คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 458

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอิฐเป็นเตา: กรรมสิทธิในทรัพย์สินเกิดขึ้นเมื่อทำสัญญา แม้ระบุปริมาณโดยประมาณ
ทำสัญญาขายเหมาอิฐ 2 เตา อิฐประมาณสองแสนสองหมื่นแผ่น ซึ่งอยู่ที่ลานเป็นเงิน 7,000 บาท ดังนี้เป็นการขายอิฐเป็นเตาซึ่งมีจำนวนแน่นอน คือสองเตาราคาก็แน่นอน คือ 7,000 บาท แม้จะได้กล่าวถึงจำนวนอิฐไว้ด้วย ก็เป็นการกล่าวไว้โดยประมาณพอให้เข้าใจว่าอิฐที่ขายมีปริมาณสักเท่าใดกรรมสิทธิในอิฐย่อมผ่านจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายตั้งแต่ขณะทำสัญญากันแล้ว กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.ม.460

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะขายที่ดินยังไม่สมบูรณ์ เจ้าหนี้จำเลยมีสิทธิยึดได้ แม้ผู้จะซื้อครอบครองแล้ว
ทำสัญญาจะขายที่ดินมือเปล่ากัน แม้จะได้รับชำระราคาบางส่วน และส่งมอบที่ดินให้ผู้จะซื้อครอบครองแล้วก็ตาม ถ้าตามพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้จะขายมีเจตนาเพียงมอบที่ให้ผู้จะซื้อครอบครองแทนเท่านั้นแล้วสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของที่ก็ยังหาเปลี่ยนจากผู้จะขายไปเป็นของผู้จะซื้อไม่ ฉะนั้นในระหว่างนั้น เจ้าหนี้ของผู้จะขายตามคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิยึดที่ดินนั้น เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ดินในการฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่เดิม และเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในที่ดิน
ผู้ซื้อที่ดินฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินนั้นได้ แม้สัญญาซื้อขายจะเกิดจากการกลฉ้อฉลหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกับผู้อาศัย และหากผู้อาศัยทำให้เสียหายในที่ดินที่ได้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้อาศัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ดินในการฟ้องขับไล่ผู้อาศัยเดิม และเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายในที่ดิน
ผู้ซื้อที่ดินฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินนั้นได้แม้สัญญาซื้อขายจะเกิดจากการกลฉ้อฉลหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกับผู้อาศัย และหากผู้อาศัยทำให้เสียหายในที่ดินที่ได้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้อาศัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้เรือนในที่ดินของผู้อื่นตามสัญญาซื้อขาย: สิทธิของจำเลยในการให้เช่า
โจทก์ขายเรือนซึ่งอยู่ในที่ของโจทก์ให้จำเลย โดยมีข้อสัญญากันว่า โจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้ออยู่ในที่ดินมีกำหนด 3 ปี โดยไม่คิดค่าเช่า นับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ ในระยะ 3 ปีนี้จำเลยย่อมเอาเรือนหลังนี้ไปให้คนอื่นเช่าอยู่ได้ เพราะเรือนเป็นของจำเลยผู้ซื้อ จำเลยจะอยู่เองหรือจะให้ใครอยู่ ก็ย่อมมีสิทธิทำได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้เรือนบนที่ดินของผู้อื่นตามสัญญาซื้อขาย: สิทธิในการให้เช่าเป็นสิทธิที่จำเลยมีตามสัญญา
โจทก์ขายเรือนซึ่งอยู่ในที่ของโจทก์ให้จำเลย โดยมีข้อสัญญากันว่าโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้ออยู่ในที่ดินมีกำหนด 3 ปี โดยไม่คิดค่าเช่า นับแต่วันทำสัญญาดังนี้ ในระยะ 3 ปีนี้จำเลยย่อมเอาเรือนหลังนี้ไปให้คนอื่นเช่าอยู่ได้ เพราะเรือนเป็นของจำเลยผู้ซื้อ จำเลยจะอยู่เองหรือจะให้ใครอยู่ ก็ย่อมมีสิทธิทำได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำตาล: ความรับผิดของผู้ขายเมื่อส่งมอบไม่ครบถ้วน และผลของการบังคับซื้อโดยราชการ
