คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 458

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเหมา การโอนกรรมสิทธิ์เมื่อทำสัญญา และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
การซื้อขายตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นการซื้อเหมาจำนวนทรัพย์ที่จะซื้อขายมีจำนวนแน่นอน ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจนับอย่างใดอีก ฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน ส่วนเรื่องการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดี และรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขาย ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรค 2 ประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึง บุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระ โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม่แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้ การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆ จะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรค 2 มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเหมา การโอนกรรมสิทธิ์ และอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าซื้อขาย
การซื้อขายตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นการซื้อเหมาจำนวนทรัพย์ที่จะซื้อขายมีจำนวนแน่นอนไม่จำเป็นต้องมีการตรวจนับอย่างใดอีกฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน ส่วนเรื่องการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดีและรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขายผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคสองประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึงบุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม้แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆจะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน โอนให้ผู้ซื้อที่ครอบครองก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
การทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กันเองนั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแล้ว หาจำต้องจดทะเบียนโอนกันเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่จะควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ ไม่ใช่เป็นแบบของนิติกรรมแต่อย่างใด
เมื่อจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับเจ้าของ พร้อมชำระราคาและรับมอบการครอบครองไว้โดยสุจริตแล้วก่อนโจทก์ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิในรถยนต์ยิ่งกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่: การชำระหนี้ไม่ตรงตามสัญญา, ค่าเสียหาย, และการหักเงินที่จ่ายทดรอง
(1) เมื่อจำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณาในสัญญาจะบังคับให้โจทก์ผู้ซื้อยอมรับชำระหนี้บางส่วนหาได้ไม่ และกรณีอย่างนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้
(2) เรื่องจำนวนค่าเสียหาย เมื่อจำเลยไม่ได้อ้างว่าจำนวนที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินควรอย่างไร ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะแก้
(3) เมื่อเอาสารที่โจทก์อ้างยันอยู่ว่าของที่ซื้อนั้นจำเลยเป็นผู้ออกเงินเอง ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้ช่วยซื้อ เมื่อโจทก์สืบหักล้างไม่ได้ว่าโจทก์ได้ออกเงินแทนไป ก็ต้องหักเงินจำนวนค่าซื้อของนี้ออก
(4) เมื่อศาลชั้นต้นกล่าวในคำพิพากษาว่า น้ำหนักของของที่ส่งไปขายยังสับสนกันอยู่แม้โจทก์จะแถลงว่าได้ขายของนั้นได้เงินมาจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็มิได้คดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ย่อมไม่มีประเด็นในชั้นศาลฎีกาที่จะวินิจฉัยเรื่องขายของในระหว่างคดี หากแต่ต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่: การชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา, คุณภาพสินค้า, ค่าเสียหาย, และการหักเงินทดรอง
(1) เมื่อจำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา แม้จะส่งของทันเวลาแต่ไม่ตรงตามคำพรรณาในสัญญาจะบังคับให้โจทก์ผู้ซื้อยอมรับชำระหนี้บางส่วนหาได้ไม่และกรณีอย่างนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้
(2) เรื่องจำนวนค่าเสียหาย เมื่อจำเลยไม่ได้อ้างว่าจำนวนที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินควรอย่างไรย่อมไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะแก้
(3) เมื่อเอกสารที่โจทก์อ้างยันอยู่ว่าของที่ซื้อนั้นจำเลยเป็นผู้ออกเงินเองส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้ช่วยซื้อ เมื่อโจทก์สืบหักล้างไม่ได้ว่าโจทก์ได้ออกเงินแทนไป ก็ต้องหักเงินจำนวนค่าซื้อของนี้ออก
(4) เมื่อศาลชั้นต้นกล่าวในคำพิพากษาว่า น้ำหนักของของที่ส่งไปขายยังสับสนกันอยู่แม้โจทก์จะแถลงว่าได้ขายของนั้นได้เงินมาจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ย่อมไม่มีประเด็นในชั้นศาลฎีกาที่จะวินิจฉัยเรื่องขายของในระหว่างคดี หากแต่ต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ขายฝาก: สิทธิของผู้ขายฝากแม้กรรมสิทธิ์จะหลุดไปแล้ว และการไม่ถือว่าเป็นบริวาร
แม้บ้านที่ซื้อฝากไว้จะหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้รับซื้อฝากตามกฎหมายแล้วก็ตามแต่ถ้าผู้ขายฝากยังไม่ได้มอบบ้านให้แก่โจทก์ผู้รับซื้อฝาก ผู้รับซื้อฝากจะฟ้องจำเลยผู้อาศัยผู้ขายฝากอยู่ ไม่ฟ้องขอให้ศาลบังคับผู้ขายฝากส่งมอบบ้าน โดยจะถือว่าผู้ขายฝากเป็นบริวารของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ขายฝาก: การส่งมอบทรัพย์สินและการเป็นบริวาร
แม้บ้านที่ซื้อฝากไว้จะหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้รับซื้อฝากตามกฎหมายแล้วก็ตาม แต่ถ้าผู้ขายฝากยังไม่ได้มอบบ้านให้แก่โจทก์ผู้รับซื้อฝาก ๆ จะฟ้อง จำเลยผู้อาศัยผู้ขายฝากอยู่ ไม่ฟ้องขอให้ศาลบังคับผู้ขายฝากส่งมอบบ้าน โดยจะถือว่าผู้ขายฝากเป็นบริวารของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเรือนรื้อถอนติดที่ดิน: กรรมสิทธิ์ในเรือนเป็นของใครเมื่อมีการซื้อขายที่ดินโดยสุจริต?
