พบผลลัพธ์ทั้งหมด 255 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9939/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ในการได้รับเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งจากการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า ก็ต้องพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9822/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ - ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ - การใช้สิทธิเรียกร้องคืนรถ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ทุกประเภทแก่บุคคลทั่วไป ส. นำรถยนต์ของกลางมาทำสัญญาเช่าซื้อไว้กับผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมไม่อาจจะรู้ว่าจำเลยที่ 2 พี่สาวของผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีจะนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ก็ระบุความโดยสรุปว่า หากรถถูกใช้เป็นพาหนะในการกระทำความผิด หรือใช้รถในลักษณะที่ผิดกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับใด ๆ หรือใช้รถโดยประการอื่นใด เป็นเหตุให้รถถูกริบ ยึด อายัด ตกเป็นของรัฐ ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลงทันที และผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 5 วรรคสอง และเมื่อผู้ร้องมีหนังสือยืนยันการเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว การที่ในช่วงเวลาต่อเนื่องกันมาผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ก็เป็นการที่ผู้ร้องใช้สิทธิดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ซึ่งเป็นช่องทางการเยียวยาและบรรเทาความเสียหายของผู้ร้องทางหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ติดตามรถยนต์ของกลางทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่ามีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายหรือยื่นคำร้องเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9784/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าทางทะเล ผู้ขนส่งต้องเวนคืนใบตราส่งก่อนส่งมอบสินค้า ผู้ซื้อยังไม่ชำระเงินถือเป็นการผิดสัญญา
ใบตราส่งถือเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ขนส่งได้ออกให้แก่โจทก์ผู้ส่ง อันแสดงว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้รับของตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งไว้ในความดูแลหรือได้บรรทุกของลงเรือแล้ว และรับที่จะส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้มีสิทธิรับของนั้นเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 และเมื่อออกใบตราส่งให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จะส่งมอบของให้ได้ก็ต่อเมื่อผู้รับตราส่งเวนคืนใบตราส่งนั้นแก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่ผู้รับตราส่งขอรับของโดยไม่มีใบตราส่งก็จะต้องมีประกันตามสมควรตามมาตรา 28
เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ได้นำต้นฉบับใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการขอให้ปล่อยสินค้าและเวนคืนต้นฉบับหรือคู่ฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพยานของจำเลยที่ 1 รับว่าสินค้าถูกปล่อยไปตามสำเนาใบตราส่ง ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าใบตราส่งดังกล่าวเป็นชนิดไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ แต่ใบตราส่งดังกล่าวก็มีข้อความระบุให้ต้องมีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง และแม้การซื้อขายสินค้าพิพาทอาจมีข้อโต้แย้งกันตามที่ปรากฏในจดหมายโต้ตอบของโจทก์ก็เป็นเรื่องของคู่สัญญาซื้อขาย ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดของผู้ขนส่งที่มีต่อผู้ส่ง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 บัญญัติไว้ การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยมิได้รับเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งย่อมเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญารับขนของทางทะเลต่อโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเลือกชำระเป็นเงินไทยตามเงื่อนไขใน ป.พ.พ. มาตรา 196 ได้ โดยหากจำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินไทย ให้คิดอัตราถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สถานที่และในวันที่มีการใช้เงิน ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันที่มีการใช้เงิน
เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ได้นำต้นฉบับใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการขอให้ปล่อยสินค้าและเวนคืนต้นฉบับหรือคู่ฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพยานของจำเลยที่ 1 รับว่าสินค้าถูกปล่อยไปตามสำเนาใบตราส่ง ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าใบตราส่งดังกล่าวเป็นชนิดไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ แต่ใบตราส่งดังกล่าวก็มีข้อความระบุให้ต้องมีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง และแม้การซื้อขายสินค้าพิพาทอาจมีข้อโต้แย้งกันตามที่ปรากฏในจดหมายโต้ตอบของโจทก์ก็เป็นเรื่องของคู่สัญญาซื้อขาย ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดของผู้ขนส่งที่มีต่อผู้ส่ง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 บัญญัติไว้ การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยมิได้รับเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งย่อมเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญารับขนของทางทะเลต่อโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเลือกชำระเป็นเงินไทยตามเงื่อนไขใน ป.พ.พ. มาตรา 196 ได้ โดยหากจำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินไทย ให้คิดอัตราถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สถานที่และในวันที่มีการใช้เงิน ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันที่มีการใช้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9729/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดียาเสพติดต้องผ่านกระบวนการบังคับบำบัดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 กำหนดวิธีการเยียวยาแก้ไขด้วยกระบวนการบังคับบำบัด กล่าวคือ หากเป็นผู้ต้องหาในความผิดยาเสพติดที่กำหนด พนักงานสอบสวนต้องนำตัวไปศาลเพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ควบคุมตัวที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือผัดฟ้อง ในระหว่างการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งสำนวนสอบสวนไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งผู้ต้องหาไปด้วย และแจ้งให้พนักงานอัยการทราบว่าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจะเป็นผู้วินิจฉัยว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์เป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และแจ้งผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานอัยการทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ให้พนักงานอัยการมีคำสั่งชะลอการฟ้องไว้ก่อน จนกว่าจะได้รับแจ้งผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ถ้าคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเห็นว่าผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจนครบถ้วนตามแผนการฟื้นฟูและผลการฟื้นฟูเป็นที่พอใจแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหา คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดก็จะมีคำสั่งปล่อยตัวผู้นั้นไปแล้วแจ้งให้พนักงานอัยการทราบ พนักงานอัยการจะมีอำนาจฟ้องดำเนินคดี หากเห็นว่าผู้ต้องหาซึ่งได้รับแจ้งผลการตรวจพิสูจน์ไม่มีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้รับรายงานความเห็นจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่าผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โดยคงปรากฏเพียงคำร้องขอฝากขัง ซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตลอดมาและพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนจนเสร็จก่อนส่งสำนวนให้โจทก์ฟ้องก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ผ่านกระบวนการบังคับบำบัดตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะคดีมีการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วนั้น เป็นกระบวนการฟ้องคดีตามกฎหมายทั่วไป ไม่อาจนำมาใช้กับคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิวาทร่วมกันทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเป็นผู้เสียหายและอุทธรณ์คดีอาญาได้
