พบผลลัพธ์ทั้งหมด 255 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับตามสัญญาประกัน เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรงกับศาล
ตามสัญญาประกันมีผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันเป็นฝ่ายอาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงไม่จำต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกัน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ไม่มีบทแก้ไขโทษ แต่ศาลอุทธรณ์แก้โทษจำคุกและปรับ ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ไม่อาจฎีกาได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหก, 65 วรรคหนึ่ง, 70 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 69 ด้วย ซึ่งเป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ อันเป็นเหตุฉกรรจ์ หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพียงแต่แก้จำนวนโทษ โดยมิได้แก้บทลงโทษจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคหกของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีจุดมุ่งหมายห้ามมิให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารในระหว่างอุทธรณ์ในทันทีที่มีการยื่นอุทธรณ์เพื่อรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพอาคารมิให้ถูกก่อสร้างเพิ่มเติม เพราะถ้าหากปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารต่อไปอาจทำให้อาคารมีสภาพเปลี่ยนแปลงยากแก่การแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนั้นข้อห้ามกระทำการใดแก่อาคารจึงเริ่มตั้งแต่วันที่มีการยื่นอุทธรณ์ หาใช่นับแต่วันที่ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคหกของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีจุดมุ่งหมายห้ามมิให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารในระหว่างอุทธรณ์ในทันทีที่มีการยื่นอุทธรณ์เพื่อรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพอาคารมิให้ถูกก่อสร้างเพิ่มเติม เพราะถ้าหากปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารต่อไปอาจทำให้อาคารมีสภาพเปลี่ยนแปลงยากแก่การแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนั้นข้อห้ามกระทำการใดแก่อาคารจึงเริ่มตั้งแต่วันที่มีการยื่นอุทธรณ์ หาใช่นับแต่วันที่ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองที่ดิน: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยโอนสิทธิหากจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยซื้อคืนมาจากผู้รับซื้อฝากหรือจำนองจากจำเลย โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา แต่ไม่สามารถขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินหรือเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้เพราะยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ขอให้บังคับจำเลยไปโอนสิทธิครอบครองหรือสละสิทธิที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามไม่ได้ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยหรือมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองดีกว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์อ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทหรือกระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ทั้งการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปโอนสิทธิครอบครองหรือสละสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มีกรณีที่จะพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะกรณีตามฟ้องจำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องไปโอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7195/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสัญญาจ้างทำของ-ต่างตอบแทน สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย-หักกลบหนี้
โจทก์ว่าจ้างจำเลยทำแม่พิมพ์พื้นเตารีดในราคา 100,000 บาท จำเลยทำเสร็จพร้อมกับได้รับค่าจ้างแล้ว หลังจากนั้นโจทก์จ้างจำเลยใช้แม่พิมพ์ดังกล่าวผลิตพื้นเตารีดโดยโจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระ คือแท่งทองแดงนำความร้อน 16,762 ชิ้น และจำเลยต้องผลิตพื้นเตารีดตามจำนวนแท่งทองแดงนำความร้อนดังกล่าวในราคาค่าจ้างชิ้นละ 32 บาท จำเลยผลิตเสร็จแล้วและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าจ้าง 536,384 บาท แต่โจทก์ไม่ชำระ กลับมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบแม่พิมพ์พร้อมทั้งแท่งทองแดงนำความร้อน 16,762 ชิ้น คืนโจทก์ จำเลยจึงใช้สิทธิยึดหน่วงแม่พิมพ์และแท่งทองแดงนำความร้อนอันเป็นส่วนหนึ่งของพื้นเตารีด ต่อมาจำเลยได้แยกอะลูมิเนียมออกจากแท่งทองแดงนำความร้อนที่ผลิตเป็นพื้นเตารีดจนไม่มีสภาพเป็นพื้นเตารีดอีกต่อไป ถือได้โดยปริยายว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกัน เมื่อโจทก์จำเลยคู่สัญญาไม่ได้มีข้อตกลงกันไว้และไม่มีทางจะบังคับเป็นอย่างอื่น ก็ต้องอนุโลมบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 คือ โจทก์จำเลยจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม สำหรับแม่พิมพ์หากส่งคืนไม่ได้ให้จำเลยใช้ราคา 100,000 บาท
สัญญาที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยผลิตพื้นเตารีดเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา 369 เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้ว โจทก์กับจำเลยต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ มาตรา 391 วรรคสี่ ยังบัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ซึ่งมีความหมายว่า การเลิกสัญญานั้นไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นก่อนแล้ว กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้มีความรับผิดที่ไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215, 216 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ทำการผลิตพื้นเตารีดตามที่โจทก์สั่งเสร็จแล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างซึ่งจำเลยทวงถามให้ชำระแล้ว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดก่อนมีการเลิกสัญญาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้แม้ภายหลังโจทก์จำเลยจะเลิกสัญญาต่อกัน และแม้กรณีนี้จำเลยไม่ได้ส่งมอบพื้นเตารีดที่ผลิตเสร็จให้โจทก์ โดยจำเลยได้แยกอะลูมิเนียมออกจากแท่งทองแดงนำความร้อนที่ผลิตเป็นพื้นเตารีดออกจากกันจนไม่มีสภาพเป็นพื้นเตารีดอีกต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับการงานอันจำเลยได้กระทำให้ที่จำเลยจะมีสิทธิได้รับค่าแห่งการงานนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ตาม แต่จำเลยก็ได้แสดงให้เห็นถึงความเสียหายส่วนนี้มาในคำให้การแล้ว ศาลจึงชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้จำเลย แล้วนำมาหักกับราคาแท่งทองแดงนำความร้อนที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ก่อนได้ ตามหลักในเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 392 ประกอบมาตรา 369
สัญญาที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยผลิตพื้นเตารีดเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา 369 เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้ว โจทก์กับจำเลยต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ มาตรา 391 วรรคสี่ ยังบัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ซึ่งมีความหมายว่า การเลิกสัญญานั้นไม่ลบล้างความรับผิดที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นก่อนแล้ว กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้มีความรับผิดที่ไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215, 216 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ทำการผลิตพื้นเตารีดตามที่โจทก์สั่งเสร็จแล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างซึ่งจำเลยทวงถามให้ชำระแล้ว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดก่อนมีการเลิกสัญญาแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้แม้ภายหลังโจทก์จำเลยจะเลิกสัญญาต่อกัน และแม้กรณีนี้จำเลยไม่ได้ส่งมอบพื้นเตารีดที่ผลิตเสร็จให้โจทก์ โดยจำเลยได้แยกอะลูมิเนียมออกจากแท่งทองแดงนำความร้อนที่ผลิตเป็นพื้นเตารีดออกจากกันจนไม่มีสภาพเป็นพื้นเตารีดอีกต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับการงานอันจำเลยได้กระทำให้ที่จำเลยจะมีสิทธิได้รับค่าแห่งการงานนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ตาม แต่จำเลยก็ได้แสดงให้เห็นถึงความเสียหายส่วนนี้มาในคำให้การแล้ว ศาลจึงชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้จำเลย แล้วนำมาหักกับราคาแท่งทองแดงนำความร้อนที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ก่อนได้ ตามหลักในเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 392 ประกอบมาตรา 369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ประธานขาดอายุความ และการคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง
ทรัพย์จำนองถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นนำยึดออกขายทอดตลาดโดยติดจำนอง จำเลยเป็นผู้ซื้อทรัพย์ติดจำนองดังกล่าว ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้จำนองศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดโจทก์มิได้บังคับคดีจนล่วงเลย 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่การจำนองหาระงับสิ้นไปไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) (3) เพราะมิใช่กรณีหนี้ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความหรือผู้จำนองหลุดพ้น การจำนองจึงยังมีอยู่โจทก์จึงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745 เมื่อจำเลยซื้อทรัพย์ติดจำนอง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองแก่จำเลยจากทรัพย์นั้นได้ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 บัญญัติให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ (1) ดอกเบี้ย (2) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ (3) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในการบังคับจำนองได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองมีข้อตกลงว่าผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในการบังคับจำนองทรัพย์พิพาทได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาจำนองได้ แม้จำเลยไม่ใช่ผู้กู้และมิได้เป็นคู่สัญญาจำนองกับโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6728/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวชั่วคราวเพื่อผัดผ่อนค่าปรับ ไม่ใช่สัญญาประกันการชำระหนี้ค่าปรับ ศาลฎีกาแก้ไขค่าปรับ
การจะพิจารณาว่าสัญญาประกันที่มีกรมธรรม์ประกันอิสรภาพของผู้ร้องเป็นหลักประกันนั้นเป็นสัญญาประกันตัวจำเลยเพื่อให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นสัญญาประกันการชำระหนี้ค่าปรับ ต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ รูปแบบ และเนื้อความแห่งสัญญาประกันที่ศาลเลือกใช้ ในคดีนี้ปรากฏว่า กรมธรรม์ประกันอิสรภาพที่ผู้ร้องออกให้ไว้แก่ศาลนั้น ผู้ร้องรับรองต่อศาลว่าหากจำเลยไม่มาศาล ผู้ร้องก็จะชำระเงินให้แก่ศาลในวงเงิน 90,000 บาท ข้อความตามสัญญาประกันในคดีนี้จึงมีลักษณะเป็นการรับรองว่าจำเลยจะมาศาลเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระค่าปรับตามที่ศาลอนุญาตให้ผัดชำระค่าปรับ อันเป็นสัญญาประกันตัวจำเลยเพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวไม่ใช่สัญญาประกันเพื่อการชำระหนี้ค่าปรับที่ในชั้นที่สุดจะบังคับเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของค่าปรับตามคำพิพากษา จึงจะนำเงินที่ผู้ร้องนำมาชำระค่าปรับตามสัญญามาเป็นส่วนหนึ่งแห่งค่าปรับตามคำพิพากษาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6597/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษโดยศาลอุทธรณ์และการจำกัดสิทธิในการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
คดีนี้ในความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ปอ. มาตรา 138 วรรคสอง 140 วรรคแรก และวรรคสาม ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ปอ. มาตรา 138 วรรคสอง โดยไม่ได้ปรับบทลงโทษตามมาตรา 140 วรรคแรก และวรรคสามด้วย แต่ลักษณะความผิดตาม ปอ. มาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา 140 วรรคแรก ไม่แตกต่างกันและไม่มีระวางโทษจำคุกขั้นต่ำเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 138 วรรคสอง ระวางโทษขั้นสูงจำคุกไม่เกินสองปี ส่วนมาตรา 140 วรรคแรก ระวางโทษขั้นสูงจำคุกไม่เกินห้าปีและตาม ปอ. มาตรา 140 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดมาตรา 140 วรรคแรก ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ ไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แก้บทลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6505/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ในชั้นพิจารณา ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อสาระสำคัญของการกระทำความผิดว่าจำเลยกระทำโดยประมาทด้วยการขับรถด้วยความเร็วสูงเกินสมควรและไม่ชะลอความเร็วเมื่อถึงสี่แยก แต่ทางพิจารณากลับได้ความว่าจำเลยจอดรถอยู่ที่สี่แยกและเพิ่งขับรถเคลื่อนที่เมื่อได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวแล้วชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมที่ 1 เพราะมองไม่เห็นมิใช่เพราะการขับรถเร็วหรือไม่ชะลอความเร็วตามฟ้อง ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง ทั้งเป็นข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีตามข้อตกลง, ห้ามใช้วิธีขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยทั้งสามยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องและตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามตกลงชำระหนี้โจทก์โดยนำทรัพย์จำนองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน หากผิดนัด ยินยอมให้โจทก์ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันทีเพียงประการเดียว ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่ามีการตกลงกันให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ได้สองวิธีคือ นำทรัพย์จำนองตีราคาชำระหนี้ หรือนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ การที่สัญญาระบุว่าจำเลยทั้งสามรับว่าเป็นหนี้และตกลงร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ก็เป็นเพียงการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้มูลหนี้เดิมระงับ โจทก์และจำเลยทั้งสามต้องผูกพันกันตามมูลหนี้ใหม่โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โจทก์หามีสิทธิเลือกบังคับคดีด้วยวิธีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมแก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการประกอบกิจการวีซีดีผิดกฎหมาย และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายแผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เมื่อจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการดังกล่าวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ส่วนที่ต่อมาระหว่างเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 จึงเข้าจับกุม แต่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ นับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ต่างกรรมต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายแผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 78 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้องด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 78 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้องด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง