พบผลลัพธ์ทั้งหมด 255 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12601/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ: การฟ้องผิดตัวจำเลยไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งโดยระบุชื่อจำเลยว่า "บริษัท ที.เอ็ม.ที.อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์วิส จำกัด" เมื่อมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยระบุชื่อจำเลยว่า "บริษัทไทยมาสเตอร์ทรานสปอร์ตอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์วิส (ทีเอ็มที) จำกัด หรือ ที.เอ็ม.ที.อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์วิส" แม้ทั้งสองบริษัทเป็นนิติบุคคลต่างกันแต่ชื่อใกล้เคียงกันมาก มีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนคนเดียวกัน กรรมการคนอื่นก็มีนามสกุลเดียวกัน เชื่อว่าเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และตามใบรับขนทางอากาศ ในส่วนที่เป็นตราประทับของบริษัท และในส่วนที่เป็นช่องลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าหรือตัวแทนระบุชื่อไว้ชัดเจนว่า กับในช่องลายมือชื่อผู้ขนส่งหรือตัวแทนผู้ออกเอกสารก็มีตราประทับแสดงเครื่องหมายการค้าของบริษัทโดยมีคำว่า ขนาดใหญ่กว่าคำหรือข้อความอื่น เมื่อได้ความว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่รับจ้างขนส่งสินค้าและทำให้สินค้าเสียหาย ซึ่งก็คือบริษัทไทยมาสเตอร์ทรานสปอร์ตอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์วิส (ทีเอ็มที) จำกัด หรือชื่อทางการค้าว่า ที.เอ็ม.ที.อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์วิส แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งแล้ว ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่รับฟ้องในอีก 7 วัน ต่อมาโดยเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแพ่ง เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีโอกาสขอแก้ไขคำฟ้องในข้อผิดพลาดผิดหลงเกี่ยวกับชื่อจำเลย จำเลยเองก็ไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าไม่ใช่บุคคลที่รับจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าดังกล่าว แต่กลับระบุว่าความเสียหายของสินค้าดังกล่าวไม่ใช่ความผิดของจำเลย ทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาในคดี เมื่อสำเนาใบรับสินค้าและใบรับขนทางอากาศเอกสารท้ายฟ้องในคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกับเอกสารท้ายฟ้องในคดีนี้ก็เป็นชุดเดียวกัน จึงฟังได้ว่าผู้โต้แย้งสิทธิที่แท้จริงต่อโจทก์ คือ จำเลยนั่นเอง ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 และถือว่าโจทก์ได้เคยฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งแล้ว สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องที่โจทก์มีต่อจำเลยยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12524/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: รถยนต์และโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ในการกระทำผิดได้หรือไม่
เจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ม. ผู้ร่วมกระทำความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งพกติดตัวเป็นของกลาง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การล่อซื้อยาเสพติดให้โทษสายลับได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อกับโทรศัพท์ของ ม. ส่วนการที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ให้ ม. โทรศัพท์ไปติดต่อขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากผู้คัดค้านทั้งสอง ก็เป็นการติดต่อล่อซื้อเพื่อขยายผลจับกุมผู้กระทำความผิดเพิ่มขึ้น ถือไม่ได้ว่า ม. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12342/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเพชรเพื่อขาย ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์ หากผิดสัญญาทางแพ่ง
ตามรายการรับมอบเพชรมีการระบุราคาของเพชรแต่ละรายการไว้ และมีข้อความกำหนดเงื่อนไขว่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบในความสูญหายและเสียหายของเพชรกับมีหน้าที่ต้องส่งมอบเพชรคืนเมื่อทวงถาม โดยไม่ปรากฏข้อตกลงในส่วนของค่าตอบแทนการขายที่จำเลยจะได้รับ ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ย่อมแสดงว่าจำเลยอาจนำเพชรไปเสนอขายในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าที่กำหนดไว้ก็ได้ เพียงแต่ว่าเมื่อขายได้แล้วต้องส่งเงินแก่ผู้เสียหายตามราคาที่กำหนดกันไว้เท่านั้น การครอบครองทรัพย์ของจำเลยในลักษณะเช่นนี้จึงหาใช่เป็นการที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ครอบครองเพชรดังกล่าวไว้ในฐานะตัวแทนผู้เสียหาย หากแต่เป็นกรณีครอบครองโดยอาศัยอำนาจแห่งสัญญาที่ผู้เสียหายกับจำเลยมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โดยผู้เสียหายให้จำเลยนำไปขาย เมื่อจำเลยไม่ส่งเงินที่ขายก็เป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11488/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันของนายจ้างและตัวแทน กรณีตัวแทนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อ ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อเลี้ยวขวากลับรถกะทันหันให้รถขวางถนน จนเป็นเหตุให้ อ. ซึ่งขับรถยนต์กระบะ พุ่งชน จน อ. ถึงแก่ความตาย และ ส. ซึ่งนั่งโดยสารมาด้วยได้รับบาดเจ็บ เมื่อขณะเกิดเหตุปรากฏว่าจำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกหกล้อรับจ้างขนส่งสินค้าให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการรับจ้างขนส่งสินค้าและมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดไว้ที่ข้างรถบรรทุกหกล้อ เช่นนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกหกล้อรับจ้างขนส่งสินค้าให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นประจำโดยใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์ของจำเลยที่ 3 ติดไว้ที่ข้างรถมองเห็นได้ชัดเจน อันมีลักษณะเป็นการเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ในการรับจ้างขนส่งสินค้า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: หุ้นส่วนสามัญ, ผู้รับเงินแทน, และการระงับความผิด
โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนกับบริษัท อ. เพื่อดำเนินกิจการของโรงเรียน อันมีโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 เป็นหุ้นส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไว้ในกระบวนการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033 วรรคหนึ่ง โจทก์ร่วมในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ขณะเกิดเหตุแม้จำเลยไม่ได้ทำหน้าที่ฝ่ายการเงินของโรงเรียนและไม่มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนโดยตรงก็ตาม แต่จำเลยเป็นอาจารย์ฝ่ายทะเบียนและฝ่ายผู้สอน นักเรียนสามารถฝากเงินแก่จำเลยให้นำไปชำระแก่โรงเรียนได้โดยถือเสมือนหนึ่งว่านักเรียนชำระเงินให้แก่โรงเรียนแล้ว และจำเลยมีหน้าที่นำเงินดังกล่าวไปมอบให้ฝ่ายการเงิน ถือได้ว่าจำเลยได้รับมอบหมายโดยปริยายจากโรงเรียนให้มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนแทนโรงเรียนได้ ซึ่งเมื่อจำเลยได้รับเงินดังกล่าวจากนักเรียนแล้ว เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ไม่ได้เป็นของนักเรียนอีกต่อไป นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลย จึงมิใช่ผู้เสียหายผู้มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ดังนั้นแม้ก่อนโจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในคดีนี้ นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลยไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกง และถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากโรงเรียนออกใบรับรองผลการเรียนให้ไปแล้วก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่านักเรียนดังกล่าวเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในความผิดข้อหายักยอกตามฟ้องนี้ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ในส่วนนี้จึงยังไม่ระงับไป เพราะมิใช่เป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียหายและเปลี่ยนข้อหาเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2555)
ขณะเกิดเหตุแม้จำเลยไม่ได้ทำหน้าที่ฝ่ายการเงินของโรงเรียนและไม่มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนโดยตรงก็ตาม แต่จำเลยเป็นอาจารย์ฝ่ายทะเบียนและฝ่ายผู้สอน นักเรียนสามารถฝากเงินแก่จำเลยให้นำไปชำระแก่โรงเรียนได้โดยถือเสมือนหนึ่งว่านักเรียนชำระเงินให้แก่โรงเรียนแล้ว และจำเลยมีหน้าที่นำเงินดังกล่าวไปมอบให้ฝ่ายการเงิน ถือได้ว่าจำเลยได้รับมอบหมายโดยปริยายจากโรงเรียนให้มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนแทนโรงเรียนได้ ซึ่งเมื่อจำเลยได้รับเงินดังกล่าวจากนักเรียนแล้ว เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ไม่ได้เป็นของนักเรียนอีกต่อไป นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลย จึงมิใช่ผู้เสียหายผู้มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ดังนั้นแม้ก่อนโจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในคดีนี้ นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลยไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกง และถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากโรงเรียนออกใบรับรองผลการเรียนให้ไปแล้วก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่านักเรียนดังกล่าวเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในความผิดข้อหายักยอกตามฟ้องนี้ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ในส่วนนี้จึงยังไม่ระงับไป เพราะมิใช่เป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียหายและเปลี่ยนข้อหาเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2555)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9892/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าปรับกึ่งหนึ่งจากผู้ละเมิดลิขสิทธิ์: เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิได้รับค่าปรับที่จำเลยชำระเพื่อบรรเทาความเสียหาย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าก็ต้องพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษาฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9801/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์: การสร้างสรรค์ การทดรองจ่าย และขอบเขตกรรมสิทธิ์
