พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8699/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก: การพิพากษาคดีและการพิจารณาความบกพร่องทางจิต
จำเลยเรียกผู้เสียหายซึ่งเล่นอยู่กับเพื่อนให้ไปพบจำเลยที่ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และห้องน้ำชาย แสดงว่าจำเลยเป็นผู้เลือกที่จะกระทำกับผู้เสียหายและเลือกสถานที่กระทำความผิด ที่ล้วนแต่เป็นที่ลับตาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากกระทำชำเราผู้เสียหายที่ห้องน้ำชายแล้ว จำเลยยังบอกผู้เสียหายว่า จำเลยจะออกจากห้องน้ำไปก่อนให้ผู้เสียหายนับ 1 ถึง 200 แล้วจึงออกจากห้องน้ำ บ่งชี้ว่าจำเลยรู้สำนึกในการกระทำความผิดของตน รู้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จึงหาทางกลบเกลื่อนและหลบซ่อนจากการรู้เห็นของผู้อื่น อันเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบและยังสามารถบังคับตนเองได้ จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในขณะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน แต่ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ที่ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.อ. มาตรา 65
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุจิตบกพร่องหลังศาลชั้นต้นพิพากษา
การที่จำเลยให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตลอดข้อหา และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยต่อมาจำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่สมควรต้องรับโทษเพราะเหตุจิตบกพร่องตาม ป.อ. มาตรา 65 ขึ้นกล่าวอ้าง จึงเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกายผู้บุพการีและผลกระทบจากอาการป่วยทางจิตต่อการลดโทษ
ผู้เสียหายทั้งสองเป็นมารดาและตาซึ่งเป็นบุพการีของจำเลย จำเลยใช้ค้อนที่ถืออยู่ในมือขณะตอกตะปูฝาบ้านตีผู้เสียหายที่ 1 แทบจะในทันทีที่ผู้เสียหายที่ 1 พูดห้ามให้หยุดตอกตะปู และใช้ค้อนดังกล่าวตีผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งอยู่คนละบ้านในเวลาต่อเนื่องกัน เมื่อพิจารณาความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยและผู้เสียหายทั้งสองแล้ว เหตุที่ผู้เสียหายที่ 1 พูดห้ามปรามจำเลย และผู้เสียหายที่ 2 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยในขณะนั้น ประกอบกับจำเลยเจ็บป่วยทางจิตประสาทมานานหลายปีแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองคงมีเพียงเจตนาจะทำร้ายร่างกายเท่านั้น
ขณะที่จำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างพิจารณาอยู่ในเรือนจำ จำเลยก่อเหตุทำร้ายร่างกายผู้ที่ถูกควบคุมอยู่ด้วยกันหลายรายเป็นการผิดปกติ เรือนจำจังหวัดนนทบุรีจึงมีหนังสือขออนุญาตศาลส่งตัวจำเลยไปรับการตรวจวินิจฉัยที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ผลการตรวจพบว่าจำเลยมีอาการจิตหวาดระแวง ขณะประกอบคดีไม่รู้ผิดชอบ ขณะนี้สามารถต่อสู้คดีได้ ทั้งในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันสอบคำให้การจำเลยได้บันทึกถึงความผิดปกติในการพูดของจำเลยมีลักษณะควบคุมเรื่องที่พูดไม่ได้และมีอาการไม่ปกติ ดังนั้น ข้อเท็จจริงเรื่องผลการวินิจฉัยของแพทย์ดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดีที่ศาลรับฟังได้ และเมื่อรับฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยป่วยทางจิตประสาทมาหลายปี พยานหลักฐานดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่าขณะทำความผิดจำเลยมีความผิดปกติในลักษณะที่มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลย เมื่อจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 แล้วก็เดินออกจากบ้านพักเพื่อไปมอบตัวกับเจ้าพนักงานตำรวจแต่ไม่พบ จึงเดินย้อนกลับมา ระหว่างทางผ่านบ้านของผู้เสียหายที่ 2 จึงเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยเดินทางไปมอบตัวกับพนักงานสอบสวน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าขณะกระทำความผิดจำเลยยังพอจะมีความรู้สึกผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ขณะที่จำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างพิจารณาอยู่ในเรือนจำ จำเลยก่อเหตุทำร้ายร่างกายผู้ที่ถูกควบคุมอยู่ด้วยกันหลายรายเป็นการผิดปกติ เรือนจำจังหวัดนนทบุรีจึงมีหนังสือขออนุญาตศาลส่งตัวจำเลยไปรับการตรวจวินิจฉัยที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ผลการตรวจพบว่าจำเลยมีอาการจิตหวาดระแวง ขณะประกอบคดีไม่รู้ผิดชอบ ขณะนี้สามารถต่อสู้คดีได้ ทั้งในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันสอบคำให้การจำเลยได้บันทึกถึงความผิดปกติในการพูดของจำเลยมีลักษณะควบคุมเรื่องที่พูดไม่ได้และมีอาการไม่ปกติ ดังนั้น ข้อเท็จจริงเรื่องผลการวินิจฉัยของแพทย์ดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดีที่ศาลรับฟังได้ และเมื่อรับฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยป่วยทางจิตประสาทมาหลายปี พยานหลักฐานดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่าขณะทำความผิดจำเลยมีความผิดปกติในลักษณะที่มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลย เมื่อจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 แล้วก็เดินออกจากบ้านพักเพื่อไปมอบตัวกับเจ้าพนักงานตำรวจแต่ไม่พบ จึงเดินย้อนกลับมา ระหว่างทางผ่านบ้านของผู้เสียหายที่ 2 จึงเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยเดินทางไปมอบตัวกับพนักงานสอบสวน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าขณะกระทำความผิดจำเลยยังพอจะมีความรู้สึกผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาการทางจิตขณะกระทำความผิด: จำเลยต้องยกเหตุในศาลชั้นต้นจึงจะได้รับการพิจารณา
ปัญหาว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเหตุว่ามีอาการทางจิตในขณะกระทำความผิดขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาปรับแก่ข้อกฎหมายได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุอาการทางจิตหลังศาลชั้นต้น: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเหตุว่ามีอาการทางจิตในขณะกระทำความผิดขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาปรับแก่ข้อกฎหมายได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญา: การกระทำความผิดโดยผู้ป่วยทางจิต และการพิจารณาความสามารถในการรู้ผิดชอบ
จำเลยมีอาการป่วยทางจิตคล้ายเป็นโรคจิตเภทโดยมีอาการระแวง จึงไปรับการรักษาที่คลินิกรวม 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายจำเลยบอกแพทย์ที่รักษาว่าหายแล้ว ขอเลิกกินยา แสดงว่าอาการของจำเลยต้องดีขึ้น สามารถพูดจารู้เรื่องแล้ว ก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 เดือน จำเลยเคยนำอาวุธปืนของกลางออกไปใช้แล้วนำกลับไปคืนที่บ้าน ม. ในวันเกิดเหตุจำเลยงัดกุญแจประตูห้องนอน ม. แล้วนำอาวุธปืนของกลางออกไป โดยก่อนไปยังขอเงินภริยาจำเลยเพื่อเติมน้ำมันแล้วขับรถยนต์ออกไป หลังเกิดเหตุมีการใช้อาวุธปืนยิง ป. ผู้ตาย จำเลยยังสามารถขับรถยนต์หลบหนีกลับบ้านได้ ในชั้นสอบสวนจำเลยพูดจารู้เรื่องสามารถพูดโต้ตอบได้ จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดในขณะยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือสามารถบังคับตนเองได้บ้างตาม ป.อ. มาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษทางอาญา: การบรรเทาโทษ, ความสามารถในการรู้ผิดชอบ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
พฤติการณ์แห่งคดีตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดข่มขู่หรือชักชวนให้จำเลยกระทำความผิด และจำเลยสามารถหลบหนีไปโดยว่าจ้างรถสามล้อเครื่องให้ไปส่งที่บ้านเพื่อน แสดงว่าระดับเชาวน์ปัญญาของจำเลยไม่ได้อยู่ในระดับปัญญาอ่อนรุนแรง จำเลยกระทำความผิดในขณะสามารถรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้ จึงไม่เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นโทษหรือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 65
การที่บิดาของจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์จำเลย ก็เป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ส่วนที่จำเลยได้บรรเทาผลร้ายโดยการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยตามบันทึกชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการบรรเทาผลร้าย จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
การที่บิดาของจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์จำเลย ก็เป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ส่วนที่จำเลยได้บรรเทาผลร้ายโดยการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยตามบันทึกชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการบรรเทาผลร้าย จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าจากอาการป่วยจิตเวช: ศาลลดโทษด้วยเหตุผลทางการแพทย์และรอการลงโทษ
จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองยาวขนาด 12 ยิงผู้เสียหายในระยะอยู่ห่างกันประมาณ7 วา ซึ่งโดยปกติย่อมมีความรุนแรงมากทั้งกระสุนปืนกระจายออกเป็นวง โอกาสที่จะยิงพลาดเป้าหมายในระยะดังกล่าวแทบไม่มี เมื่อเสื้อที่ผู้เสียหายสวมใส่ในขณะถูกยิงมีรอยกระสุน 5 แห่ง เป็นกลุ่ม แต่ละรอยห่างกันประมาณ 1 ถึง 2 นิ้ว ไม่มีรอยใดเป็นรูทะลุเสื้อ เพียงปรากฏเป็นรอยเท่านั้น กลุ่มรอยกระสุนปืนอยู่บริเวณใต้ชายโครงซ้ายและหน้าท้องด้านซ้าย แสดงว่ากระสุนปืนทั้ง 5 ลูก ถูกร่างกายของผู้เสียหายบริเวณดังกล่าวแต่ไม่มีความรุนแรงพอที่จะทำอันตรายทะลุเสื้อและผิวหนังเข้าไปสู่อวัยวะภายในร่างกายผู้เสียหายได้ อาวุธปืนที่จำเลยยิง จึงไม่มีความร้ายแรงพอที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 81 วรรคหนึ่ง
จำเลยกับผู้เสียหายไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ทั้งไม่มีมูลเหตุใดรุนแรงพอที่จะต้องทำร้ายกัน เมื่อฟังประกอบคำเบิกความของพี่สาวจำเลยที่ว่าจำเลยต้องไปพบแพทย์เพื่อรับยา 2 เดือนต่อครั้ง หากจำเลยไม่ได้รับประทานยาจะมีอาการคลุ้มคลั่ง การที่จำเลยคาดคิดว่าผู้เสียหายลักรองเท้าจำเลยไปจึงถือเอาเป็นเหตุโกรธแค้น นับว่าจำเลยมีความผิดปกติในความคิดและการรับรู้แล้วแสดงออกด้วยการใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ซึ่งกระทำไปเพราะความเป็นโรคจิตเภทแต่การที่จำเลยเชื่อฟังและมีอาการสงบลงเมื่อมารดาและพี่สาวจำเลยเข้าห้ามปรามแสดงว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างจำเลยจึงต้องรับโทษสำหรับการกระทำความผิดนั้น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
จำเลยกับผู้เสียหายไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ทั้งไม่มีมูลเหตุใดรุนแรงพอที่จะต้องทำร้ายกัน เมื่อฟังประกอบคำเบิกความของพี่สาวจำเลยที่ว่าจำเลยต้องไปพบแพทย์เพื่อรับยา 2 เดือนต่อครั้ง หากจำเลยไม่ได้รับประทานยาจะมีอาการคลุ้มคลั่ง การที่จำเลยคาดคิดว่าผู้เสียหายลักรองเท้าจำเลยไปจึงถือเอาเป็นเหตุโกรธแค้น นับว่าจำเลยมีความผิดปกติในความคิดและการรับรู้แล้วแสดงออกด้วยการใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ซึ่งกระทำไปเพราะความเป็นโรคจิตเภทแต่การที่จำเลยเชื่อฟังและมีอาการสงบลงเมื่อมารดาและพี่สาวจำเลยเข้าห้ามปรามแสดงว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างจำเลยจึงต้องรับโทษสำหรับการกระทำความผิดนั้น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่า และพกพาอาวุธปืน โดยประเด็นสำคัญคือการวินิจฉัยภาวะจิตของผู้กระทำผิด
จำเลยซึ่งเป็นคนวิกลจริตกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นฐานพยายามฆ่าผู้อื่นฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาในคดีพยายามฆ่า: การพิสูจน์อาการทางจิตที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับผิด
เอกสารที่จำเลยนำมาแสดงอ้างว่าตนเป็นโรคประสาทเคยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีธัญญานั้น เป็นเพียงบัตรประจำตัวคนไข้ จำเลยมิได้นำแพทย์ผู้ตรวจรักษามายืนยันว่าตนป่วยเป็นโรคประสาทจนถึงขนาดกระทำการโดยไม่รู้สึกตัวทั้งในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยว่าพยายามฆ่า จำเลยให้การปฏิเสธซึ่งจำเลยเข้าใจคำถามและตอบคำถามได้เหมือนคนปกติส่วนที่แพทย์ผู้ตรวจรักษาบาดแผลของจำเลยระบุว่าจำเลยมีอาการเบลอ ๆ ไม่ค่อยได้สตินั้นอาจเกิดจากการที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนมาก่อนเกิดเหตุจนมีอาการมึนเมาก็เป็นได้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าขณะจำเลยกระทำความผิด จำเลยมีอาการทางจิตประสาทไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้