆ่า และความเสียหายต่อทรัพย์สิน พิจารณาเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม
จำเลยป่วยเป็นโรคจิตได้บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายและใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยวิ่งหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปในบ้านร้างแล้วจำเลยแกล้งยิงปืน 1 นัด และใช้เท้ากระทืบพื้น เป็นการลวงว่าจำเลยฆ่าตัวตายเพื่อให้พวกเจ้าพนักงานตำรวจขึ้นไปบนบ้าน จำเลยจะได้ยิงบุคคลเหล่านั้น แต่เมื่อผู้กำกับการตำรวจมาถึงจำเลยก็ยินยอมมอบตัวโดยดี ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบและยังสามารถบังคับตนเองได้ ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ตาม ป.อ.มาตรา65 วรรคสอง
สำหรับปัญหาว่า การที่จำเลยถืออาวุธปืนบังคับให้ผู้เสียหายเปิดประตูบ้านแล้วเข้าไปในบ้านกับผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ยิงผู้เสียหายทันที แต่เพิ่งยิงผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไม่ยอมเข้าไปในห้องนอนกับจำเลยตามที่จำเลยต้องการ และกระสุนปืนถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายด้วย จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนั้น เห็นว่าเจตนาของจำเลยที่บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายนั้น จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปยิงผู้เสียหายจึงเป็นความผิดสองกรรม แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย และกระสุนปืนยังไปถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายอันเป็นการทำให้เสียทรัพย์ด้วยนั้น จำเลยมีเจตนายิงผู้เสียหายเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์นั้นเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
สำหรับปัญหาว่า การที่จำเลยถืออาวุธปืนบังคับให้ผู้เสียหายเปิดประตูบ้านแล้วเข้าไปในบ้านกับผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ยิงผู้เสียหายทันที แต่เพิ่งยิงผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไม่ยอมเข้าไปในห้องนอนกับจำเลยตามที่จำเลยต้องการ และกระสุนปืนถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายด้วย จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนั้น เห็นว่าเจตนาของจำเลยที่บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายนั้น จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปยิงผู้เสียหายจึงเป็นความผิดสองกรรม แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย และกระสุนปืนยังไปถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายอันเป็นการทำให้เสียทรัพย์ด้วยนั้น จำเลยมีเจตนายิงผู้เสียหายเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์นั้นเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า บุกรุก และทำให้เสียทรัพย์ของผู้ป่วยจิตเวช: ศาลพิจารณาความสามารถในการรับผิดชอบและลดโทษ
จำเลยป่วยเป็นโรคจิตได้บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายและใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยวิ่งหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปในบ้านร้างแล้วจำเลยแกล้งยิงปืน 1 นัดและใช้เท้ากระทืบพื้น เป็นการลวงว่าจำเลยฆ่าตัวตายเพื่อให้พวกเจ้าพนักงานตำรวจขึ้นไปบนบ้าน จำเลยจะได้ยิงบุคคลเหล่านั้น แต่เมื่อผู้กำกับการตำรวจมาถึงจำเลยก็ยินยอมมอบตัวโดยดี ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบและยังสามารถบังคับตนเองได้ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง สำหรับปัญหาว่า การที่จำเลยถืออาวุธปืนบังคับให้ผู้เสียหายเปิดประตูบ้านแล้วเข้าไปในบ้านกับผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ยิงผู้เสียหายทันที แต่เพิ่งยิงผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไม่ยอมเข้าไปในห้องนอนกับจำเลยตามที่จำเลยต้องการ และกระสุนปืนถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายด้วย จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนั้น เห็นว่าเจตนาของจำเลยที่บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายนั้น จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปยิงผู้เสียหายจึงเป็นความผิดสองกรรม แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย และกระสุนปืนยังไปถูกกระจกหน้าต่างและโต๊ะของผู้เสียหายอันเป็นการทำให้เสียทรัพย์ด้วยนั้น จำเลยมีเจตนายิงผู้เสียหายเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยฐานพยายามฆ่าและทำให้เสียทรัพย์นั้นเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาของมารดาจำเลยและจำเลยผู้มีภาวะวิกลจริต การพิจารณาโทษที่เหมาะสม และการรอการลงโทษ