น. เป็นผู้คิดค้นรูปแบบรายการโทรทัศน์ประเภทสปอร์ตเรียลลิตี้ "THE WINNER" ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์จัดประกวดและคัดเลือกนักฟุตบอลให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อทำการเผยแพร่ออกอากาศทางโทรทัศน์ แม้รูปแบบรายการโทรทัศน์ดังกล่าวที่ น. คิดขึ้นในขณะนำมาเสนอกับจำเลยจะยังไม่มีการแสดงออกทางความคิดจนเกิดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แต่ต่อมาได้มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทโจทก์โดยมี น. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ โจทก์และจำเลยตกลงร่วมกันผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวและได้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน โดยจำเลยตกลงที่จะชำระค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ในการได้สิทธิผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ดังกล่าว ข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์อนุญาตให้สิทธิจำเลยผลิตรายการตามรูปแบบรายการดังกล่าวและนำไปออกอากาศจึงมีผลผูกพันและสามารถบังคับได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และจำเลย
โจทก์แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุ ชื่อ "THE WINNER" ก่อนที่โจทก์จะได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวซึ่งขณะนั้นไม่มีงานลิขสิทธิ์เกิดขึ้น การแจ้งดังกล่าวจึงไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว เพราะการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้นจะต้องมีการสร้างสรรค์งานและเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ตอนที่ 1 ถึง 3 ก่อนที่จำเลยจะนำมาตัดต่อเพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เป็นตอนที่ 1 ถึง 3 โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
จำเลยได้มีการประชุมร่วมกับโจทก์และตกลงให้จำเลยตัดต่อเทปต้นฉบับเพื่อออกอากาศใหม่ ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำการตัดต่อเทปตอนที่ 1 ถึง 3 ใหม่ตามการแสดงออกทางความคิดของจำเลยเพื่อออกอากาศ เป็นการที่โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยดัดแปลงงานโสตทัศน์วัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยจึงมีลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปโทรทัศน์รายการโทรทัศน์ที่ดัดแปลงแล้วนำออกอากาศในตอนที่ 1 ถึง 3 ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 11 จำเลยนำเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึง 3 ที่จำเลยได้ออกอากาศมาตัดต่อใหม่เป็นเทปรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตอนที่ 4 ถึง 6 เป็นการที่จำเลยดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง จำเลยจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ตอนที่ 4 ถึงที่ 6 ดังกล่าว
เทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 เป็นเทปรายการโทรทัศน์ที่จำเลยสร้างสรรค์ขึ้นภายหลังที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลง โดยโจทก์ให้สิทธิจำเลยในการผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในรูปแบบรายการดังกล่าว โดยไม่ปรากฎข้อตกลงอื่นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ผลิต จำเลยซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 ดังกล่าวจึงเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
โจทก์แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุ ชื่อ "THE WINNER" ก่อนที่โจทก์จะได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวซึ่งขณะนั้นไม่มีงานลิขสิทธิ์เกิดขึ้น การแจ้งดังกล่าวจึงไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว เพราะการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้นจะต้องมีการสร้างสรรค์งานและเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ตอนที่ 1 ถึง 3 ก่อนที่จำเลยจะนำมาตัดต่อเพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เป็นตอนที่ 1 ถึง 3 โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
จำเลยได้มีการประชุมร่วมกับโจทก์และตกลงให้จำเลยตัดต่อเทปต้นฉบับเพื่อออกอากาศใหม่ ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำการตัดต่อเทปตอนที่ 1 ถึง 3 ใหม่ตามการแสดงออกทางความคิดของจำเลยเพื่อออกอากาศ เป็นการที่โจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยดัดแปลงงานโสตทัศน์วัสดุเทปต้นฉบับรายการโทรทัศน์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยจึงมีลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปโทรทัศน์รายการโทรทัศน์ที่ดัดแปลงแล้วนำออกอากาศในตอนที่ 1 ถึง 3 ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 11 จำเลยนำเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 1 ถึง 3 ที่จำเลยได้ออกอากาศมาตัดต่อใหม่เป็นเทปรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตอนที่ 4 ถึง 6 เป็นการที่จำเลยดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง จำเลยจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ตอนที่ 4 ถึงที่ 6 ดังกล่าว
เทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 เป็นเทปรายการโทรทัศน์ที่จำเลยสร้างสรรค์ขึ้นภายหลังที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยผลิตรายการโทรทัศน์ดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลง โดยโจทก์ให้สิทธิจำเลยในการผลิตและออกอากาศชุดรายการโทรทัศน์ "THE WINNER" ที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในรูปแบบรายการดังกล่าว โดยไม่ปรากฎข้อตกลงอื่นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ ที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ผลิต จำเลยซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานโสตทัศนวัสดุเทปรายการโทรทัศน์ตอนที่ 7 ถึง 27 ดังกล่าวจึงเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9757/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่เป็นป่าช้า: การครอบครองปรปักษ์ต้องสุจริตและเปิดเผย
ตามพฤติการณ์ของผู้ร้องตั้งแต่ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและนำสืบพยานผู้ร้องในชั้นไต่สวนคำร้องขอเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ศาลทราบความจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าช้าฝังศพ เนื่องจากผู้ร้องเกรงว่าจะเป็นสาเหตุให้ศาลทราบว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทอย่างสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่ผู้ร้องอ้าง การดำเนินคดีของผู้ร้องดังกล่าวมาทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 5 ไม่สมควรที่ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากการกระทำอันไม่สุจริตของตน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จึงไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นได้
หนังสือหารือของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตที่สอบถามศาลชั้นต้นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ป่าช้าสำหรับศาสนิกชนคริสเตียนมิได้เป็นของ อ. บ. และ ค. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตจะจดทะเบียนให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้หรือไม่ เป็นหนังสือหารือที่ขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อขัดข้องในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตเห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้วินิจฉัยได้ ไม่ถือว่าเป็นการกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคสอง
หนังสือหารือของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตที่สอบถามศาลชั้นต้นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ป่าช้าสำหรับศาสนิกชนคริสเตียนมิได้เป็นของ อ. บ. และ ค. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตจะจดทะเบียนให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้หรือไม่ เป็นหนังสือหารือที่ขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อขัดข้องในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตเห็นว่าไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้วินิจฉัยได้ ไม่ถือว่าเป็นการกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำยาเสพติดเข้าประเทศ - การรับสารภาพ - การฟ้องซ้ำ - การนำเข้าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีน จำนวน 1.5 หน่วยการใช้ (เม็ด) ติดตัวมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเสพ ไม่ได้เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างร้ายแรงและพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยไม่อุทธรณ์ ส่วนโจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่พอฟังว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงซึ่งยุติไปในศาลชั้นต้นมาโต้เถียงใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มาด้วย เป็นการไม่ชอบ
การที่จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเดินทางกลับประเทศไทยโดยนำเมทแอมเฟตามีน 1.5 เม็ด เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือได้ว่าเป็นการนำเข้าตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งหมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามามากหรือน้อยหรือด้วยเหตุผลประการใดของจำเลยก็ตาม
การที่จำเลยเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเดินทางกลับประเทศไทยโดยนำเมทแอมเฟตามีน 1.5 เม็ด เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือได้ว่าเป็นการนำเข้าตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งหมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามามากหรือน้อยหรือด้วยเหตุผลประการใดของจำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8410/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทุกประเด็น การลงโทษฐานครอบครองยาเสพติดไม่เข้าข่ายบทหนักตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดสถานหนักตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุก ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยชอบแล้ว ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษจำเลยสถานหนักตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ คงวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลย ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)
คำว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด... โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนและกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว
คำว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด... โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนและกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว