พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขายเหมาสินค้าเสียหาย: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระราคาทั้งหมด แม้สินค้าจะเสียหายเพิ่มเติม
สินค้าพิพาทเป็นสินค้าที่เสียหายเนื่องจากน้ำท่วมและกองรวมไว้ในโกดังโดยมิได้จำแนกว่าเสียหายมากน้อยเป็นจำนวนเท่าใด ในการซื้อขายสินค้าพิพาทดังกล่าวทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขาย และจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อต่างมิได้ยึดถือเอกสารที่ระบุถึงรายการสิ่งของที่ได้รับความเสียหายเป็นข้อสำคัญ หากประสงค์จะซื้อขายสินค้าทั้งหมดที่กองไว้นั้นในลักษณะขายเหมาเมื่อจำเลยประมูลซื้อได้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าทั้งหมดตกเป็นของจำเลยโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สินค้าดังกล่าวเสียหายเพิ่มเติม จำเลยมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์จนครบ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์สมบูรณ์เมื่อมีข้อตกลงและส่งมอบทรัพย์สิน แม้ยังมิได้แจ้งเปลี่ยนชื่อต่อผู้ให้เช่า
ระเบียบขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่มีข้อห้ามการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ เพียงแต่จะให้ไปทำการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้น เมื่อผู้เช่าสิทธิการเช่าโทรศัพท์ขายสิทธิให้แก่ผู้ร้อง การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จึงสมบูรณ์ตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงซื้อขายสิทธิการเช่าและส่งมอบเครื่องโทรศัพท์ให้ฝ่ายผู้รับโอนครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดสิทธิการเช่าดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนทรัพย์หลังเจ้าของเสียชีวิต ไม่ถือว่าผู้รับโอนไม่มีกรรมสิทธิ์ หากสุจริตและขาดเจตนาทุจริต
การรับโอนทรัพย์ของผู้ตายภายหลังเจ้าของทรัพย์ตายแล้ว ไม่แน่เสมอไปว่าผู้รับโอนจะไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะอาจได้รับโอนทรัพย์มาจากทายาทของผู้ตายก็ได้
จำเลยมีทะเบียนรถแสดงว่าได้รับโอนรถจักรยานยนต์คันพิพาท จากเจ้าของ ก่อนนำรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจำเลยบอกกับโจทก์ว่ารถจักรยานยนต์เป็นของจำเลยและเอาทะเบียนรถให้ดู เมื่อพนักงานสอบสวนเรียกจำเลยไปพบจำเลยก็นำทะเบียนรถไปแสดง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่ารถจักรยานยนต์คันพิพาทเป็นของตน และเอารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจากความครอบครองของโจทก์โดยขาดเจตนาทุจริต จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยมีทะเบียนรถแสดงว่าได้รับโอนรถจักรยานยนต์คันพิพาท จากเจ้าของ ก่อนนำรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจำเลยบอกกับโจทก์ว่ารถจักรยานยนต์เป็นของจำเลยและเอาทะเบียนรถให้ดู เมื่อพนักงานสอบสวนเรียกจำเลยไปพบจำเลยก็นำทะเบียนรถไปแสดง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่ารถจักรยานยนต์คันพิพาทเป็นของตน และเอารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจากความครอบครองของโจทก์โดยขาดเจตนาทุจริต จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนทรัพย์หลังเจ้าของเสียชีวิตและการขาดเจตนาทุจริตในการครอบครอง
การรับโอนทรัพย์ของผู้ตายภายหลังเจ้าของทรัพย์ตายแล้ว ไม่แน่เสมอไปว่าผู้รับโอนจะไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะอาจได้รับโอนทรัพย์ มาจากทายาทของผู้ตายก็ได้
จำเลยมีทะเบียนรถแสดงว่าได้รับโอนรถจักรยานยนต์คันพิพาท จากเจ้าของ ก่อนนำรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจำเลยบอกกับโจทก์ว่ารถจักรยานยนต์เป็นของจำเลยและเอาทะเบียนรถให้ดู เมื่อพนักงานสอบสวนเรียกจำเลยไปพบจำเลยก็นำทะเบียนรถไปแสดงพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่ารถจักรยานยนต์คันพิพาทเป็นของตน และเอารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจากความครอบครองของโจทก์โดยขาดเจตนาทุจริต จำเลยจึงไม่มีความผิด ฐานลักทรัพย์
จำเลยมีทะเบียนรถแสดงว่าได้รับโอนรถจักรยานยนต์คันพิพาท จากเจ้าของ ก่อนนำรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจำเลยบอกกับโจทก์ว่ารถจักรยานยนต์เป็นของจำเลยและเอาทะเบียนรถให้ดู เมื่อพนักงานสอบสวนเรียกจำเลยไปพบจำเลยก็นำทะเบียนรถไปแสดงพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่ารถจักรยานยนต์คันพิพาทเป็นของตน และเอารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจากความครอบครองของโจทก์โดยขาดเจตนาทุจริต จำเลยจึงไม่มีความผิด ฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถหลังเจ้าของเสียชีวิต & เจตนาทุจริตในความผิดฐานลักทรัพย์
การรับโอนทรัพย์ของผู้ตายภายหลังเจ้าของทรัพย์ตายแล้วไม่แน่เสมอไปว่าผู้รับโอนจะไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะอาจได้รับโอนทรัพย์มาจากทายาทของผู้ตายก็ได้ จำเลยมีทะเบียนรถแสดงว่าได้รับโอนรถจักรยานยนต์คันพิพาทจากเจ้าของก่อนนำรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจำเลยบอกกับโจทก์ว่ารถจักรยานยนต์เป็นของจำเลยและเอาทะเบียนรถให้ดูเมื่อพนักงานสอบสวนเรียกจำเลยไปพบจำเลยก็นำทะเบียนรถไปแสดงพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่ารถจักรยานยนต์คันพิพาทเป็นของตนและเอารถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปจากความครอบครองของโจทก์โดยขาดเจตนาทุจริตจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้นบริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภทจำนวนและราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาดกรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกันการจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้วโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่1และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปก่อนจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่1ตกลงไว้กับโจทก์. จำเลยที่1ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปจำเลยที่1ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้นและกรณีนี้มีอายุความ10ปีนับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว. จำเลยที่2ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่าจำเลยที่2ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่1กับพวกและได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่1ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่าจำเลยที่2ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1ไม่ได้ทำในนามของตนเองประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวดังนั้นแม้จำเลยที่2จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญากรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่าลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่2ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิและหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้น บริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภท จำนวน และราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกัน การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้ว โจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่ 1 และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ตกลงไว้กับโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้น และกรณีนี้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่ 1 กับพวก และได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำในนามของตนเอง ประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญา กรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่า ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้น และกรณีนี้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่ 1 กับพวก และได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำในนามของตนเอง ประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญา กรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่า ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในรถยนต์หลังซื้อขายและอำนาจฟ้องคดีค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์ที่ 1 ขอซื้อรถยนต์จากบริษัท ส.โดยมีข้อสัญญาไม่ให้โจทก์ที่ 1 จำหน่ายจ่ายโอนหรือให้ผู้อื่นครอบครองใช้รถยนต์คันนั้น ต่อมาโจทก์ที่ 1 ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบริษัท ส. ก็ทราบและไม่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญากับโจทก์ที่ 1 คงรับเงินค่างวดรถจากโจทก์ที่ 1 ตลอดมา เมื่อโจทก์ที่ 1 ขายรถให้โจทก์ที่ 2 แล้วก็ได้ส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ที่ 2 ใช้ประโยชน์ในรถคันดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 รับโอนรถคันพิพาทมาโดยชอบ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดทำให้รถเสียหายได้
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสและจะสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474 ก็ไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์พิพาท
ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสและจะสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474 ก็ไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การฟ้องฐานฉ้อโกงและแจ้งความเท็จไม่สมบูรณ์หากกรรมสิทธิ์ยังไม่เปลี่ยนมือ
จำเลยที่ 2 ขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีซึ่งมีหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักรให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบเครื่องจักรแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 ด้วย ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์คือเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปพูดหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือดังกล่าวให้ไป การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงเพราะหนังสือนั้นเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จหรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารอันจะเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้โจทก์หมดแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดแทน จำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ การที่จำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมโอนขายเครื่องจักรในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องจักรทำให้เปลี่ยนสถานะเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย
เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 แล้ว ย่อมเปลี่ยนสถานะจาสังหาริมทรัพย์ธรรมดากลายมาเป็นสังหาริ่มทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักรฯ ด้วย มิฉะนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์