พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1780/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อซื้อขายเสร็จ การยึดใบคู่มือทะเบียนโดยผู้ไม่ใช่เจ้าของเป็นสิทธิที่ไม่มี
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายริบเงินมัดจำและคืนรถทันทีในสภาพเรียบร้อยทุกประการ" เป็นเพียงการกำหนดวิธีการบังคับเมื่อเกิดกรณีผิดสัญญาขึ้นเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ ถือว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง พ. กับ ป. เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมตกเป็นของ ป. ตั้งแต่ขณะที่การซื้อขายสำเร็จแล้ว
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1780/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อซื้อขายสำเร็จ แม้มีข้อตกลงริบมัดจำ
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า" ... หากผู้ซื้อไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายริบเงินมัดจำและคืนรถทันทีในสภาพเรียบร้อยทุกประการ..." เป็นเพียงการกำหนดวิธีการบังคับเมื่อเกิดกรณีผิดสัญญาขึ้นเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ ถือว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง พ.กับ ป.เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมตกเป็นของ ป.ตั้งแต่ขณะที่การซื้อขายสำเร็จแล้ว
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ไช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ไช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7095/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบยาเสพติดถือเป็นความผิดฐานขาย แม้ยังไม่ได้รับเงิน
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4บัญญัติว่า ขาย หมายความรวมถึง ส่งมอบ ดังนี้การที่จำเลยตกลงขายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ซื้อถึงขั้นส่งมอบเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคาก็เป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนสำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7095/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายยาเสพติดสำเร็จ แม้ยังไม่ชำระเงิน การกระทำร่วมกันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4บัญญัติว่า ขาย หมายความรวมถึง ส่งมอบ ดังนี้การที่จำเลยตกลงขายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ผู้ซื้อถึงขั้นส่งมอบเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคาก็เป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนสำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สิทธิ และความแตกต่างระหว่างภาษีการค้ากับภาษีเงินได้นิติบุคคล
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน โดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่าย ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิ สำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศ การที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิด ปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัดเลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามป.พ.พ.มาตรา 453, 458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการรับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว
ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,350,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาท หากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาท หักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้ว ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12บาท การที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,350,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาท หากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาท หักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้ว ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12บาท การที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สิทธิในภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีส่งออกสินค้าและวันในเอกสารไม่ตรงกัน
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกันโดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่ายส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิสำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศการที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิดปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัด เลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขาย เป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 และ463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453,458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการ รับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลา บัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,250,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาทหากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาทหักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้วผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12 บาทการที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้ง-ความรับผิดจำกัด ห้างหุ้นส่วน/ผู้จัดการ-สัญญาซื้อขาย-กรรมสิทธิ์วัสดุ
จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โดยฟ้องแย้งกล่าวไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วต่อมาในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องแย้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในตอนต้นจะกล่าวว่าฟ้องแย้งข้อ 8 ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งเพิกถอนเฉพาะคำสั่งรับฟ้องแย้งข้อ 8 และคืนค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งข้อ 8 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้ง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด และคืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งให้จำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในข้อ 7 ด้วยแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนคดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้
แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนคดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้
แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องวัสดุอุปกรณ์เสียหายจำกัดเฉพาะการชำระเงิน
จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โดยฟ้องแย้งกล่าวไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วต่อมาในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องแย้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในตอนต้นจะกล่าวว่าฟ้องแย้งข้อ 8ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งเพิกถอนเฉพาะคำสั่งรับฟ้องแย้งข้อ 8 และคืนค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งข้อ 8 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้ง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด และคืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งให้จำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในข้อ 7 ด้วยแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน คดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้ แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1 ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้ได้มาตราฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้ง สิทธิจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน vs. การผ่อนชำระหนี้สัญญาซื้อขาย
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายแม่พันธุ์โคนมจากโจทก์ โดยได้รับแม่พันธุ์โคนมไปถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และนับแต่ทำสัญญา จำเลยชำระค่าแม่พันธุ์โคนมให้แก่โจทก์เพียง 2 งวดเท่านั้น เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่คืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยคืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ หากไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคารวม57,800 บาท กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลย หากคืนไม่ได้หรือไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคาตามฟ้อง ซึ่งไม่มีอายุความ และกรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/33 (2) คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตามทรัพย์คืนหลังบอกเลิกสัญญาซื้อขาย และอายุความของหนี้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายแม่พันธุ์โคนมจากโจทก์โดยได้รับแม่พันธุ์โคนมไปถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้วและนับแต่ทำสัญญา จำเลยชำระค่าแม่พันธุ์โคนมให้แก่โจทก์เพียง 2 งวดเท่านั้น เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่คืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยคืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ หากไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคารวม57,800 บาท กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลย หากคืนไม่ได้หรือไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคาตามฟ้อง ซึ่งไม่มีอายุความ และกรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินเพื่อผ่อนทุกคืนเป็นงวด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/33(2) คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