ผู้ร้องแม้จะเป็นมารดาจำเลยและจำเลยจะเป็นผู้วิกลจริตไม่สามารถต่อสู้คดีจริงหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดี และมิได้อยู่ในฐานะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) หรือ (2)จึงไม่อาจยื่นฎีกาเข้ามาในคดีได้ ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 วรรคแรก แต่คดีที่คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้นหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจลงโทษให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ จำเลยกระทำผิดขณะมีอายุ 18 ปีเศษไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ทั้งผู้เสียหายแถลงไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลย สมควรรอการลงโทษจำคุกหรือให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากร และข้อยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 30
สินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.15 เป็นสินค้าประเภทที่ใช้เพื่อความสะดวกสบายหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอัตราอากรจึงได้กำหนดไว้สูงถึงร้อยละ 80 ส่วนสินค้าในพิกัดประเภทที่ 84.17 นั้น เป็นสินค้าที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการผลิตหรือเป็นสินค้าประเภทที่นำมาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตผลงานอย่างอื่น จึงได้กำหนดพิกัดอัตราอากรไว้ต่ำลงมาเพียงร้อยละ 30 คำว่า"เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จึงหมายถึงเครื่องปรับอากาศหรือส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่ใช้เพื่อความสะดวกสบาย ส่วนคำว่า"ที่ใช้กับเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ" ในพิกัดประเภทที่84.17ก. นั้น หมายถึงเครื่องที่จะระบายความร้อนให้กับเครื่องจักรขณะที่เครื่องจักรทำงาน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรสินค้าคอนเดนเซอร์ที่โจทก์นำเข้ามา เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายและไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15ข. จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529แล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีพิพาท เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรสำหรับเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 และมิใช่ภาษีอากรในประเภทที่มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 30 ใช้บังคับจำเลยที่ 1 จึงได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาผู้มีภาวะวิกลจริต ศาลต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดก่อนพิพากษา
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษาลงโทษจำเลยมาโดยมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 เสียก่อนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2),225 ในอันที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาแก่จำเลยวิกลจริต ศาลฎีกาสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษาลงโทษจำเลยมาโดยมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 เสียก่อนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 (2), 225 ในอันที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดในขณะจิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิต และขอบเขตความรับผิดทางอาญาตามมาตรา 65 วรรคสอง
จำเลยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทเรื้อรัง วันเกิดเหตุโจทก์ร่วมนอนเล่นอยู่บนบ้าน จำเลยไปที่ใต้ถุนบ้านโจทก์ร่วมและพูดคนเดียวโดยไม่มีใครรู้สาเหตุว่า คนแก่อะไรพูดไม่เป็นคำพูด โจทก์ร่วมได้ยินเสียงจำเลย จึงลุกไปที่ประตูถามจำเลยว่าพูดอะไร จำเลยตอบว่าไม่ให้โจทก์ร่วมสนใจและอย่าใช้เสียงดังมิฉะนั้นจะฆ่าให้ตายแล้วจำเลยเดินไปใช้ไม้ขีดไฟจุดเผาหลังคายุ้งข้าวของโจทก์ร่วมพฤติการณ์เช่นนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าสาเหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเพราะโจทก์ร่วมได้ว่ากล่าวจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า บุคคลผู้มีจิตเป็นปกติจะกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยมีอาการทางประสาทมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ คือชอบนั่งคอตกไม่พูดกับใคร ทำงานไม่ได้ ไล่ชกต่อยมารดาและเคยจะฟันพี่ชายพูดด้วยไม่รู้เรื่อง บางครั้งต้องใช้โซ่ล่ามไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะที่จิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิตแต่ยังสามารถรู้ผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเภท: การกระทำความผิดในขณะจิตบกพร่อง
ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยมีอาการทางประสาท ชอบนั่งคอตก ไม่พูดกับใคร กับงานไม่ได้ ไล่ชกต่อยมารดา เคยจะฟันพี่ชาย อาการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คราวละประมาณ30 นาที พูดด้วยไม่รู้เรื่อง บางครั้งก็ต้องใช้โซ่ล่ามจำเลยไว้ วันเกิดเหตุโจทก์ร่วมนอนเล่นอยู่บนบ้าน จำเลยไปที่ใต้ถุนบ้าน โจทก์ร่วมและพูดคนเดียวโดยไม่มีใครรู้สาเหตุว่า "คนแก่อะไร พูดไม่เป็นคำพูด" โจทก์ร่วมได้ยินเสียงจำเลยจึงลุกขึ้นไปที่ประตูถามว่า "เมื่อตะกี้มึงพูดว่าอะไร" จำเลยตอบว่า"เรื่องอะไรเกิดขึ้นไม่สนใจ อย่าใช้เสียงดัง ถ้าส่งเสียงดังจะฆ่าให้ตาย" หลังจากนั้นจำเลยเดินไปใช้ไม้ขีดไฟจุดเผาหลังคายุ้งข้าวของโจทก์ร่วมแล้วหลบหนีไป เช่นนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าสาเหตุคดีนี้เกิดขึ้นเพราะโจทก์ร่วมได้ว่ากล่าวจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน กรณีฟังได้ว่าจำเลยซึ่งป่วยเป็นโรคจิตประเภทชนิดเรื้อรังได้กระทำความผิดในขณะที่มีจิตบกพร่องหรือเป็นโรคจิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเภท: การพิจารณาความสามารถในการรู้ผิดชอบ
จำเลยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทเรื้อรัง วันเกิดเหตุ โจทก์ร่วมนอนเล่นอยู่บนบ้าน จำเลยไปที่ใต้ถุนบ้านโจทก์ร่วมและพูดคนเดียวโดยไม่มีใครรู้สาเหตุว่า คนแก่อะไร พูดไม่เป็นคำพูด โจทก์ร่วมได้ยินเสียงจำเลยจึงลุกไปที่ประตูถามจำเลยว่าพูดว่าอะไร จำเลยตอบว่าไม่ให้โจทก์ร่วมสนใจและอย่าใช้เสียงดังมิฉะนั้นจะฆ่าให้ตาย แล้วจำเลยเดินไปใช้ไม้ขีดไฟจุดเผาหลังคายุ้งข้าวของโจทก์ร่วม พฤติการณ์เช่นนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าสาเหตุคดีนี้เกิดขึ้นเพราะโจทก์ร่วมได้ว่ากล่าวจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นขึ้นมาอย่างฉับพลัน การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าบุคคลผู้มีจิตเป็นปกติจะกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยมีอาการทางประสาทมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ คือชอบนั่งคอตก ไม่พูดกับใคร ทำงานไม่ได้ ไล่ชกต่อมารดาและเคยจะฟันพี่ชาย พูดด้วยไม่รู้เรื่อง บางครั้งต้องใช้โซ่ล่ามไว้พฤติการณ์เช่นนี้ ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในขณะที่มีจิตบกพร่อง หรือเป็นโรคจิตแต่ยังสามารถรู้ผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จิตบกพร่อง/จิตฟั่นเฟือน และความรับผิดทางอาญา: การกระทำโดยไม่สามารถรู้ผิดชอบ
แม้จะไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งตัวจำเลยไปให้จิตแพทย์ตรวจและลงความเห็น แต่พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำของผู้ที่มีจิตบกพร่อง และได้กระทำไปขณะที่จำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะจิตบกพร่องหรือจิตฟั่นเฟือนแม้การที่จำเลยมีจิตบกพร่องหรือจิตฟั่นเฟือนนั้นจะไม่เป็นอยู่ตลอดเวลาจำเลยก็ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65.(ที่มา-เนติ)