พบผลลัพธ์ทั้งหมด 255 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาที่ดินและค่าธรรมเนียมการโอน กรณีที่ดินติดถนนสาธารณะหรือไม่ การออกโฉนดที่ดิน
ที่ดินพิพาททิศเหนือจดที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีทิศตะวันออกจดและเชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 529 เป็นแนวยาวระดับเดียวกันจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกจดซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55) ซึ่งรูปแผนที่ของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ระบุว่าทิศใต้จดที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ออกโฉนดปี 2537 ภายหลังจากที่ ล. กับจำเลยที่ 9 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทนานถึง 5 ปี ยังเป็นที่ดินที่เชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 เช่นเดิมจึงมิใช่ถนนซอยทองหล่อ 12 เพราะมิฉะนั้นการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องสั่งเพิกถอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 แม้ตามรูปแผนที่และสภาพที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และ 529 เจ้าของที่ดินทั้งแปลงไม่สามารถนำที่ดินทั้งสองแปลงไปทำประโยชน์ได้ นอกจากจัดมีไว้ให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกไปสู่ถนนสุขุมวิท 55 เท่านั้นก็ตาม แต่ขณะที่มีการทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และเจ้าของที่ดินส่วนที่จะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ได้อุทิศ หรือให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว จะถือว่าที่ดินพิพาทอยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12 หาได้ไม่ เพราะเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิติดตามเอาคืนและขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 คดีฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า: อาวุธปืนไม่มีประสิทธิภาพ, บาดแผลไม่ร้ายแรง, ไม่ถึงแก่ความตาย, ความผิดไม่บรรลุผล
ผู้เสียหายให้การไว้ในชั้นสอบสวนว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 2 นัด ในระยะห่างเพียงประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นระยะใกล้ แต่ตามใบรับรองแพทย์ แพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้เสียหายวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายมีบาดแผลถูกยิงและถูกทำร้ายร่างกายบริเวณคอ ศรีษะ และใบหน้า แต่ไม่ปรากฏว่าบาดแผลดังกล่าวมีขนาดและความลึกเท่าใด หรือแพทย์มีความเห็นว่า หากผู้เสียหายไม่ได้รับการรักษาบาดแผลทันท่วงที ผู้เสียหายจะถึงแก่ความตายหรือไม่ ทั้งแพทย์มีความเห็นว่า ผู้เสียหายควรหยุดงานเพียง 8 วัน แม้จะได้ความจากผู้เสียหายว่า แพทย์ต้องผ่าตัดเอาหัวกระสุนปืนออกจากบริเวณท้ายทอยของผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายก็พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 6 วัน เท่านั้น เชื่อได้ว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่รุนแรงนัก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะใกล้แต่ผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายร้ายแรง แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถทำให้ถึงแก่ความตายได้ ถือว่าการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำตาม ป.อ. มาตรา 81 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า: บาดแผลไม่รุนแรง, อาวุธปืนไร้ประสิทธิภาพ, ไม่บรรลุผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 2 นัด ในระยะห่างเพียงประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ แต่ตามใบรับรองแพทย์ เอกสารหมาย จ.1 แพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้เสียหายวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายมีบาดแผลถูกยิงและถูกทำร้ายร่างกายบริเวณคอศีรษะ และใบหน้า แต่ไม่ปรากฏว่าบาดแผลดังกล่าวมีขนาดและความลึกเท่าใดหรือแพทย์มีความเห็นว่า ถ้าผู้เสียหายไม่ได้รับการรักษาบาดแผลทันท่วงทีผู้เสียหายจะถึงแก่ความตายหรือไม่ ทั้งแพทย์มีความเห็นว่า ผู้เสียหายควรหยุดงานเพียง 8 วัน แม้จะได้ความจากผู้เสียหายว่า แพทย์ต้องผ่าเอาหัวกระสุนปืนออกจากบริเวณท้ายทอยของผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายก็พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 6 วัน เท่านั้น เชื่อได้ว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่รุนแรงนัก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ แต่ผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายร้ายแรง แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพไม่สามารถทำให้ถึงแก่ความตายได้ ถือว่าการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำตาม ป.อ. มาตรา 81 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาขายฝาก vs. การกู้ยืมเงิน: สัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้หากมีหลักฐานชัดเจน