การซื้อขายเรือนโดยทำสัญญาซื้อขายกันที่กรมการอำเภอโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะได้รื้อเอาไปภายในกำหนด 3 วันนั้นเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ไม่เป็นโมฆะ ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ตามฎีกาที่ 923/85
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเรือนกับเจ้าของเดิม ณ ที่ว่าการอำเภอโดยตกลงกันว่าจะรื้อเรือนไปภายใน 3 วัน แต่แล้วโจทก์กลับไม่รื้อเรือนไปตามข้อตกลงและกลับยอมให้เจ้าของเดิมเช่าเรือนพิพาทต่อไปอีกเป็นเวลานานถึง 10 ปี ถ้าโจทก์จะมีสิทธิเหนือพื้นดินของเจ้าของเดิมก็ต้องจดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1299 จึงจะใช้ยันจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แต่คดีนี้ปรากฏว่าไม่มีนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและโดยเสียค่าตอบแทนทั้งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหลักฐานอีกด้วยเรือนซึ่งเป็นส่วนควบย่อมติดไปกับที่ดินจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในเรือนนี้ด้วย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนที่รื้อถอนได้หลังซื้อขาย แต่ไม่จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ย่อมตกเป็นของเจ้าของที่ดินที่ซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียน
การซื้อขายเรือนโดยทำสัญญาซื้อขายกันที่กรมการอำเภอโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะได้รื้อเอาไปภายในกำหนด 3 วันนั้นเป็นการขายสังหาริมทรัพย์
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเรือนกับเจ้าของเดิม ณ ที่ว่าการอำเภอโดยตกลงกันว่าจะรื้อเรือนไปภายใน 3 วัน แต่แล้วโจทก์กลับไม่รื้อเรือนไปตามข้อตกลงและกลับยอมให้เจ้าของเดิมเช่าเรือนพิพาทต่อไปอีกเป็นเวลานานถึง 10 ปี ถ้าโจทก์จะมีสิทธิเหนือพื้นดินของเจ้าของเดิมก็ต้องจดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. ม.1299 จึงจะใช้ยันจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ แต่คดีนี้ปรากฏว่าไม่มีนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและโดยเสียค่าตอบแทนทั้งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหลักฐานอีกด้วยเรือนซึ่งเป็นส่วนความย่อมติดไปกับที่ดิน จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในเรือนนี้ด้วย.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2499).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอิฐเป็นเตา: กรรมสิทธิ์โอนทันทีเมื่อทำสัญญา แม้ระบุจำนวนโดยประมาณ
ทำสัญญาขายเหมาอิฐ 2 เตา อิฐประมาณสองแสนสองหมื่นแผ่นซึ่งอยู่ที่ลานเป็นเงิน 7,000 บาท ดังนี้เป็นการขายอิฐเป็นเตาซึ่งมีจำนวนแน่นอน คือ สองเตา ราคาก็แน่นอนคือ 7,000 บาท แม้จะได้กล่าวถึงจำนวนอิฐไว้ด้วย ก็เป็นการกล่าวไว้โดยประมาณพอให้เข้าใจว่าอิฐที่ขายมีปริมาณสักเท่าใด กรรมสิทธิ์ในอิฐย่อมผ่านจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญากันแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460
of 10