โจทก์ได้ทำสัญญาซื้อน้ำตาลจากจำเลย 310 หาบ ซึ่งมีจำนวนแน่นอนอยู่ ณที่ซื้อขายและบรรจุกระสอบไว้เต็มทั้ง 310 กระสอบ กระสอบหนึ่งหนัก 60 กิโลกรัม คือหนึ่งหาบ และน้ำตาลนี้เก็บอยู่เป็นส่วนสัดโดยเฉพาะในการซื้อขายไม่ต้อง ชั่ง ตวงวัดอีก เมื่อโจทก์ได้ชำระราคาเสร็จสิ้นแล้ว แต่ได้มอบให้จำเลยรักษาไว้ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกรรมสิทธิ์ในน้ำตาลได้โอนไปยังผู้ซื้อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 แล้ว เมื่อทางราชการบังคับซื้อไป จำเลยก็ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ทำสัญญาซื้อน้ำตาลจากจำเลย 1740 หาบ โดยไม่มีน้ำตาลอยู่ณที่ซื้อขาย เป็นน้ำตาลที่จำเลยซื้อจากผู้อื่น แยกเก็บไว้ณที่ต่างๆ โจทก์ยังไม่ได้ตรวจดูและยังไม่ได้ชำระค่าน้ำตาล ให้แก่จำเลยทั้งหมดเป็นแต่วางมัดจำไว้ กำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ขายจะต้องนำน้ำตาลไปส่งผู้ซื้อถึงท่าเรือที่ผู้ซื้อนำเรือไปรับ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเด็ดขาดน้ำตาลยังเป็นของจำเลยอยู่ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบให้โจทก์เต็มตามสัญญา เมื่อจำเลยส่งไม่ได้ครบจำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้น้ำตาลจะขาดหายไปเพราะการละลายไหลตามธรรมชาติของน้ำตาลที่เก็บไว้นานก็ดี จำเลยก็ต้องรับผิด เพราะการขาดหายนั้นได้เป็นไปในขณะที่น้ำตาลยังเป็นของจำเลยอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำตาล: กรรมสิทธิโอนเมื่อใด? ความรับผิดของผู้ขายเมื่อส่งมอบไม่ครบ
โจทก์ได้ทำสัญญาซื้อน้ำตาลจากจำเลย 310 หาบ ซึ่งมีจำนวนแน่นอนอยู่ณที่ซื้อขายและบรรจุกระสอบไว้เต็มทั้ง 310 กระสอบ กระสอบหนึ่งหนัก 60 ก.ก.คือหนึ่งหาบ และน้ำตาลนี้เก็บอยู่เป็นส่วนสัดโดยฉะเพาะในการซื้อขายไม่ต้อง ชั่ง ตวง วัดอีก เมื่อโจทก์ได้ชำระราคาเสร็จสิ้นแล้ว แต่ได้มอบให้จำเลยรักษาไว้ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกรรมสิทธิในน้ำตาลได้โอนไปยังผู้ซื้อตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 458 แล้ว เมื่อทางราชการบังคับซื้อไป จำเลยก็ไม่ต้องรับผิด.
โจทก์ทำสัญญาซื้อน้ำตาลจากจำเลย 1740 หาบ โดยไม่มีน้ำตาลอยู่ณที่ซื้อขาย เป็นน้ำตาลที่จำเลยซื้อจากผู้อื่น แยกเก็บไว้ณที่ต่าง ๆ โจทก์ยังไม่ได้ตรวจดูและยังไม่ได้ชำระค่าน้ำตาล ให้แก่จำเลยทั้งหมดเป็นแต่วางมัดจำไว้ กำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ขายจะต้องนำน้ำตาลไปส่งผู้ซื้อถึงท่าเรือที่ผู้ซื้อนำเรือไปรับ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเด็ดขาด น้ำตาลยังเป็นของจำเลยอยู่ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบให้โจทก์เต็มตามสัญญา เมื่อจำเลยส่งไม่ได้ครบจำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้น้ำตาลจะขาดหายไปเพราะการละลายไหลตามธรรมชาติของน้ำตาลที่เก็บไว้นานก็ดี จำเลยก็ต้องรับผิด เพราะการขาดหายนั้นได้เป็นไปในขณะที่น้ำตาลยังเป็นของจำเลยอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การสนองรับและอำนาจผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมฤดกของผู้ตายมีอำนาจนำคดีขึ้นสู่ศาลฟ้องผู้ทำสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ตาย ให้บังคับโอนขายอสังหาริมทรัพย์นั้น แก่กองมฤดกได้
ฟ้องบรรยายมีใจความว่า จำเลยได้เสนอขายที่ดินซึ่งจำนองไว้แก่ผู้ตายเป็นราคา 80000 บาท ผู้ตายได้จ่ายเงินแก่จำเลย และรับใช้หนี้ของจำเลย เมื่อคิดรวมกับหนี้จำนองแล้วเป็นเงิน 80000 บาทพอดี ที่จำเลยเสนอขาย ดังนี้ เป็นฟ้องที่มีข้อความพอให้เข้าใจได้ว่า ได้มีการสนองรับแล้ว แม้ในคำฟ้องจะมิได้กล่าวคำว่าผู้ตายตกลงรับซื้อก็ดี ถือว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกหุ้นส่วน-แบ่งทรัพย์สิน: เจตนาทุจริตเบียดบังทรัพย์สินอาจเข้าข่ายยักยอก
ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงเลิกหุ้นส่วนแบ่งทุนและกำไรกัน ทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของหุ้นส่วนก็เอามาตีราคาแบ่งกันแล้ว แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งจะยังคงครอบครองทรัพย์สินนั้นไว้ต่อไปอีก ถ้าหากมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์นั้น ก็อาจมีความผิดฐานยักยอก
of 10