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก และโจทก์เป็นผู้รับซื้อฝากซึ่งโจทก์ยังมี ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง แต่จำเลยมีแต่อ้างตนเองเบิกความลอยๆ ว่า จำเลยทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทเพื่อเป็นอำพรางการกู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากโจทก์ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีเหตุผลและน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้ แม้จำเลยอ้างเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน หากไม่สามารถพิสูจน์ความไม่บริสุทธิ์ของเอกสารได้
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก โจทก์เป็นผู้รับซื้อฝาก โดยนาง ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทไม่ต้องรับผิดส่วนตัวในสัญญาซื้อขาย หากทำหน้าที่ตามอำนาจและสัญญาทำในนามบริษัท
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2548 โจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นกล่องใส่ซีดีทำด้วยดีบุก จำนวน 5,000,000 ใบราคา 1,470,432 ดอลลาร์สหรัฐ และของเล่นเป็นรถไฟฟ้าทำด้วยไม้ระบบโซนิค จำนวน 5,501,500 ชิ้น ราคา 1,603,429 ดอลลาร์สหรัฐ จากจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ชำระเงินมัดจำร้อยละ 20 ของราคาสินค้าในแต่ละประเภทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว ด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าทั้งสองประเภทและไม่คืนเงินมัดจำ จึงเป็นการผิดสัญญาต้องคืนเงินและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้ในการติดต่อซื้อขายสินค้ากับโจทก์ โจทก์ติดต่อผ่านจำเลยที่ 2 โดยการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่ได้อ้างถึงจำเลยที่ 1 แต่ข้อความดังกล่าวจำเลยที่ 2 เขียนเพื่อแจ้งรายละเอียดของวันเวลาตามแผนงานการผลิตกล่องใส่ซีดีตั้งแต่วันเริ่มออกแบบจนถึงวันที่จัดส่งสินค้าเสร็จสิ้น และแจ้งราคาค่าเครื่องมือสำหรับผลิตกล่องใส่ซีดีและรถไฟไม้ให้โจทก์ทราบ รวมถึงการนัดหมายเชื้อเชิญให้โจทก์มาเยี่ยมชมโรงงาน ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปในฐานะส่วนตัว อีกทั้งหลักฐานการโอนเงินก็เป็นชื่อบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเงินแต่ผู้เดียว มิใช่จำเลยที่ 2 ประกอบกับการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 นิติบุคคลย่อมจะต้องกระทำโดยผ่านจำเลยที่ 2 ที่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายสินค้าที่พิพาทกับโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเพราะกระทำละเมิดแอบอ้างชื่อจำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ นั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามมูลหนี้สัญญาซื้อขาย โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิด ข้ออ้างดังกล่าวถือเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินฯ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการสหกรณ์อนุมัติซื้อรถเกินงบประมาณ ทำให้สหกรณ์เสียหาย แม้สัตยาบันภายหลังก็ยังต้องรับผิด
ในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการดำเนินการของโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการ ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2540 ของโจทก์มีมติอนุมัติให้ซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์สองคัน ในวงเงิน 1,500,000 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด 1 คัน ราคา 291,970 บาท และยี่ห้อเบนซ์ 1 คัน ราคา 1,750,000 บาท เกินกว่าวงเงินตามมติของโจทก์ดังกล่าวถึง 541,970 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ และทำให้โจทก์เสียหาย เพราะโจทก์จะต้องจ่ายเงินซื้อรถยนต์ในราคาที่สูงเกินไป แทนที่จะนำเงินจำนวนนั้นไปใช้อย่างอื่นตามวัตถุประสงค์ของโจทก์เป็นการไม่ประหยัดไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของโจทก์ ที่จำเลยทั้งสิบสี่อ้างว่าโจทก์ให้สัตยาบันยอมรับรู้การกระทำดังกล่าวแล้ว ทั้งโจทก์ยังขายรถยนต์ทั้งสองคัน โดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุนไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า ความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์จะขายรถยนต์ทั้งสองคันโดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุนก็ไม่อาจทำให้ความเสียหายของโจทก์กลับเป็นไม่มีความเสียหายอีกได้ และการให้สัตยาบันยอมรับรู้การกระทำของจำเลยทั้งสิบสี่ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อผู้ขายรถยนต์ทั้งสองคัน ผู้สุจริตจากการกระทำของจำเลยทั้งสิบสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 ถึง 823 เท่านั้นโดยมิได้ทำให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นความรับผิดในความเสียหายจากการกระทำของตนต่อโจทก์
