คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 138

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน-พยายามฆ่า แม้ร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ศาลพิพากษาลงโทษกระทงหลังแยกจากกันได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ส่วนโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่อีกด้วย ความผิดในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาข้อหานี้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยกับพวกทุกคนต่างมีอาวุธปืนติดตัวร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์ ตำรวจพบจำเลยกับพวกกำลังกระทำความผิดจึงเข้าจับกุม พวกจำเลยยิงปืนใส่ตำรวจแล้วหลบเข้าที่กำบัง หลังจากยิงต่อสู้กันได้ประมาณ 5 นาที พวกจำเลยหลบหนีไปได้คงเหลือจำเลยซึ่งถูกยิงบาดเจ็บพฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ตำรวจดังกล่าวแม้จะไม่ปรากฏว่าใครยิงบ้างก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันยิงเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาโดยการขัดขวางมิให้ตำรวจจับกุมจำเลยกับพวกในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งนอกเหนือจากความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ เพราะเป็นความผิดต่างฐานกันและมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกจากกันได้
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับโดยแก้ไขมาตรา 91 ให้เป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 91 เดิม ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะ กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี ประกอบด้วยมาตรา80 กระทงหนึ่ง จำคุก 15 ปี 6 เดือน และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140,289 ประกอบด้วยมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง เมื่อลงโทษตามมาตรา 289ประกอบด้วย มาตรา 80 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่ต้องนำโทษตามความผิดกระทงแรกมารวมเข้าด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุมเจ้าพนักงาน แม้ผู้ถูกจับไม่ถูกฟ้อง ก็ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138
พยานโจทก์ปากหนึ่งเบิกความถึงวันเกิดเหตุแตกต่างไปจากคำเบิกความของพยานโจทก์อีกสองปากที่เบิกความถึงวันเกิดเหตุตรงตามฟ้อง ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นกรณีที่พยานโจทก์ปากนั้นจำวันเกิดเหตุคลาดเคลื่อนไป เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยคำพยานดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นฟังข้อเท็จจริงว่าวันเวลาเกิดเหตุตรงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
การที่จำเลยขัดขวางเจ้าพนักงานตำรวจในการเข้าจับกุม ก.ในข้อหาเล่นการพนัน ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยไม่ปรากฏว่าการเข้าจับกุมดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 แล้ว แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก. ก็จะถือว่าไม่มีการเล่นการพนัน หรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุม – วันเกิดเหตุคลาดเคลื่อน – คำสั่งไม่ฟ้องไม่กระทบความผิด
พยานโจทก์ปากหนึ่งเบิกความถึงวันเกิดเหตุแตกต่างไปจากคำเบิกความของพยานโจทก์อีกสองปากที่เบิกความถึงวันเกิดเหตุตรงตามฟ้อง ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นกรณีที่พยานโจทก์ปากนั้นจำวันเกิดเหตุคลาดเคลื่อนไป เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยคำพยานดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นฟังข้อเท็จจริงว่าวันเวลาเกิดเหตุตรงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
การที่จำเลยขัดขวางเจ้าพนักงานตำรวจในการเข้าจับกุม ก. ในข้อหาเล่นการพนัน ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยไม่ปรากฏว่าการเข้าจับกุมดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 แล้ว แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก. ก็จะถือว่าไม่มีการเล่นการพนัน หรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางการดำเนินงานของกรรมการควบคุมบริษัทเงินทุน และความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัทเงินทุนที่ถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ได้ขัดขวางแย่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมใหญ่แทนประธานกรรมการควบคุมบริษัทโดยมิได้รับมอบหมาย เป็นการฝ่าฝืนเข้ากระทำกิจการของบริษัทจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 60,73
ประธานกรรมการบริษัทมีฐานะเป็นกรรมการบริษัทคนหนึ่ง
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯมิได้ระบุให้คณะกรรมการควบคุมบริษัทมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน คณะกรรมการดังกล่าวจึงมิใช่เจ้าพนักงานตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญาทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยซึ่งแย่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมใหญ่ จึงไม่มีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องการลงโทษคดีอาวุธปืนและการขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกายกคำร้องเนื่องจากจำเลยมีสิทธิฎีกาจำกัดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 1 ปี และปรับ 2,000 บาท ฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ จำคุก 6 เดือนและปรับ 500 บาท ฐานยิงปืนในหมู่บ้าน ปรับ 250 บาท ฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน จำคุก 2 เดือน และปรับ 500 บาท รวมจำคุก 1 ปี 8 เดือนและปรับ 3,250 บาทและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ภายในกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะจำคุก 3 เดือนฐานยิงปืนในหมู่บ้าน ปรับ 250 บาท