พบผลลัพธ์ทั้งหมด 255 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15078/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องขนส่งต่อเนื่อง: ผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วมเมื่อมีการยกอายุความโดยจำเลยร่วม
ผู้ขายติดต่อจำเลยที่ 2 ผ่านจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบกิจการในประเทศไทยของจำเลยที่ 2 ให้ขนส่งสินค้าไปยังเมือง Kotka ประเทศฟินแลนด์ โดยจำเลยที่ 1 ออกและลงชื่อในใบตราส่งฉบับแรกให้ ซึ่งใบตราส่งดังกล่าวระบุไว้ด้านขวาของหัวกระดาษว่า Combined Transport Bill of Lading อันเป็นใบตราส่งที่ใช้กับการขนส่งหลายรูปแบบ ระบุสถานที่รับสินค้าและสถานที่บรรทุกลงเรือคือ กรุงเทพมหานคร สถานที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือคือ เมืองโกเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน และสถานที่ส่งมอบสินค้าคือเมือง Kotka ประเทศฟินแลนด์ และได้ความว่าต้องขนส่งด้วยรถบรรทุกจากเมืองโกเทนเบิร์กเพื่อไปยังสถานที่ส่งมอบสินค้าดังกล่าว การขนส่งสินค้าดังกล่าวเป็นการขนส่งทางเรือและทางบกต่อเนื่องกันจนถึงปลายทางอันเป็นการทำสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 7 และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ แม้ใบตราส่งฉบับหลัง จะเป็นใบตราส่งสำหรับการขนส่งสินค้าทางทะเลก็เป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีผลกระทบถึงสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด
การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไป โดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่ไม่พบชื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้ หาได้มีผลตามกฎหมายที่จะต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คดีนี้จึงมีอายุความฟ้องร้อง 9 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามนัย พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ประกอบมาตรา 37
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ใช้บริการของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำกับผู้ขาย และความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากการวางสินค้าไว้ในที่เปิดโล่งขณะที่เกิดฝนตกหนักในระหว่างการขนส่งช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่ผู้ขนส่งทางบกได้รับมอบสินค้าบรรทุกขึ้นรถที่เมืองโกเทนเบิร์ก เมื่อมีเพียงจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองโกเทนเบิร์ก จึงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความ 9 เดือน ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ในคำให้การจะมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยหรือไม่นั้น เห็นว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ฝ่ายลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกฝ่ายเจ้าหนี้ดำเนินคดีฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ศาลจึงจะยกฟ้องในเหตุนี้ได้ แต่การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของลูกหนี้นั้น แม้ตามปกติลูกหนี้ผู้นั้นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีจะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองจึงจะถือว่ามีผลตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อลูกหนี้หลายคนถูกฟ้องร้องให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในลักษณะที่ลูกหนี้หลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมและเป็นจำเลยร่วมกันนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) บัญญัติว่าในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมหลายคนซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมให้ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้จะมีผลเท่ากับว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย และเป็นกรณีที่ถือได้ว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม
การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นเพียงวิธีการควบคุมการประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เป็นไป โดยมีประสิทธิภาพเท่านั้น การที่ไม่พบชื่อจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้ หาได้มีผลตามกฎหมายที่จะต้องถือว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คดีนี้จึงมีอายุความฟ้องร้อง 9 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งมอบของหรือควรจะส่งมอบของตามนัย พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ประกอบมาตรา 37
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ใช้บริการของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ปฏิบัติตามสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำกับผู้ขาย และความเสียหายของสินค้าพิพาทเกิดจากการวางสินค้าไว้ในที่เปิดโล่งขณะที่เกิดฝนตกหนักในระหว่างการขนส่งช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่ผู้ขนส่งทางบกได้รับมอบสินค้าบรรทุกขึ้นรถที่เมืองโกเทนเบิร์ก เมื่อมีเพียงจำเลยที่ 3 เท่านั้นที่เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองโกเทนเบิร์ก จึงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมการที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความ 9 เดือน ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ในคำให้การจะมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วยหรือไม่นั้น เห็นว่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ฝ่ายลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกฝ่ายเจ้าหนี้ดำเนินคดีฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ศาลจึงจะยกฟ้องในเหตุนี้ได้ แต่การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของลูกหนี้นั้น แม้ตามปกติลูกหนี้ผู้นั้นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีจะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ด้วยตนเองจึงจะถือว่ามีผลตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อลูกหนี้หลายคนถูกฟ้องร้องให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในลักษณะที่ลูกหนี้หลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมและเป็นจำเลยร่วมกันนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) บัญญัติว่าในกรณีที่ลูกหนี้ร่วมหลายคนซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมให้ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้จะมีผลเท่ากับว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย และเป็นกรณีที่ถือได้ว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่นยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จำเลยที่ 3 ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมยกอายุความขึ้นต่อสู้ด้วย แม้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14954/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: การนำอายุความ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ผู้ต้องเสียหายมีสิทธิเรียกร้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามมาตรา 448 วรรคสอง นั้น หมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำความผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำความผิดโดยเฉพาะ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งมิได้ร่วมกระทำความผิดอาญา แต่กฎหมายบัญญัติให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งกรณีปัญหาในคดีนี้ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดทางแพ่งต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยเท่านั้น หาได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดร่วมกับเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดดังเช่นในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่ จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แต่เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.239 มิได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13881/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา จากการไม่ดำเนินคดีตามกำหนดศาล
ตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า คดีของโจทก์มีมูล ให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยทั้งสามมาให้การในวันเดียวกับวันนัดพร้อม และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน โจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวตามที่โจทก์ได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12650/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้า แม้มิได้คัดค้านการจดทะเบียน และการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการขอจดทะเบียนและการคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่หมวดที่ 1 ส่วนที่ 1 การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาคำขอต่าง ๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอรายนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็จะรับจดทะเบียนให้และลงประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้น ตามมาตรา 29 อันเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการพิจารณาคำขอของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จากนั้นก็เปิดโอกาสให้มีการคัดค้านคำขอที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนไว้เป็นเวลา 90 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณา ตามมาตรา 35 ซึ่งเป็นขั้นตอนในลำดับถัดไปที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 2 การรับจดทะเบียนและผลแห่งการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดคัดค้านหรือมีผู้คัดค้าน แต่ได้มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียนตามมาตรา 40 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็จะมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนแล้วดังกล่าว อาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 3 และอาจมีการต่ออายุและอาจถูกเพิกถอนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการพิจารณาคำขอเครื่องหมายการค้าของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 1 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าอ้างว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 61 (4) ซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าคนละขั้นตอนโดยอาศัยอำนาจตามบทมาตราของกฎหมายแตกต่างกัน แม้ผู้ร้องไม่เคยคัดค้านคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ตามมาตรา 35 ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้
เมื่อพิจารณาการยื่นคำขอใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ต้น และหลังจากนั้นโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของโจทก์เรื่อยมาตั้งแต่ ปี 2547 โดยไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านหรือมีความเห็นเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าต้องห้ามจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแต่ประการใด ทั้งหลังจากโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานเกินกว่า 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2552 จนเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่ปรากฏว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์สร้างความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์กับสินค้าของผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ย่อมเป็นข้อสนับสนุนว่า โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตโดยสาธารณชนสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้องหรือของบุคคลอื่นได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องจะใช้อักษรโรมันและมีเสียงเรียกขานอย่างเดียวกัน กับได้จดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 61 (4)
เมื่อพิจารณาการยื่นคำขอใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ต้น และหลังจากนั้นโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของโจทก์เรื่อยมาตั้งแต่ ปี 2547 โดยไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านหรือมีความเห็นเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าต้องห้ามจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแต่ประการใด ทั้งหลังจากโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานเกินกว่า 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2552 จนเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่ปรากฏว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์สร้างความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์กับสินค้าของผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ย่อมเป็นข้อสนับสนุนว่า โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตโดยสาธารณชนสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้องหรือของบุคคลอื่นได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องจะใช้อักษรโรมันและมีเสียงเรียกขานอย่างเดียวกัน กับได้จดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในขณะที่จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 61 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11447/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมระงับสิ้นเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินและไม่ใช้ประโยชน์ทางภาระจำยอมเดิม
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หลังจากที่ดินตามโฉนดเลขที่ 11327 ได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว ที่ดินดังกล่าวซึ่งมีการจดทะเบียนภาระจำยอมเดิมได้กันที่ดินที่เหลือจากการแบ่งแยกให้เป็นทางถนนกว้าง 8 เมตร ยาวตลอดเชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43653 ซึ่งทำเป็นทางถนนเชื่อมกับทางสาธารณะถนนสายรามอินทรา โดยเจ้าของที่ดินที่ซื้อที่ดินที่แบ่งแยกรวมทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้ทางดังกล่าวเข้าและออกสู่ถนนสาธารณะ และหลังจากแบ่งแยกที่ดินของโจทก์นั้น จำเลยไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมอีกเลยตั้งแต่ปี 2515 และต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ แล้ว จำเลยสามารถใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 43653 ออกสู่ทางถนนดังกล่าวได้ด้วย ในกรณีเช่นนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1394 บัญญัติว่า "ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภาระจำยอมยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภาระจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมก็ได้" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์หลังจากมีการแบ่งแยกแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในภารยทรัพย์ โจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ที่ดินส่วนที่แบ่งแยกของโจทก์ให้พ้นจากภาระจำยอมเพราะเหตุไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการได้ ภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์จึงระงับสิ้นไป ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทั้งการใช้สิทธิฟ้องของโจทก์ในกรณีนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11407/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนเงินที่จ่ายเกินจากเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่จำเลยโดยผิดหลง ทำให้จำเลยได้รับเงินเกินไปโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย และทำให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แบ่งให้แก่เจ้าหนี้ และผู้มีส่วนได้เสียเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายจึงมีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยเพื่อนำไปจ่ายแก่ผู้มีสิทธิต่อไป เป็นการเรียกเงินอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ตามคำพิพากษาของศาลตามกฎหมายในการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียได้รับการชดใช้จากลูกหนี้ตามขั้นตอนของการบังคับคดีแพ่ง เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11248/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของแผนฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้จำนอง: ความรับผิดยังคงอยู่หากแผนขัดต่อกฎหมายล้มละลาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง ความรับผิดของผู้ร้องในฐานะผู้จำนองมีต่อโจทก์เดิมเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องทำหนังสือปลดภาระการจำนองและให้ผู้จำนองสิ้นความผูกพันตามสัญญาทุกฉบับ ย่อมเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวอันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ผู้ร้องในฐานะผู้จำนองจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ขาด ผู้สวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของผู้ร้องได้ กรณีไม่มีเหตุจะเพิกถอนการยึดที่ดินของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11235/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลสั่งจำหน่ายคดีให้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยไม่นำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาที่ตกลงกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจไม่ช้ากว่าวันยื่นคำให้การหรือภายในระยะเวลาที่มีสิทธิยื่นคำให้การตามกฎหมายให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ทำคำร้องยื่นต่อศาลให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามความใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 แต่ได้ยื่นคำให้การโต้แย้งไว้แล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการก่อน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุดังกล่าว และแม้คำให้การจำเลยที่ 1 จะปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในเรื่องอื่น ๆ ด้วยและขอให้ยกฟ้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 สละข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11195/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้ามนุษย์, พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี, และช่วยเหลือคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
มาตรา 7 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 ของกฎหมายเดิมบัญญัติว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง คนหนึ่งคนใดได้ลงมือกระทำความผิดตามที่สมคบกันไปแล้ว ผู้ร่วมสมคบด้วยกันทุกคนต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นอีกกระทงหนึ่งด้วยนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติประกอบการลงโทษบุคคลที่ร่วมสมคบกันกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งแล้ว มิใช่ฐานความผิดหรือบทกำหนดความผิดและกำหนดโทษในตัวเองที่จะใช้ลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดโดยตรง และการที่มาตรา 7 วรรคสอง กำหนดให้ลงโทษผู้ร่วมสมคบตามวรรคหนึ่งทุกคนตามฐานความผิดที่มีการกระทำลงอีกกระทงหนึ่งด้วย แสดงอยู่ว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ลงโทษฐานสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าหญิงและเด็กตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานที่ได้มีการกระทำลงแยกต่างหากจากกันเป็นคนละกระทงกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน มิใช่ความผิดกรรมเดียวกัน
ความผิดฐานเป็นเจ้าของ ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี กับฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคสอง และมาตรา 11 วรรคสอง เป็นความผิดที่อาศัยเจตนาต่างกันและมีองค์ประกอบความผิดต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกรรม แต่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวร่วมกันมาในข้อเดียว ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในทุกฐานความผิดดังกล่าวเพียงกรรมเดียว หาได้มุ่งประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 จึงลงโทษจำเลยทั้งสามสำหรับความผิดในฟ้องข้อนี้ได้เพียงกรรมเดียว
ความผิดฐานเป็นเจ้าของ ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี กับฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคสอง และมาตรา 11 วรรคสอง เป็นความผิดที่อาศัยเจตนาต่างกันและมีองค์ประกอบความผิดต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกรรม แต่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวร่วมกันมาในข้อเดียว ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในทุกฐานความผิดดังกล่าวเพียงกรรมเดียว หาได้มุ่งประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 จึงลงโทษจำเลยทั้งสามสำหรับความผิดในฟ้องข้อนี้ได้เพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10256/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดิน: ผลของการพิสูจน์ไม่ได้ว่าการซื้อขายเป็นการฉ้อฉล ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ และการละเมิดสิทธิเจ้าของ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกับโจทก์ โดยไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนด โจทก์ให้จำเลยทำนาในที่ดินพิพาทต่อมา ภายหลังโจทก์แจ้งให้จำเลยออกไปแต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินแก่ บ. จำเลยไม่รู้จักโจทก์และไม่มีเจตนาขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์ การขายฝากเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลถึงขนาดต่อจำเลย ทำให้นิติกรรมการขายฝากเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย ดังนี้ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยขายฝากที่ดินแปลงพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ส่วนประเด็นที่ว่าการขายฝากเป็นการกระทำโดยการฉ้อฉลต่อจำเลย อันจะทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยมิได้ให้การว่า ใครเป็นคนทำการฉ้อฉลและจำเลยถูกกลฉ้อฉลอย่างไร จึงทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าการขายฝากเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลต่อจำเลยหรือไม่ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าการขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยกรณีไม่มีการฉ้อฉลต่อจำเลย การขายฝากจึงเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยอยู่ในที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่มีสิทธิจึงต้องเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้