พบผลลัพธ์ทั้งหมด 255 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6768/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "จุ๊ปปะ จุ๊ปส์" นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาจากตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นไปได้ที่สาธารณชนอาจออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" หรือ "ชัป ป้า ชัปส์" การที่เครื่องหมายการค้า Joopy Juups ของจำเลยเรียกขานว่า "จุ๊ปปี้ จุ๊ปส์" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมอาจเรียกขานว่า "จูปา จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ป ป้า ชู้ปส์" นั้น เสียงเรียกขานพยางค์แรก คือ "จูป" หรือ "ชู้ป" กับ "จุ๊ป" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคล้ายกัน และเสียงเรียกขานพยางค์ที่สามของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยคือ "จุ๊ปส์" หรือ "ชู้ปส์" กับ "จุ๊ปส์" เหมือนหรือคล้ายกัน แม้ว่าเสียงเรียกขานพยางค์ที่สองของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีความแตกต่างกันบ้างแต่เมื่อออกเสียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าคล้ายกัน จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าลูกอมในจำพวก 30 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยมีกลุ่มลูกค้าสำคัญคือเด็กเช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากวัยของกลุ่มลูกค้าสำคัญที่ซื้อสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมกับสินค้าของจำเลยที่มีความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของสินค้าน้อยกว่าผู้ใหญ่แล้ว เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์: การกระทำ 'เพื่อหากำไร' แตกต่างจาก 'เพื่อการค้า' และหลักฐานความผิดต้องชัดเจน
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ต้องเป็นการกระทำแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน ตามบทนิยามในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ "เพื่อการค้า" กับการกระทำ "เพื่อหากำไร" มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้การละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงดังกล่าวออกแพร่เสียง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วนไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ "เพื่อการค้า" กับการกระทำ "เพื่อหากำไร" มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้การละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงดังกล่าวออกแพร่เสียง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วนไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องพิสูจน์เจตนาหากำไรและประเภทงานที่ละเมิด การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนอาจทำให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกแพร่เสียงซ้ำ และจัดให้ประชาชนฟัง โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นทางการค้าจากบุคคลทั่วไปซึ่งการกระทำที่จะเป็นความผิดดังกล่าว ต้องเป็นการกระทำแก่งานลิขสิทธิ์ประเภทงานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายความถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทาทงวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกันตามบทนิยามในพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 แต่ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวเพียงว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมกับสิ่งบันทึกเสียงเท่านั้น โดยไม่ได้กล่าวว่าเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเป็นงานแพร่เสียงแพร่ภาพ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29
ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" เท่านั้น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า แต่การกระทำ "เพื่อการค้า" กับการกระทำ "เพื่อหากำไร" มีความหมายแตกต่างกันได้ คำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงดังกล่าวออกแพร่เสียง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วนไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" เท่านั้น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า แต่การกระทำ "เพื่อการค้า" กับการกระทำ "เพื่อหากำไร" มีความหมายแตกต่างกันได้ คำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงดังกล่าวออกแพร่เสียง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วนไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6351/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: หน้าที่การนำสืบของโจทก์เมื่อจำเลยปฏิเสธ
ในคดีอาญาจำเลยจะให้การอย่างไรก็ได้ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ แม้ไม่ได้ให้การปฏิเสธเป็นประเด็นไว้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เพื่อให้ฟังได้ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีตรวจแบบการยื่นคำขอภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทเอส.เอส.บี.กรุ๊ป จำกัด ตามที่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาแล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และผู้บังคับบัญชาได้รายงานขึ้นไปตามลำดับชั้นจนผู้อำนวยการกองตรวจและปฏิบัติการพิเศษสั่งให้รายงานผู้เสียหายและพิจารณาดำเนินคดีอาญา ต่อมากรมสรรพากรโดยรองอธิบดีซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่แน่ชัดว่านับแต่อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดจนถึงวันร้องทุกข์ ยังไม่เกินกว่าสามเดือน ตาม ป.อ. มาตรา 96 หรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนตาม ป.อ. มาตรา 96 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนหมายบังคับคดีจากข้อพิพาทสัญญาประนีประนอมยอมความ และการชำระหนี้ตรงตามกำหนด แม้เป็นวันหยุดทำการ
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดีในคดีนี้อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในอีกคดีหนึ่งที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอายัดทรัพย์สินของจำเลยว่า ทรัพย์สินของจำเลยถูกเจ้าหนี้หลายรายรวมทั้งโจทก์อายัดไว้แล้ว การอายัดทรัพย์สินในคดีดังกล่าวจึงเป็นการอายัดซ้ำ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการอายัดและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการอายัดแล้วเป็นการดำเนินการในคดีอื่นมิใช่ในคดีนี้ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หรือเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น จำเลยจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม
วันครบกำหนดชำระหนี้ตรงกับวันเสาร์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในธนาคารทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 แม้ธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ก็มี ก็ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้
วันครบกำหนดชำระหนี้ตรงกับวันเสาร์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในธนาคารทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 แม้ธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ก็มี ก็ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนหมายบังคับคดีเมื่อจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการนำเงินเข้าบัญชีหลังวันหยุดทำการ
แม้ภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดีแล้ว จำเลยยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอายัดทรัพย์สินของจำเลยว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวอายัดซ้ำกับคดีของโจทก์ เป็นการดำเนินการในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องในคดีนี้เพื่อรักษาประโยชน์ของตนเองในฐานะที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวมิใช่การดำเนินการในคดีนี้ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หรือเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไม่ถูกต้อง จำเลยจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม
จำเลยนำเงินเข้าบัญชีโจทก์ในวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2551 อันเป็นวันเปิดทำการวันแรกทันที ซึ่งการนับระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 บัญญัติว่า ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ดังนั้น การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีจึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอ้างว่าธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้ และแม้จะมีข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่า ในงวดที่สามและที่สี่จำเลยยังคงนำเงินเข้าบัญชีโจทก์เกินกำหนด ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในภายหลัง ไม่ทำให้การออกหมายบังคับคดีที่ไม่ชอบกลับกลายเป็นหมายบังคับคดีที่ถูกต้องตามกฎหมายไปได้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีเหตุที่จะออกหมายบังคับคดีได้
จำเลยนำเงินเข้าบัญชีโจทก์ในวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2551 อันเป็นวันเปิดทำการวันแรกทันที ซึ่งการนับระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 บัญญัติว่า ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ดังนั้น การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีจึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอ้างว่าธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้ และแม้จะมีข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่า ในงวดที่สามและที่สี่จำเลยยังคงนำเงินเข้าบัญชีโจทก์เกินกำหนด ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นในภายหลัง ไม่ทำให้การออกหมายบังคับคดีที่ไม่ชอบกลับกลายเป็นหมายบังคับคดีที่ถูกต้องตามกฎหมายไปได้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีเหตุที่จะออกหมายบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5697/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินแทนผู้อื่นและการแย่งการครอบครอง: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองและการฟ้องคดีภายใน 1 ปี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป และมาตรา 1375 วรรคสอง การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ในกรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยทั้งสองได้แย่งการครอบครองก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้ครอบครองว่า ตนไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป ดังนั้น การที่ก่อนปี 2539 ระหว่างแนวเขตที่ดินพิพาทมีการปลูกต้นยูคาลิปตัสและนาย จ. บอกฝ่ายจำเลยให้รื้อถอนต้นยูคาลิปตัสกับรั้วลวดหนามออก ไม่ใช่การบอกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ จึงไม่เป็นการแย่งการครอบครอง แต่เมื่อประมาณกลางเดือนมกราคม 2541 จำเลยทั้งสองได้ทำรั้วลวดหนามอ้างว่าทำขึ้นทดแทนรั้วเดิมซึ่งทรุดโทรมไปแล้วและโจทก์เห็นว่ารั้วดังกล่าวสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จึงมีการเจรจากับจำเลยทั้งสองให้รื้อรั้วออกไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอม ต่อมาโจทก์ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมกราคม 2541 แล้วว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนเองซึ่งเข้าลักษณะแย่งการครอบครอง เมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 จึงเป็นการฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์และต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ การยิงเพื่อป้องกันชีวิตต้องเลือกใช้ความรุนแรงที่สมเหตุสมผล
ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน ถือได้ว่าการกระทำของผู้ตายเป็นภยันตรายต่อจำเลยซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยพยายามหลีกเลี่ยงการต่อสู้โดยวิ่งหลบหนี แต่ผู้ตายซึ่งถือขวดกับพวกยังคงวิ่งไล่ตามจำเลยและผู้ตายจะขว้างขวดใส่จำเลย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หากผู้ตายขว้างขวดใส่จำเลยอาจทำให้จำเลยได้รับอันตรายได้ หรือหากวิ่งทันจำเลยก็อาจทำร้ายจำเลยได้ ภยันตรายที่เกิดจากผู้ตายจึงยังไม่หมดไป จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวได้แต่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยจึงอาจยิงขู่หรือเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพื่อยังยั้งผู้ตายกับพวกมิให้เข้าทำร้ายจำเลย แต่จำเลยกลับยิงผู้ตายบริเวณหน้าอกอันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ การปรับบทลงโทษตามความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักเหรียญกษาปณ์รวมเป็นเงิน 842 บาท ของวัดผู้เสียหายโดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวอยู่ในพานและบาตรวางอยู่บนชั้นสามของอาคารเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนมากราบไหว้สักการะบูชาภายในวัดผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์จึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ตรงกับคำนิยามคำว่า "สาธารณสถาน" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (3) ทั้งนี้เพื่อการสักการะบูชาพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานไว้ให้ประชาชนกราบไหว้สักการะบูชา จึงเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะดังที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ: การปรับบทลงโทษตามมาตรา 335 (9) ป.อ.
จำเลยลักเหรียญกษาปณ์ของวัดผู้เสียหาย โดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวอยู่ในพานและบาตรวางอยู่บนชั้นสามของอาคารเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนมากราบไหว้สักการบูชาภายในวัดผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์จึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ตรงกับนิยามคำว่า "สาธารณสถาน" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (3) ทั้งนี้ เพื่อการสักการบูชาพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานไว้ให้ประชาชนกราบไหว้สักการะบูชา จึงเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 335 (9) วรรคแรก