คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 458

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายยานพาหนะ, การผิดนัดชำระหนี้, ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์, ดอกเบี้ย, ค่าขึ้นศาล
โจทก์และจำเลยทำสัญญาร่วมลงทุนดำเนินการขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย โดยโจทก์ได้มอบยานพาหนะให้จำเลยควบคุมดูแลรักษาใช้งาน มีกำหนด 60 เดือน นับแต่วันส่งมอบ ยานพาหนะ ทั้งนี้โดยจำเลยต้องเสียค่าตอบแทนให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 2,400,000 บาท ตามสัญญาร่วม ลงทุนและรายละเอียดแนบท้ายสัญญา ต่อมาโจทก์และจำเลยได้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนดังกล่าว โดยโจทก์ตกลง ยินยอมให้ลดค่าตอบแทนลงเหลือเดือนละ 2,000,000 บาท ตั้งแต่งวดที่ 30 ประจำเดือนตุลาคม 2529 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดอายุสัญญา ซึ่งตามรายละเอียดแนบท้ายที่พิพาทข้อ 11.3 ว่าในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะ เปลี่ยนแปลงสัญญาจากการร่วมลงทุนเป็นการซื้อ - ขาย เงินสดแทน จำเลยจะต้องชำระเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือ ทั้งหมดจนวันสิ้นอายุสัญญาบวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะที่ร่วมลงทุนเมื่อสิ้นอายุสัญญาตามข้อ 8.5 นอกจากนี้แล้วสัญญาข้อ 8.6 ซึ่งระบุว่า ในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะซื้อหรือไม่ซื้อยานพาหนะตามมูลค่าที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 8.5 จำเลยจะต้องแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุสัญญา และสัญญาข้อ 8.7 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยตกลงจะซื้อยานพาหนะทั้งหมดหรือบางส่วนตามข้อ 8.5 จำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้จากโจทก์ ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระราคาของ ยานพาหนะดังกล่าวภายในกำหนด ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดเป็นต้นไปจนถึงวันที่โจทก์ได้รับการชำระเงิน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ยอมขายยานพาหนะที่จำเลยได้แจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรตกลงจะซื้อจากโจทก์แต่อย่างใดเลยจึงต้องถือว่าโจทก์ได้ให้คำมั่นว่าจะขายยานพาหนะพิพาทให้จำเลยเมื่อจำเลยแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน โดยจำเลยต้องชำระเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมด จนถึงวันสิ้นอายุสัญญาบวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะที่ร่วมลงทุนเมื่อสิ้นอายุสัญญาตามข้อ 8.5 เป็นราคาของ ยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ การที่จำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นการซื้อขาย อันเป็นการแจ้งแก่โจทก์เช่นนั้นก่อนวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 90 วัน แล้ว สัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเกิดขึ้นทันทีที่คำบอกกล่าวนั้นไปถึงโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 454 วรรคหนึ่ง และเมื่อสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว กรรมสิทธิ์ในยานพาหนะพิพาททั้งหมดย่อมโอนไปยังจำเลยผู้ซื้อตั้งแต่ขณะที่เกิดสัญญาซื้อขายนั้นขึ้นจากการที่โจทก์ได้รับคำบอกกล่าวแสดงความจำนงจะซื้อยานพาหนะพิพาทของจำเลยตาม ป.พ.พ มาตรา 458 แล้ว
เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิตามสัญญาร่วมลงทุนแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญาซื้อขายตามหนังสือของจำเลย ทำให้เกิดสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมมีหนี้ที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้น โดยจำเลยต้องชำระค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมดจนถึงวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน บวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอให้โจทก์รับเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือจำนวน 14,000,000 บาท และมูลค่าคงเหลือของ ยานพาหนะพิพาทจำนวน 6,534,580 บาท รวมเป็นเงิน 20,534,580 บาท จากจำเลยพร้อมกับโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยแต่โจทก์กลับขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยโดยยังไม่ยอมโอนหรือส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้จำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งจะต้องชำระหนี้ตอบแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ไม่เสนอที่จะชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงกระทำ โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 210 โดยจำเลยมีสิทธิที่จะไม่ยอมชำระหนี้ของตนจนกว่าโจทก์จะชำระหนี้ของโจทก์โดยการส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทหรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ด้วย และเมื่อโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดเช่นนี้แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 221 ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457 นั้นหมายถึง ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ซึ่งการซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้น แต่สัญญาขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดจากการที่จำเลยแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญา ซื้อขาย มิใช่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 457 ดังนั้นเมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบหรือโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าว ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการให้จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของยานพาหนะพิพาทในทะเบียนยานพาหนะพิพาทนั้น จึงย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์แต่ผู้เดียวด้วย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 20,534,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้โจทก์ดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนของยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการทั้งหมด จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์และจำเลยเสียค่าใช้จ่ายใน การดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยคนละครึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทเป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ให้แก่โจทก์ และต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาสำหรับคำขอให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว กับเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วยเท่านั้น แต่ปรากฏว่า จำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 189,302.50 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 7,572,126.97 บาท โดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท ด้วย และเสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 200,000 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 10,138,948 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินมา สมควรสั่งคืนแก่จำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: บุคคลภายนอกพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรื่องครอบครองปรปักษ์