เมื่อปรากฏว่าตั้งแต่วันที่จำเลยทั้งสิบสี่อนุมัติให้ซื้อรถยนต์ทั้งสองคัน จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 อันเป็นวันที่นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการชั่วคราว จำเลยทั้งสิบสี่ยังมีฐานะเป็นกรรมการดำเนินการของโจทก์อยู่ จึงยังถือไม่ได้ว่าก่อนหน้าวันที่ 20 ธันวาคม 2543 โจทก์ทราบเหตุการณ์กระทำละเมิดของจำเลยทั้งสิบสี่ แต่ถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 20 ธันวาคม 2543 อันเป็นวันที่นายทะเบียนสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นจากตำแหน่งและตั้งกรรมการดำเนินการโจทก์ชั่วคราว เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อปรากฏว่าตั้งแต่วันที่จำเลยทั้งสิบสี่อนุมัติให้ซื้อรถยนต์ทั้งสองคัน จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 อันเป็นวันที่นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการชั่วคราว จำเลยทั้งสิบสี่ยังมีฐานะเป็นกรรมการดำเนินการของโจทก์อยู่ จึงยังถือไม่ได้ว่าก่อนหน้าวันที่ 20 ธันวาคม 2543 โจทก์ทราบเหตุการณ์กระทำละเมิดของจำเลยทั้งสิบสี่ แต่ถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 20 ธันวาคม 2543 อันเป็นวันที่นายทะเบียนสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นจากตำแหน่งและตั้งกรรมการดำเนินการโจทก์ชั่วคราว เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15229/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข กรณีคดีถึงที่สุดก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่
การที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้นั้นจะต้องปรากฏว่า ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนวันที่กฎหมายใหม่จะประกาศใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) เมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 5) ซึ่งแก้ไขใหม่ตามที่จำเลยอ้างมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ซึ่งเป็นวันก่อนที่คดีของจำเลยจะถึงที่สุด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15227/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดียาเสพติดเมทแอมเฟตามีน โดยพิจารณาปริมาณสารบริสุทธิ์และหน่วยการใช้ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 15 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 1.36 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.339 กรัม ซึ่งมียาเสพติดจำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม แม้จำนวนหน่วยการใช้จะมีปริมาณตามที่กำหนดในมาตรา 15 วรรคสาม (2) ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ก็มิได้กำหนดบทลงโทษในกรณีที่มีเมทแอมเฟตามีนจำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปไว้ กรณีจึงต้องลงโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13849/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยจำเลยไม่มาศาล และหน้าที่ของโจทก์ในการนำตัวจำเลยมาส่งศาลในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาล โดยข้อเท็จจริงปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม 2552 ว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.5425/2552 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี ซึ่งคดีดังกล่าวศาลได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับและปรับนายประกันแล้ว แม้คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเดียวกัน แต่เมื่อเป็นการฟ้องต่างคดีและโจทก์มีหน้าที่ต้องจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวจำเลยดังกล่าวมา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 141 วรรคสี่ โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้โดยไม่มีตัวจำเลยมาศาลและอ้างว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลในคดีนี้แล้วด้วยหาได้ไม่