พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานตำรวจต้องแสดงตัวชัดเจน การต่อสู้ขัดขวางจึงจะผิด
สิบตำรวจตรี ย. และสิบตำรวจตรี ส. ไม่ได้แสดงหลักฐานหรือบอกกล่าวแก่จำเลยขณะจะเข้าตรวจค้นว่าตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจกระทำการตามหน้าที่ และมิได้แต่งเครื่องแบบตำรวจ เมื่อจำเลยไม่มีทางรู้ได้ว่าสิบตำรวจตรี ย. และ
สิบตำรวจตรี ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ พฤติการณ์ที่มีชายแปลกหน้า 2 คน เดินตรงเข้าหาจำเลยขณะจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าจอดที่หน้าร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จึงอาจทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าจะเข้ามาทำร้าย และเมื่อจำเลยวิ่งหนี ชายดังกล่าวก็วิ่งไล่หมายจับกุมเช่นนี้ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไว้ชัดเจนว่า ขณะวิ่งไล่จับกุมจำเลยเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นตามคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ตอบพนักงานอัยการผู้แทนโจทก์ถามติง แต่ในชั้นพยานเบิกความตอบคำถามซักและคำถามค้าน หาปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 118 ซึ่งต้องนำมาใช้กับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้าน ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจยกเอาคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ที่ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบว่า พยานเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วมาเป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ได้
สิบตำรวจตรี ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ พฤติการณ์ที่มีชายแปลกหน้า 2 คน เดินตรงเข้าหาจำเลยขณะจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าจอดที่หน้าร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จึงอาจทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าจะเข้ามาทำร้าย และเมื่อจำเลยวิ่งหนี ชายดังกล่าวก็วิ่งไล่หมายจับกุมเช่นนี้ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไว้ชัดเจนว่า ขณะวิ่งไล่จับกุมจำเลยเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นตามคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ตอบพนักงานอัยการผู้แทนโจทก์ถามติง แต่ในชั้นพยานเบิกความตอบคำถามซักและคำถามค้าน หาปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 118 ซึ่งต้องนำมาใช้กับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้าน ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจยกเอาคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ที่ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบว่า พยานเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วมาเป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดขวางการปฏิบัติงานเจ้าพนักงาน-ใช้กำลังประทุษร้าย: การกระทำเพื่อแย่งของทำลายหลักฐานถือเป็นความผิด
การที่จำเลยใช้มือผลักและใช้ตัวดันเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่จากมือเจ้าพนักงานตำรวจไปใส่ปากเคี้ยวเพื่อทำลายหลักฐานนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีหน้าที่และกำลังตรวจค้นเพื่อรวบรวมสิ่งของที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่มีการกล่าวหาหรือที่เจ้าพนักงานตำรวจได้สืบทราบมาหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ส่วนการกระทำของจำเลยที่ใช้มือผลักเจ้าพนักงานตำรวจกระเด็นไปติดประตูแล้วใช้ตัวดันเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตามีนบรรจุมาใส่ปากเพื่อเคี้ยวทำลายหลักฐานนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการผลักและดันของจำเลยว่าเป็นการทำอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของเจ้าพนักงานตำรวจได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาโดยประสงค์ต่อผลในการที่จะกระทำต่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าพนักงานตำรวจก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดขวางการปฏิบัติงานเจ้าพนักงาน-ใช้กำลังประทุษร้าย แม้มิเจตนาทำร้ายร่างกาย ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138
การที่จำเลยใช้มือผลักและใช้ตัวดันเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่จากมือเจ้าพนักงานตำรวจไปใส่ปากเคี้ยวเพื่อทำลายหลักฐานนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีหน้าที่และกำลังตรวจค้นเพื่อรวบรวมสิ่งของที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่มีการกล่าวหาหรือที่เจ้าพนักงานตำรวจได้สืบทราบมาหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ส่วนการกระทำของจำเลยที่ใช้มือผลักเจ้าพนักงานตำรวจกระเด็นไปติดประตูแล้วใช้ตัวดันเพื่อแย่งถุงพลาสติกที่มีเมทแอมเฟตามีนบรรจุมาใส่ปากเพื่อเคี้ยวทำลายหลักฐานนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการผลักและดันของจำเลยว่าเป็นการทำอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของเจ้าพนักงานตำรวจได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฎหมายแล้ว แม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาโดยประสงค์ต่อผลในการที่จะกระทำต่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของเจ้าพนักงานตำรวจก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องอ้างบทกฎหมายที่ต้องการให้ลงโทษ หากมิได้อ้าง ศาลไม่อาจลงโทษในข้อหานั้นได้