ฐานขัดขวางเจ้าพนักงานจำคุก 1 เดือน รวมจำคุก 10 เดือน ปรับ 250 บาทโดยไม่รอการลงโทษ เป็นความผิด 4 กระทง แต่ละกระทง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แม้ศาลอุทธรณ์จะแก้เป็นไม่รอการลงโทษ จำเลยก็ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี แม้มีการแก้โทษไม่รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 1 ปี และปรับ 2,000 บาท ฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ จำคุก 6 เดือนและปรับ 500 บาท ฐานยิงปืนในหมู่บ้าน ปรับ 250 บาท ฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน จำคุก 2 เดือน และปรับ 500 บาท รวมจำคุก 1 ปี 8 เดือน และปรับ 3,250 บาทและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ภายในกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 6 เดือนฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะจำคุก 3 เดือนฐานยิงปืนในหมู่บ้าน ปรับ 250 บาท ฐานขัดขวางเจ้าพนักงานจำคุก 1 เดือน รวมจำคุก 10 เดือน ปรับ 250 บาทโดยไม่รอการลงโทษ เป็นความผิด 4 กระทง แต่ละกระทง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แม้ศาลอุทธรณ์จะแก้เป็นไม่รอการลงโทษ จำเลยก็ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุมเจ้าพนักงานด้วยการใช้กำลัง การกระทำเข้าข่ายประทุษร้ายตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานตำรวจไล่จับญาติของจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในข้อหาฆ่าคนตายจำเลยที่ 1 กอดเอวเจ้าพนักงานตำรวจคนหนึ่ง จำเลยที่ 2 ดึงเสื้อเจ้าพนักงานตำรวจอีกคนหนึ่งไว้ เพื่อมิให้เจ้าพนักงานจับกุมผู้ต้องหาการที่จำเลยที่ 1 กอดเอวและจำเลยที่ 2 ดึงเสื้อนั้นเป็นการใช้แรงกายกระทำต่อกายของเจ้าพนักงานตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(6) เพื่อต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461-2462/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์, ครอบครองอาวุธปืน, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, และการเสียชีวิตของตัวประกัน
ขณะเข้าปล้น จำเลยที่ 1 ถือปืนสั้น จำเลยที่ 2 ถือปืนยาว ต่อมาในขณะถูกจับพบปืนลูกซองสั้นข้างตัวจำเลยที่ 1 ค้นตัวพบกระสุนปืนลูกซอง 2 นัด ส่วนจำเลยที่ 2 มีปืนลูกซองยาวอยู่ที่หว่างขา ค้นตัวพบกระสุนปืนลูกซอง 2นัด แม้ปืนลูกซองยาวจะเป็นปืนของเจ้าทรัพย์และมีทะเบียน แต่จำเลยที่ 2 นำมาไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเช่นนี้ก็เป็นความผิด จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
จำเลยทั้งสองร่วมทำการปล้นทรัพย์ แล้วบังคับเอาตัวเจ้าทรัพย์และบุตรไปเป็นตัวประกัน แม้ที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์จะอยู่ในเขตหมู่ 4 แต่ตำรวจติดตามพบคนร้ายในคืนนั้นเอง ในเขตหมู่ 9 เกิดยิงต่อสู้กัน เป็นเหตุให้บุตรผู้เสียหายถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตาย ก็ต้องถือว่าขณะนั้นการปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอน เพราะยังอยู่ในระหว่างที่ถูกคนร้ายขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายและบุตร และเพื่อให้ความสะดวกแก่การพาทรัพย์ที่ถูกปล้นไป ทั้งเพื่อให้คนร้ายพ้นจากการจับกุม แม้ไม่ได้ความชัดว่าบุตรผู้เสียหายถึงแก่ความตายเพราะกระสุนปืนของฝ่ายจำเลยหรือฝ่ายตำรวจ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกระทำการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยยิงไปโดยไม่เห็นตัวตำรวจ เพียงแต่รู้ว่าตำรวจยิงมาเท่านั้นเป็นการยิงสุ่มๆ ไปเพื่อขัดขวางมิให้ตำรวจเข้าจับกุม จึงมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่มีผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461-2462/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ขณะเข้าปล้น จำเลยที่ 1 ถือปืนสั้น จำเลยที่ 2 ถือปืนยาว ต่อมาในขณะถูกจับพบปืนลูกซองสั้นข้างตัวจำเลยที่ 1 ค้นตัวพบกระสุนปืนลูกซอง 2 นัด ส่วนจำเลยที่ 2 มีปืนลูกซองยาวอยู่หว่างขา ค้นตัวพบกระสุนปืนลูกซอง 2 นัด แม้ปืนลูกซองยาวจะเป็นปืนของเจ้าทรัพย์และมีทะเบียน แต่จำเลยที่ 2 นำมาไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเช่นนี้ก็เป็นความผิด จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
จำเลยทั้งสองร่วมทำการปล้นทรัพย์ แล้วบังคับเอาตัวเจ้าทรัพย์และบุตรไปเป็นตัวประกัน แม้ที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์จะอยู่ในเขตหมู่ 4 แต่ตำรวจติดมาพบคนร้ายในคืนนั้นเอง ในเขตหมู่ 9 เกิดยิงต่อสู้กัน เป็นเหตุให้บุตรผู้เสียหายถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตาย ก็ต้องถือว่าขณะนั้นการปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอน เพราะยังอยู่ในระหว่างที่ถูกคนร้ายขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายและบุตร และเพื่อให้ความสะดวกแก่การพาทรัพย์ที่ถูกปล้นไป ทั้งเพื่อให้คนร้ายพ้นจากการจับกุม แม้ไม่ได้ความชัดว่าบุตรผู้เสียหายถึงแก่ความตายเพราะกระสุนปืนของฝ่ายจำเลยหรือฝ่ายตำรวจ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกระทำการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยยังไปโดยไม่เห็นตัวตำรวจ เที่ยวแต่รู้ว่าตำรวจยังมาเท่านั้นเป็นการยังสุ่มๆ ไปเพื่อขัดขวางมิให้ตำรวจเข้าจับกุม จึงมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ ไม่มีผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเกินคำขอของโจทก์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเพื่อความถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 140 วรรคสามเกินคำขอของโจทก์ เพราะโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 140 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 140 จึงเป็นผลร้ายแก่จำเลย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1760/2509)
of 18