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ร่วมกับจำเลยสมัครใจวิวาทต่อสู้กัน โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ย่อมไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 30 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ขอให้กำหนดโทษจำเลยสูงขึ้น จึงต้องบังคับโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการล้มเหลว ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้
ในกรณีระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุดลง แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสำเร็จตามแผน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าศาลเห็นสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าศาลไม่เห็นสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ให้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหมายความว่าในกรณีที่ลูกหนี้ยังอยู่ในสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนหรือเจ้าหนี้อื่นในระหว่างการฟื้นฟูกิจการได้ และไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ย่อมเป็นเรื่องที่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย และศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่หากลูกหนี้พ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วหรืออาจชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนหรือเจ้าหนี้อื่นในระหว่างการฟื้นฟูกิจการได้ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
คดีนี้ได้ความจากรายงานเจ้าหน้าที่ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกำกับดูแลการฟื้นฟู สำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สรุปได้ว่า ผู้บริหารแผนไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จตามแผน สำหรับผลการดำเนินงานทางการเงิน ลูกหนี้มีรายได้ไม่เพียงพอ มีการลดจำนวนพนักงานซึ่งมีผลให้ผลิตสินค้าไม่ได้ตามเป้าหมายทั้งด้านคุณภาพและจำนวน ประกอบกับไม่มีสถาบันการเงินใดอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกหนี้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการจนลูกหนี้ขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนได้ ลูกหนี้มีผลการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าลูกหนี้ยังไม่พ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัว กิจการขาดทุนและไม่มีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนหรือเจ้าหนี้อื่นในระหว่างการฟื้นฟูกิจการได้ หากยังคงดำเนินกิจการต่อไปลูกหนี้ก็ไม่อาจฟื้นฟูกิจการจนพ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ เมื่อระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุด แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสำเร็จตามแผน กรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง
คดีนี้ได้ความจากรายงานเจ้าหน้าที่ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกำกับดูแลการฟื้นฟู สำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สรุปได้ว่า ผู้บริหารแผนไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จตามแผน สำหรับผลการดำเนินงานทางการเงิน ลูกหนี้มีรายได้ไม่เพียงพอ มีการลดจำนวนพนักงานซึ่งมีผลให้ผลิตสินค้าไม่ได้ตามเป้าหมายทั้งด้านคุณภาพและจำนวน ประกอบกับไม่มีสถาบันการเงินใดอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกหนี้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการจนลูกหนี้ขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนได้ ลูกหนี้มีผลการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าลูกหนี้ยังไม่พ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัว กิจการขาดทุนและไม่มีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนหรือเจ้าหนี้อื่นในระหว่างการฟื้นฟูกิจการได้ หากยังคงดำเนินกิจการต่อไปลูกหนี้ก็ไม่อาจฟื้นฟูกิจการจนพ้นจากสภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ เมื่อระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุด แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสำเร็จตามแผน กรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8029/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบียดบังทรัพย์ในหน่วยงานรัฐ: การปรับบทและขอบเขตความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นพนักงานบัญชีระดับ 5 ประจำแผนกบัญชีและการเงินของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหน่วยงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา คงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 เมื่อจำเลยเป็นพนักงานเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่คือเอาทรัพย์นั้นเองเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 4, 11 และไม่ผิดมาตรา 8 เพราะไม่เป็นการที่จำเลยใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริตหาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากตัวทรัพย์นั้น โดยมิได้เอาทรัพย์นั้นไป ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับมอบหมายจัดการมรดก แม้มิใช่ทายาท: ผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นทายาทของผู้ตาย แต่การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกย่อมทำให้ผู้ร้องมีหน้าที่ที่จะต้องทำการอันจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และอาจต้องรับผิดต่อทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และ 1720 จึงถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดทำให้การอุทธรณ์คำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นอันตกไป
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ถือว่าคำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงงานลิขสิทธิ์ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ การพิมพ์ผิดพลาดไม่ถือเป็นการดัดแปลง
การกระทำอันเป็นความผิดฐานดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการกระทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ คำว่า ดัดแปลง หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมหรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ส่วนคำว่า ทำซ้ำ หมายความรวมถึงการคัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ดังนั้น การกระทำที่เป็นความผิดฐานดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จึงเป็นการคัดลอกงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยเปลี่ยนรูปใหม่หรือปรับปรุง หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนที่เป็นสาระสำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ข้อแตกต่างระหว่างหนังสือเล่มจริงกับเล่มที่จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์ขึ้นเกิดจากการพิมพ์ที่ไม่เรียบร้อย พิมพ์ผิดพลาด พิมพ์ซ้ำ หรือจัดหน้ากระดาษผิด มิใช่เป็นการคัดลอกโดยเปลี่ยนรูปใหม่ หรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญแต่อย่างใด ไม่ทำให้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในหนังสือของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์