แม้โจทก์จะบรรยายข้อเท็จจริงไว้ในคำฟ้องว่า หลังจากจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้วผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจราจรและได้รับแจ้งเหตุให้สกัดจับจำเลยได้ออกมายืนสกัดอยู่กลางถนนและให้สัญญาณมือให้จำเลยหยุดรถเพื่อจับกุมดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่า เพื่อขัดขวางการจับกุม ซึ่งเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 วรรคสองแต่โจทก์ก็มิได้อ้างบทมาตราดังกล่าวซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดและขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำขอท้ายฟ้อง คงอ้างเฉพาะมาตรา 289, 80 เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: การพิจารณาบทมาตราที่อ้างและเจตนาของผู้กระทำ
แม้โจทก์จะบรรยายข้อเท็จจริงไว้ในคำฟ้องว่า หลังจากจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้วผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจราจรและได้รับแจ้งเหตุให้สกัดจับจำเลยได้ออกมายืนสกัดอยู่กลางถนนและให้สัญญาณมือให้จำเลยหยุดรถเพื่อจับกุมดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าเพื่อขัดขวางการจับกุม ซึ่งเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง แต่โจทก์ก็มิได้อ้างบทมาตราดังกล่าวซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดและขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำขอท้ายฟ้องคงอ้างเฉพาะมาตรา 289,80 เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิด พยายามชิงทรัพย์ ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน พยานหลักฐานไม่พอฟัง
จำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า "ถ้ามึงไม่ไป เอารถมาให้กู" นั้น แต่ผู้เสียหายมิได้ให้รถจักรยานยนต์แก่จำเลยไปและจำเลยมิได้แย่งเอารถจากผู้เสียหาย คำพูดของจำเลยจึงมีความหมายเพียงเพื่อต้องการบีบบังคับผู้เสียหายให้ขับรถไปส่งตนเท่านั้น มิได้มีเจตนาจะเอารถไปจากความครอบครองของผู้เสียหายในขณะนั้นแต่อย่างใด หากจำเลยประสงค์จะชิงเอารถที่ผู้เสียหายขับไป ก็น่าจะให้ผู้เสียหายขับรถไปในที่เปลี่ยวแล้วบังคับให้ผู้เสียหายลงจากรถหรือทำร้ายผู้เสียหาย ย่อมเป็นการสะดวกในการชิงทรัพย์มากกว่าที่จะบังคับให้ผู้เสียหายขับรถเข้าไปในเมือง ทั้งผู้เสียหายไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อนดังนั้นการที่จำเลยชักปืนออกมาจี้บังคับผู้เสียหาย น่าเชื่อว่าเพื่อให้ผู้เสียหายยอมตามและขับรถไปส่งในเมืองเท่านั้น หาใช่เพื่อให้ผู้เสียหายมอบรถจักรยานยนต์ให้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ขณะเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 5 เมตร ถ้าจำเลยถือปืนจ้องเล็งมายังเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจคงไม่ทันร้องบอกให้จำเลยวางปืนหรือยิงปืนขู่ก่อน จำเลยอาจยิงเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ทันที แต่ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลที่จำเลยถูกยิง และวิถีกระสุนปืนล้วนแต่เข้าทางด้านหลัง แสดงว่าจำเลยหันหลังวิ่งหนีและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิง น่าเชื่อว่าเมื่อจำเลยเห็นเจ้าพนักงานตำรวจ คงเกิดความกลัวตามสัญชาตญาณของคนร้ายและวิ่งหนีทันทีมิใช่ถือปืนจ้องไว้เฉย ๆ หรือจ้องจะต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาไม่พอฟังลงโทษจำเลยฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุม
จำเลยที่ 1 เพียงแต่เข้าไปชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยต้องขาดรายได้ไปบางส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รบกวนผู้โดยสารอากาศยานให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด กรณีก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1มีความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 มาตรา 4 (2)
ต.มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยต.เป็นเจ้าพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ขณะเกิดเหตุ ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต.อนุญาตให้อ.และ ย.ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยทั้งหก โดย ต.ไปถึงที่เกิดเหตุหลังจากจำเลยทั้งหกหลบหนีไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ เพราะ ต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก และเมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้ว การที่ อ.และ ย.เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางเป็นเหตุให้ อ.และ ย.ได้รับอันตรายเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขนข้อมือและขมับ ก็ต้องถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเองว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตนได้
แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ต.มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยต.เป็นเจ้าพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ขณะเกิดเหตุ ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต.อนุญาตให้อ.และ ย.ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยทั้งหก โดย ต.ไปถึงที่เกิดเหตุหลังจากจำเลยทั้งหกหลบหนีไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ เพราะ ต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก และเมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้ว การที่ อ.และ ย.เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางเป็นเหตุให้ อ.และ ย.ได้รับอันตรายเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขนข้อมือและขมับ ก็ต้องถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเองว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตนได้
แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้รับอำนาจ และการขาดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปเรียกผู้โดยสารในท่าอากาศยานไม่ปรากฎว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด คงเป็นเพียงการเข้าไปชักชวน ผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้ รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานฯ ต้องขาด รายได้ไปบางส่วนก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐาน รบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2528) ข้อ 8(6) งออกตามความในพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 4(2) ต. เป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยจึงเป็นพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฎิบัติการตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2530 ข้อ 2.1 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ต. ได้รับทราบทางวิทยุว่าจำเลยทั้งหกเข้ามารบกวนผู้โดยสารที่บริเวณห้องผู้โดยสารขาเข้า จึงสั่งให้ อ.กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอื่นช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากจำเลยทั้งหกไม่ยอมออกไปก็ให้ทำการจับกุม ต่อมาประมาณ 10 นาที ต. ได้รับแจ้งว่าอ. กำลังถูกรุมทำร้ายจึงรีบวิ่งไปที่เกิดเหตุ เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุพวกจำเลยกระจายกันวิ่งหลบหนี แสดงว่า ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ต.อนุญาตให้อ.ณ.และย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยกรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือกระทำตามหน้าที่เพราะต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฎิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้วการที่ อ.ณ.และย.เข้าจับจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่บุคคลทั้งสามเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นปฎิบัติ การหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,289(3),296 แต่กลับกลายเป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางก็ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุโดยปรากฎตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเพียงเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขน ข้อมือ และขมับการกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางจับกุมและทำร้ายร่างกายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฎิบัติหน้าที่นี้กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฎิบัติหน้าที่แทนตน เห็นได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ดังจะเห็นได้ในคดีนี้ว่าผู้จับวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ และแม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7985/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่: อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและขอบเขตการจับกุม
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้
ตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วยดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลย ผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วยดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลย ผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7985/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงาน: การปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าพนักงานอื่นตาม พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้ ตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497มาตรา 16(2) กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจและมาตรา 29 เจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงจะมีอำนาจตามกฎหมายและให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำผิดต่อกฎหมายแต่ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วย ดังนี้ การที่ไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลยผู้เสียหายจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่