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อฟังว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าได้รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรื่องครอบครองปรปักษ์ แต่บุคคลภายนอกพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตามแต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ผูกพันโจทก์ เมื่อฟังว่าจำเลยที่1ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแม้จำเลยที่2จะอ้างว่าได้รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยที่2ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนเจ้าของ: สิทธิในที่ดินจากการซื้อขายจากผู้ครอบครอง
ศ.ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้อนุญาตให้ บ.ใช้ที่ดินพิพาทตั้งโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเป็นการชั่วคราว มิได้มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้ บ. เมื่อเลิกกิจการโรงเรียนแล้ว บ.ก็ต้องออกไปจากที่ดินพิพาทในระหว่างที่ บ.ดำเนินกิจการโรงเรียนอยู่นั้นย่อมถือว่า บ.ครอบครองที่ดินพิพาทแทน ศ.เจ้าของเดิม การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจาก บ.ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองเพราะ บ.ผู้โอนเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทน ศ.โจทก์ผู้รับโอนย่อมได้สิทธิไปเพียงเท่าที่ บ.มีอยู่ในฐานะผู้ยึดถือที่ดินพิพาทแทน ศ.กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์แย่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้า กรรมสิทธิ์โอนเมื่อทำสัญญา, การคืนสินค้าที่รับเกิน, และดอกเบี้ยจากราคาสินค้า
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทยกับให้อำนาจส. มอบอำนาจช่วงได้ และ ส. มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช. พยานเบิกความทุกประการซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใดฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 440 ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อนจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และ179 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การซื้อขายสินค้าเคมีภัณฑ์, และฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติ-บุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทย กับให้อำนาจ ส.มอบอำนาจช่วงได้ และ ส.มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช.พยานเบิกความทุกประการ ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทย-ประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูต-ไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรโอนแล้ว ผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสีย สัญญาประกันภัยเป็นโมฆะ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเลื่อยจักรโดยสภาพแล้วเป็นสังหาริมทรัพย์มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นโรงเลื่อย อันจะเป็นส่วนควบของโรงเลื่อยและเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 การซื้อขายเครื่องจักรจึงสมบูรณ์เมื่อโจทก์กับ น. ได้ตกลงซื้อขายกันกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ขายย่อมโอนไปยัง น. ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 458 แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายจะกำหนดให้การซื้อขายจะต้องไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้ออีก ก็หาทำให้การซื้อขายเครื่องจักรซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไม่ เมื่อกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้ตกไปเป็นของ น.แล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เอาประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เครื่องจักรโอนแล้ว สัญญาประกันภัยจึงสิ้นผล
เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเลื่อยจักร โดยสภาพแล้วเป็นสังหาริมทรัพย์มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นโรงเลื่อย อันจะเป็นส่วนควบของโรงเลื่อยและเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514 การซื้อขายเครื่องจักรจึงสมบูรณ์เมื่อโจทก์กับ น.ได้ตกลงซื้อขายกัน กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ขายย่อมโอนไปยัง น.ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ.มาตรา458 แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายจะกำหนดให้การซื้อขายจะต้องไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้ออีก ก็หาทำให้การซื้อขายเครื่องจักรซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไม่
เมื่อกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้ตกไปเป็นของ น.แล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 863

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย-จำนองที่ดินจากใบมอบอำนาจปลอม แม้เป็นกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส. การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรก แต่คดีนี้ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และต้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้นโจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมที่เกิดจากใบมอบอำนาจปลอมเป็นโมฆะ เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่ต้องผูกพัน
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทตบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส.การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361วรรคแรก แต่คดีนี้ ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และตย้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้น โจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด
of 10