พบผลลัพธ์ทั้งหมด 255 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9534/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดวันคดีถึงที่สุดเพื่อออกหมายจำคุก: การขยายเวลาฎีกา และผลต่อการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฟังเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 และอ่านให้โจทก์ฟังเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ศาลอนุญาตถึงวันที่ 24 กันยายน 2547 จำเลยที่ 1 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้ระบุว่าให้ถึงที่สุดในวันที่ 9 สิงหาคม 2547 เห็นว่า แม้คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่โจทก์ก็อาจดำเนินการให้มีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 และไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์จึงอาจฎีกาได้ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต คดีจึงเป็นที่สุดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของวันสุดท้ายที่โจทก์อาจยื่นฎีกาได้คือวันที่ 24 กันยายน 2547 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในวันที่ 24 กันยายน 2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8561/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การแก้ไขบทลงโทษเล็กน้อยและลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ทำให้ไม่สามารถฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 6 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295, 297 ประกอบมาตรา 83 การกระทำเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 297 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 9 เดือน เพิ่มโทษหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 12 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 6 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 จำคุก 9 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 4 เดือน 15 วัน ยกคำขอให้เพิ่มโทษเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษ โดยไม่ได้แก้ไขโทษและยกคำขอให้เพิ่มโทษ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 6 ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 6 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8371/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาจ่ายรางวัลให้เจ้าหน้าที่จับกุม เมื่อลงโทษตามบทหนักของกฎหมายศุลกากร
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 แล้ว ศาลต้องมีคำสั่งให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำความผิด โดยให้จ่ายตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 5 (2), 6, 7, 8 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพียงแต่พิพากษาว่า คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกและไม่ได้วินิจฉัยในเรื่องการจ่ายรางวัลแก่พนักงานผู้จับนั้น จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยต้องเป็นผู้ประกอบการตู้เพลงคาราโอเกะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียงและโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหาย ด้วยการนำตู้เพลงคาราโอเกะเพลงซึ่งบรรจุแผ่นเพลง แผลเป็นวันวาเลนไทน์ อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่มารับประทานอาหารในร้าน อันเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณะชนเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย เมื่อจำเลยปฏิเสธว่า ตู้เพลงคาราโอเกะดังกล่าวเป็นของนาย ธ. บุคคลอื่นที่เช่าพื้นที่ในร้านอาหารจากจำเลยเพื่อประกอบกิจการโดยจำเลยได้ค่าเช่าเป็นรายเดือน และคดีได้ความเพียงว่ามีการเปิดเพลงซึ่งเป็นงานดนตรีกรรมของผู้เสียหายจากตู้เพลงในร้านของจำเลยให้ลูกค้าฟังและร้องตาม โดยที่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงว่า นาย ธ. เป็นเจ้าของตู้เพลงคาราโอเกะและเป็นผู้บรรจุเพลงที่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แล้วเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเพลงของผู้เสียหายหรือไม่ ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการตู้เพลงคาราโอเกะที่ละเมิดลิขสิทธิ์ตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร ไม่ถือเป็นความผิดฐานหาผลกำไรโดยตรง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน "เพื่อหากำไร" ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่มจำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง "กำลังใจที่เธอไม่รู้" อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในร้านอาหาร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ หากไม่มีเจตนาหากำไรโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง "กำลังใจที่เธอไม่รู้" อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับแก้บทลงโทษหลังคดีถึงที่สุด ศาลไม่อำนาจแก้ไขคำพิพากษา แม้กฎหมายเปลี่ยนแปลง
ขณะจำเลยที่ 3 กระทำความผิดคดีนี้ มาตรา 15 และ มาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 3 แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วหากจำเลยที่ 3 เห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยที่ 3 ชอบที่ใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 แต่จำเลยที่ 3 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนคดีถึงที่สุดไปนานแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ใหม่ โดยอ้างข้อกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 3 ดังนี้หากศาลฟังข้อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 อ้างแล้ววินิจฉัยปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 3 ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6802/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์: การทำซ้ำ ดัดแปลง และจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานภาครัฐได้ตรวจเปรียบเทียบคุณสมบัติเฉพาะระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายกับของจำเลยทั้งสามที่พิพาทกันในคดีนี้สรุปความเห็นและจัดทำรายการไว้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ชุด มีชื่อแฟ้มข้อมูลที่ตรงกัน และมีรายงานย่อยที่มีความเหมือนหรือใกล้เคียงกันมากทั้งงานส่วนการออกแบบหน้าจอ ชื่อตัวแปรและหมายเหตุ คำอธิบาย รหัสต้นฉบับ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากต้นตอเดียวกัน เชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์โดยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปทำซ้ำดัดแปลงแฟ้มข้อมูล รายงานย่อย หน้าจอชื่อตัวแปรและหมายเหตุ รหัสต้นฉบับ ในส่วนสาระสำคัญแล้วเปลี่ยนแปลงเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกลาง นำออกจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องวิธีการชำระค่าปรับ และพิพากษาว่าความผิดฐานก่อสร้างอาคารกับยึดครองที่ดินเป็นคนละกรรม
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าจะชำระค่าปรับอย่างไรต่อศาลเพราะคำว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นหมายความว่าอย่างไร ถึงจะถือว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นที่เป็นวันครบกำหนดชำระเงินต่อศาลที่จะคิดเป็นจำนวนเงินชำระค่าปรับได้นั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาถึงวิธีการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ซึ่งเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์จะเป็นผู้ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดี โดยจำเลยสามารถที่จะทราบถึงวิธีการที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้อยู่แล้ว หาจำต้องฎีกาไม่ เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามฎีกา
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6768/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเสียงเรียกขานและการสับสนของสาธารณชน
ในแง่เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้า CHUPA CHUPS ของโจทก์และโจทก์ร่วมนั้น ไม่จำต้องเรียกขานตามที่ผู้ขอจดทะเบียนระบุคำอ่านไว้ในคำขอจดทะเบียนเท่านั้น การเรียกขานที่จะนำมาพิจารณาจะต้องเป็นการเรียกขานที่สาธารณชนอาจเรียกขานได้ การที่เครื่องหมายการค้า Joopy Juups ของจำเลยเรียกขานว่า "จุ๊ปปี้ จุ๊ปส์" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมอาจเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" นั้น เสียงเรียกขานพยานค์แรกคือ "จูป" หรือ "ชู้ป" กับ "จู๊ป" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกันของจำเลยคล้ายกัน และเสียงเรียกขานพยางค์ที่สามของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคือ "จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ปส์" กับ "จุ๊ปส์" เหมือนหรือคล้ายกัน แม้ว่าเสียงเรียกของพยางค์ที่สองของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีความแตกต่างกันบ้าง แต่เมื่อออกเสียงโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าเสียงเรียกขานคล้ายกัน จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าลูกอมในจำพวก 30 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยมีกลุ่มลูกค้าสำคัญคือเด็กเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม