พบผลลัพธ์ทั้งหมด 255 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การหลังศาลวินิจฉัยคดีล้มละลายแล้ว ถือเป็นการประวิงคดี ศาลมีอำนาจเพิกถอนการรับคำให้การ
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่รับคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 มิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าคำสั่งดังกล่าวของศาลล้มละลายกลางไม่ชอบจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 26 วรรคสี่
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ในวันนัดพิจารณา จำเลยมาศาลและแถลงต่อศาลว่า จำเลยไม่ติดใจถามค้านและไม่ติดใจสืบพยาน ทั้งยังแถลงว่าอยู่ระหว่างตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้ให้แก่โจทก์คาดว่าจะตกลงกันได้ ขอระยะเวลา 4 เดือน หากนัดหน้าไม่สามารถตกลงกันได้จะไม่ขอเลื่อนคดีอีกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่า คดีเสร็จการพิจารณา ให้นัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 หลังจากนั้น จำเลยเป็นฝ่ายขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งรวม 5 ครั้ง เป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปีเศษ อ้างว่าอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อขอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ทั้งจำเลยได้อ้างส่งเอกสารที่แสดงว่าตนเป็นหนี้โจทก์จริงและประสงค์จะผ่อนชำระหนี้นั้น นอกจากนี้ จำเลยแถลงรับในคำร้องขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของจำเลยฉบับลงวันที่ 8 ธันวาคม 2554 และฉบับลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 ว่า อยู่ในระหว่างการเจรจาหนี้กับโจทก์ เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยได้ชำระหนี้คืนโจทก์ ขอศาลได้โปรดเลื่อนคดี ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 จำเลยกลับยื่นคำร้องรวม 3 ฉบับ คือ คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพยานเอกสาร คำร้องขอนำส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็น และคำร้องขออนุญาตต่อสู้คดีและยื่นคำให้การ ทั้งยังยื่นคำให้การคำแถลงระบุพยานจำเลย และบัญชีระบุพยานมาด้วย ศาลล้มละลายกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 11 มิถุนายน 2555 ว่า ได้สอบโจทก์แล้วแถลงคัดค้านเนื่องจากจำเลยมีเจตนาประวิงคดี แล้ววินิจฉัยว่าการพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยแถลงว่า การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ แต่จำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ ไม่ใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยต่อสู้คดี กับมีคำสั่งให้เลื่อนไปถามค้านและสืบพยานจำเลยวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ทั้งที่การพิจารณาคดีล้มละลายต้องดำเนินการติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง การกำหนดแนวทางการดำเนินคดีเพื่อระงับข้อพิพาทโดยวิธีอื่นโดยการไกล่เกลี่ยเพื่อให้คดีเสร็จไป ตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2549 ข้อ 14 (1) จึงกำหนดให้กระทำได้เมื่อก่อนมีการสืบพยาน เมื่อคดีนี้ได้มีการสืบพยานแล้วเสร็จและคดีเสร็จการพิจารณาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 การให้โอกาสแก่จำเลยในการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งออกไปเป็นเวลานานกว่า 1 ปีเศษ ซึ่งจำเลยมีระยะเวลาพอสมควรที่จะเจรจาหนี้นอกศาลกับโจทก์ แต่ไม่ปรากฏผลว่าสามารถเจรจาระงับข้อพิพาทนอกศาลกันได้สำเร็จโดยเร็ว โดยจำเลยเป็นฝ่ายแถลงต่อศาลในวันคดีเสร็จการพิจารณาเองว่า หากการเจรจาหนี้กับโจทก์ไม่สามารถตกลงกันได้จะไม่ขอเลื่อนคดีอีก แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขออนุญาตต่อสู้คดีและยื่นคำให้การความว่า การเจรจาหนี้กับโจทก์ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งจำเลยใช้เวลานานเกินควรในการเจรจา และในคำร้องก็ระบุแต่เพียงว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งในคำร้องว่า หากศาลไม่อนุญาตให้ต่อสู้คดีและยื่นคำให้การแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยส่อไปในทางประวิงคดี และการที่จำเลยยื่นคำให้การฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ภายหลังจากสืบพยานในคดีเสร็จสิ้นและคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว จึงเป็นการยื่นคำให้การล่วงเลยระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำให้การของจำเลยมานั้น เป็นการมิชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ในวันนัดพิจารณา จำเลยมาศาลและแถลงต่อศาลว่า จำเลยไม่ติดใจถามค้านและไม่ติดใจสืบพยาน ทั้งยังแถลงว่าอยู่ระหว่างตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้ให้แก่โจทก์คาดว่าจะตกลงกันได้ ขอระยะเวลา 4 เดือน หากนัดหน้าไม่สามารถตกลงกันได้จะไม่ขอเลื่อนคดีอีกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่า คดีเสร็จการพิจารณา ให้นัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 หลังจากนั้น จำเลยเป็นฝ่ายขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งรวม 5 ครั้ง เป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปีเศษ อ้างว่าอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อขอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ทั้งจำเลยได้อ้างส่งเอกสารที่แสดงว่าตนเป็นหนี้โจทก์จริงและประสงค์จะผ่อนชำระหนี้นั้น นอกจากนี้ จำเลยแถลงรับในคำร้องขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของจำเลยฉบับลงวันที่ 8 ธันวาคม 2554 และฉบับลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 ว่า อยู่ในระหว่างการเจรจาหนี้กับโจทก์ เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยได้ชำระหนี้คืนโจทก์ ขอศาลได้โปรดเลื่อนคดี ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 จำเลยกลับยื่นคำร้องรวม 3 ฉบับ คือ คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพยานเอกสาร คำร้องขอนำส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็น และคำร้องขออนุญาตต่อสู้คดีและยื่นคำให้การ ทั้งยังยื่นคำให้การคำแถลงระบุพยานจำเลย และบัญชีระบุพยานมาด้วย ศาลล้มละลายกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 11 มิถุนายน 2555 ว่า ได้สอบโจทก์แล้วแถลงคัดค้านเนื่องจากจำเลยมีเจตนาประวิงคดี แล้ววินิจฉัยว่าการพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยแถลงว่า การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ แต่จำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ ไม่ใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยต่อสู้คดี กับมีคำสั่งให้เลื่อนไปถามค้านและสืบพยานจำเลยวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ทั้งที่การพิจารณาคดีล้มละลายต้องดำเนินการติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง การกำหนดแนวทางการดำเนินคดีเพื่อระงับข้อพิพาทโดยวิธีอื่นโดยการไกล่เกลี่ยเพื่อให้คดีเสร็จไป ตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2549 ข้อ 14 (1) จึงกำหนดให้กระทำได้เมื่อก่อนมีการสืบพยาน เมื่อคดีนี้ได้มีการสืบพยานแล้วเสร็จและคดีเสร็จการพิจารณาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 การให้โอกาสแก่จำเลยในการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งออกไปเป็นเวลานานกว่า 1 ปีเศษ ซึ่งจำเลยมีระยะเวลาพอสมควรที่จะเจรจาหนี้นอกศาลกับโจทก์ แต่ไม่ปรากฏผลว่าสามารถเจรจาระงับข้อพิพาทนอกศาลกันได้สำเร็จโดยเร็ว โดยจำเลยเป็นฝ่ายแถลงต่อศาลในวันคดีเสร็จการพิจารณาเองว่า หากการเจรจาหนี้กับโจทก์ไม่สามารถตกลงกันได้จะไม่ขอเลื่อนคดีอีก แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขออนุญาตต่อสู้คดีและยื่นคำให้การความว่า การเจรจาหนี้กับโจทก์ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งจำเลยใช้เวลานานเกินควรในการเจรจา และในคำร้องก็ระบุแต่เพียงว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งในคำร้องว่า หากศาลไม่อนุญาตให้ต่อสู้คดีและยื่นคำให้การแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยส่อไปในทางประวิงคดี และการที่จำเลยยื่นคำให้การฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ภายหลังจากสืบพยานในคดีเสร็จสิ้นและคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว จึงเป็นการยื่นคำให้การล่วงเลยระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำให้การของจำเลยมานั้น เป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10222/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ครบอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแสดงอำนาจฟ้องได้
ใบมอบอำนาจนั้น บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากร กำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความระบุชัดแจ้งว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วง ให้เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแก่ลูกหนี้รายจำเลยและ อ. หรือ จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาตามฟ้องแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจช่วงนี้จึงมีลักษณะเป็นตราสารใบมอบอำนาจซึ่งต้องปฏิบัติตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 ท้าย ป.รัษฎากรดังกล่าว ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจช่วงว่า โจทก์โดย ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการฟ้องคดี ต่อสู้คดี ดำเนินกระบวนพิจารณา จำหน่ายสิทธิในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีปกครอง คดีล้มละลาย คดีภาษีอากร คดีคุ้มครองผู้บริโภค และให้มีอำนาจดำเนินการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ด้วย ดังนี้ การมอบอำนาจช่วงดังกล่าวของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องร้องคดีนี้และคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยได้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการได้มากกว่าครั้งเดียวโดยให้ผู้รับมอบอำนาจช่วง 2 คน ซึ่งต่างคนต่างกระทำการฟ้องคดีและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ กรณี ต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจช่วงคนละ 30 บาท รวม 60 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจช่วงมาเพียง 30 บาท ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจช่วงของโจทก์จึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ พ. หรือ ศ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยการยื่นคำร้องซ้ำเดิมเป็นกระบวนการซ้ำ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ไม่ได้บัญญัติในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 144 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อ้างว่าจะดำเนินการโดยการปรับโครงสร้างหนี้ และหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่ลูกหนี้นำสืบมาไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานของลูกหนี้ไม่น่าเชื่อถือว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน ในขณะที่ช่องทางหลักในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่า ปัญหาในการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ของลูกหนี้ไม่ได้มีแต่ปัญหาการไม่ชำระหนี้หรือปัญหาในการรวบรวมและจัดการบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ปัญหาสำคัญจริง ๆ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้และกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และบริษัทในเครือที่มีเรื่องฟ้องร้องกันหลายคดี และข้อพิพาทเหล่านี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือกระบวนการของกฎหมายล้มละลาย จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอทั้งสองนำเสนองบดุลของลูกหนี้ที่อ้างว่าจัดทำโดยผู้สอบบัญชี และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ ด้วยวิธีการอาจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ กู้เงิน ปรับรูปแบบโครงการโดยจะเข้าเจรจากับโรงแรมจูเมร่า เกี่ยวกับสัญญาบริหารงานโรงแรม เพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการก่อสร้างและขนาดของโรงแรม ยื่นขออนุญาตส่งเสริมการลงทุน หาคนกลางมาเป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดูแลกิจการของลูกหนี้แทนกรรมการลูกหนี้ที่มีข้อขัดแย้งกันอยู่โดยเสนอบริษัท น. เป็นผู้ทำแผน ซึ่งในการพิจารณาคดีนี้ศาลยังคงต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ทั้งการพิจารณานอกจากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแล้วก็ยังต้องพิจารณางบดุลและพิจารณาการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเทียบกับหนี้สินเหมือนในคดีก่อน ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการที่ผู้ร้องขอที่ 2 เสนอมาก็เป็นช่องทางที่สาระสำคัญหรือหลักการไม่ได้แตกต่างไปจากที่ศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัย ไว้แล้วในคดีก่อนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของลูกหนี้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้ ข้อขัดแย้งของกรรมการและผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ดังนั้น การพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ตาม ป.วิ.พ. 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อ้างว่าจะดำเนินการโดยการปรับโครงสร้างหนี้ และหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่ลูกหนี้นำสืบมาไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานของลูกหนี้ไม่น่าเชื่อถือว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน ในขณะที่ช่องทางหลักในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่า ปัญหาในการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ของลูกหนี้ไม่ได้มีแต่ปัญหาการไม่ชำระหนี้หรือปัญหาในการรวบรวมและจัดการบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ปัญหาสำคัญจริง ๆ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้และกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และบริษัทในเครือที่มีเรื่องฟ้องร้องกันหลายคดี และข้อพิพาทเหล่านี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือกระบวนการของกฎหมายล้มละลาย จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอทั้งสองนำเสนองบดุลของลูกหนี้ที่อ้างว่าจัดทำโดยผู้สอบบัญชี และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ ด้วยวิธีการอาจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ กู้เงิน ปรับรูปแบบโครงการโดยจะเข้าเจรจากับโรงแรมจูเมร่า เกี่ยวกับสัญญาบริหารงานโรงแรม เพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการก่อสร้างและขนาดของโรงแรม ยื่นขออนุญาตส่งเสริมการลงทุน หาคนกลางมาเป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดูแลกิจการของลูกหนี้แทนกรรมการลูกหนี้ที่มีข้อขัดแย้งกันอยู่โดยเสนอบริษัท น. เป็นผู้ทำแผน ซึ่งในการพิจารณาคดีนี้ศาลยังคงต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ทั้งการพิจารณานอกจากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแล้วก็ยังต้องพิจารณางบดุลและพิจารณาการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเทียบกับหนี้สินเหมือนในคดีก่อน ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการที่ผู้ร้องขอที่ 2 เสนอมาก็เป็นช่องทางที่สาระสำคัญหรือหลักการไม่ได้แตกต่างไปจากที่ศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัย ไว้แล้วในคดีก่อนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของลูกหนี้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้ ข้อขัดแย้งของกรรมการและผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ดังนั้น การพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ตาม ป.วิ.พ. 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15427/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีล้มละลายเมื่อมีคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และผลของการยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อการดำเนินคดีล้มละลาย
ระหว่างการพิจารณาคดีล้มละลาย จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลจึงงดการพิจารณาคดีล้มละลายไว้ ต่อมาศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และมีเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 อีกครั้ง แต่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ ศาลจึงไม่งดการพิจารณาคดีล้มละลาย ซึ่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) บัญญัติให้ศาลที่พิจารณาคดีล้มละลายของจำเลยแล้ว หลังจากนั้นศาลได้รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยจะต้องงดการพิจารณาคดีล้มละลายไว้จนกระทั่งคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีเหตุที่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาฟื้นฟูกิจการต่อไป ดังนั้น เมื่อศาลในคดีที่มีการร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งยกคำร้องขอ แม้มีการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก็ตาม กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ที่ศาลในคดีล้มละลายจะต้องงดการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสลากเกินราคาเป็นโมฆะ แต่สิทธิเรียกร้องในส่วนที่ไม่เกินราคายังคงมีอยู่
การขายสลากกินแบ่งรัฐบาลมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติข้อห้ามและกำหนดโทษแก่ผู้ที่เสนอขายหรือขายสลากเกินราคาที่กำหนดในสลากไว้ถึง 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 9 ทวิ ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 9 ตรี ให้ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 39 ให้ระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท จำเลยทำสัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลกับโจทก์ โดยโจทก์ตกลงขายสลากให้แก่จำเลยในราคาฉบับละ 90 บาท หรือส่วนละ 45 บาท แต่ราคาในสลากระบุไว้เพียงฉบับละ 80 บาท หรือส่วนละ 40 บาท สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลซึ่งเกินราคาดังกล่าว จึงเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายทั้งสองฉบับข้างต้น และตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้การสมัครใจซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาสูงกว่าที่กำหนดในสลาก เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลและการบังคับใช้กฎหมายที่ห้ามมิให้ขายสลากกินแบ่งเกินราคา โดยมีการขายเกินราคากันอย่างแพร่หลายก็ตาม หาเป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้การขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาเป็นการอันไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายไม่
สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลรวมส่วนที่ขายตามราคาที่กำหนดไว้ในสลากซึ่งไม่เป็นโมฆะอยู่ด้วยและสามารถแยกแยะจำนวนเงินของส่วนที่ขายเกินราคาออกได้แน่ชัด พฤติการณ์แห่งกรณีที่จำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวนมากไปจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายในทางการค้า ย่อมมีส่วนที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการขายเกินราคาในสลากดังกล่าว อันพึงสันนิษฐานได้ว่าโจทก์และจำเลยเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ โจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสลากในส่วนที่ไม่เกินราคาจากจำเลยได้
สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลรวมส่วนที่ขายตามราคาที่กำหนดไว้ในสลากซึ่งไม่เป็นโมฆะอยู่ด้วยและสามารถแยกแยะจำนวนเงินของส่วนที่ขายเกินราคาออกได้แน่ชัด พฤติการณ์แห่งกรณีที่จำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวนมากไปจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายในทางการค้า ย่อมมีส่วนที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการขายเกินราคาในสลากดังกล่าว อันพึงสันนิษฐานได้ว่าโจทก์และจำเลยเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ โจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสลากในส่วนที่ไม่เกินราคาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้ละเมิด
ตามบันทึกข้อตกลงมีข้อความระบุไว้แต่เพียงว่า ช. และจำเลยต่างยืนยันว่าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีอย่างใดซึ่งกันและกัน ค่าเสียหายที่เกิดจากรถเฉี่ยวชนกันดังกล่าวมีทั้งค่าซ่อมรถ ค่ารถยก และค่ารักษาพยาบาลของผู้ที่บาดเจ็บ แต่ตามบันทึกดังกล่าวไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสิ้นเชิงแต่อย่างใด อีกทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้เอาประกันรถยนต์กระบะคือ ธ. มิใช่ ช. สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมรถหรือค่ายกรถจึงเป็นสิทธิของ ธ. ไม่ใช่สิทธิของ ช. ทั้งไม่ปรากฏว่า ธ. ได้มอบอำนาจให้ ช. ดำเนินการตกลงกับคู่กรณีแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้หนี้ในมูลละเมิดครั้งนี้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19481/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนจัดหาเรือ - ความรับผิดชอบของผู้จัดหาและการรับประกันจากผู้ผลิต
ขณะทำสัญญา Construction, Sale and Purchase Agreement เรือใบคาตามารัน Silkline ยังไม่มีการสร้างขึ้น และจากคำเบิกความของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกแนวคิดและมอบหมายให้ผู้อื่นออกแบบเบื้องต้นซึ่งจำเลยทั้งสองได้จัดซื้อแบบดังกล่าวและได้จัดหาลูกค้าที่ต้องการให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนในการสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์และเข้าทำสัญญากับอู่ต่อเรือที่จะให้ได้มาซึ่งเรือคาตามารันที่มีลักษณะจำเพาะตามรูปแบบที่เรียกว่า Silkline ดังกล่าว เจือสมกับข้อความในสัญญาดังกล่าวซึ่งระบุว่า เรือใบคาตามารัน Silkline ที่มีการทำสัญญากันนั้นเป็นเรือใบคาตามารันที่มีลักษณะจำเพาะตามแบบเขียนแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นแนวคิดเท่านั้น ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่า ขณะทำสัญญา ยังไม่เคยมีการสร้างเรือใบคาตามารันในรูปแบบที่เรียกว่า Silkline ตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าวมาก่อน
เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาที่ระบุว่า จำเลยทั้งสองซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่าตัวแทนได้ตกลงในการจัดการหรือจัดเตรียมเรือใบคาตามารันตามแบบท้ายสัญญาซึ่งเป็นแบบเขียนตามแนวคิดโดยระบุว่าลิขสิทธิ์หรือการป้องกันในลักษณะเดียวกันในส่วนของแบบเขียน แนวคิด แบบการต่อเรือที่ถูกจัดเตรียมโดยตัวแทนยังคงเป็นของตัวแทนเพียงผู้เดียว และในสัญญายังระบุถึงความรับผิดชอบของตัวแทนว่าตัวแทนเป็นผู้ตระเตรียมในส่วนของอู่ต่อเรือในการต่อเรือใบคาตามารันให้เสร็จสมบูรณ์ตามแบบเขียนและกำหนดเวลาและตระเตรียมในส่วนของอู่ต่อเรือในการรับประกันฝีมืองานช่างที่ใช้ในการต่อเรือดังกล่าวโดยการรับประกันทั้งหมดที่ได้รับจากผู้ขายโดยอู่ต่อเรือ ตัวแทนจะต้องโอนให้แก่เจ้าของเรือโดยตรง และการรับประกันจะต้องมีผลบังคับในวันที่ทำการส่งมอบและมีการชำระเงินงวดสุดท้ายเต็มจำนวนโดยสมบูรณ์ และต้องมีระยะเวลาในการรับประกันโดยสมบูรณ์ตามที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ ทั้งนี้ตามสัญญาข้อ 5 อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาระบุให้ตัวแทนเริ่มต้นทำการจัดซื้อวัสดุต่าง ๆ ให้แก่อู่ต่อเรือหลังจากที่ตัวแทนได้รับเงินตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 21 สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขาย แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ตามสัญญาต้องจัดหาอู่ต่อเรือ จัดซื้อวัสดุในการต่อเรือจากเงินที่ได้รับตามสัญญา ควบคุมดูแลให้การต่อเรือเป็นไปตามแบบแนบท้ายสัญญา และต้องดำเนินการให้ผู้ผลิตคืออู่ต่อเรือเป็นผู้รับผิดชอบในการรับประกันฝีมือแรงงานช่างที่ใช้ในการต่อเรือภายหลังมีการส่งมอบสมบูรณ์แล้ว ในสัญญาข้อ 3 ระบุถึงหลักเกณฑ์ในการส่งมอบว่า การส่งมอบเรือดังกล่าวขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเจ้าของเรือในความสมบูรณ์ตามเอกสารแนบท้ายสัญญา แบบเขียน และกำหนดการ และเมื่อมีการชำระเงินทั้งหมดโดยสมบูรณ์และเต็มจำนวนให้กับตัวแทนตามสัญญา โดยตามสัญญาข้อ 5 ระบุว่า สัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อมีการส่งมอบเรือใบคาตามารันให้แก่เจ้าของและมีการชำระเงินงวดสุดท้ายทั้งหมด
เมื่อทางนำสืบของคู่ความได้ความว่า การต่อเรือดังกล่าวไม่มีปัญหาเรื่องการผิดแบบแปลนและกำหนดเวลาแล้วเสร็จ ทั้งปรากฏตามสัญญาจ้างต่อเรือว่า มีการรับประกันสำหรับเรือ ฝีมือแรงงาน และการติดตั้งวัสดุจากอู่ต่อเรือเวฟมาสเตอร์ฯ ในสัญญาดังกล่าวด้วย อันแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองได้ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว ทั้งการที่ ซ. ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปรับมอบเรือแทนโจทก์ได้เดินทางไปรับมอบเรือดังกล่าวจากอู่เรือดังกล่าว ที่ประเทศมาเลเซีย แล้วนำล่องทะเลกลับมาที่จังหวัดภูเก็ต แสดงว่า ซ. พึงพอใจในเรือที่ต่อส่งผลให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญางวดสุดท้ายให้แก่จำเลยทั้งสองในวันรุ่งขึ้น ถือว่าโจทก์ได้รับมอบเรือไว้ตามหลักเกณฑ์ในการส่งมอบที่ระบุในสัญญาแล้ว สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงสิ้นสุดและจำเลยทั้งสองพ้นจากความรับผิดชอบในเรือดังกล่าว โดยเป็นความรับผิดชอบต่อไปของอู่ต่อเรือตามการรับประกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา
เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาที่ระบุว่า จำเลยทั้งสองซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่าตัวแทนได้ตกลงในการจัดการหรือจัดเตรียมเรือใบคาตามารันตามแบบท้ายสัญญาซึ่งเป็นแบบเขียนตามแนวคิดโดยระบุว่าลิขสิทธิ์หรือการป้องกันในลักษณะเดียวกันในส่วนของแบบเขียน แนวคิด แบบการต่อเรือที่ถูกจัดเตรียมโดยตัวแทนยังคงเป็นของตัวแทนเพียงผู้เดียว และในสัญญายังระบุถึงความรับผิดชอบของตัวแทนว่าตัวแทนเป็นผู้ตระเตรียมในส่วนของอู่ต่อเรือในการต่อเรือใบคาตามารันให้เสร็จสมบูรณ์ตามแบบเขียนและกำหนดเวลาและตระเตรียมในส่วนของอู่ต่อเรือในการรับประกันฝีมืองานช่างที่ใช้ในการต่อเรือดังกล่าวโดยการรับประกันทั้งหมดที่ได้รับจากผู้ขายโดยอู่ต่อเรือ ตัวแทนจะต้องโอนให้แก่เจ้าของเรือโดยตรง และการรับประกันจะต้องมีผลบังคับในวันที่ทำการส่งมอบและมีการชำระเงินงวดสุดท้ายเต็มจำนวนโดยสมบูรณ์ และต้องมีระยะเวลาในการรับประกันโดยสมบูรณ์ตามที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ ทั้งนี้ตามสัญญาข้อ 5 อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาระบุให้ตัวแทนเริ่มต้นทำการจัดซื้อวัสดุต่าง ๆ ให้แก่อู่ต่อเรือหลังจากที่ตัวแทนได้รับเงินตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 21 สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขาย แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ตามสัญญาต้องจัดหาอู่ต่อเรือ จัดซื้อวัสดุในการต่อเรือจากเงินที่ได้รับตามสัญญา ควบคุมดูแลให้การต่อเรือเป็นไปตามแบบแนบท้ายสัญญา และต้องดำเนินการให้ผู้ผลิตคืออู่ต่อเรือเป็นผู้รับผิดชอบในการรับประกันฝีมือแรงงานช่างที่ใช้ในการต่อเรือภายหลังมีการส่งมอบสมบูรณ์แล้ว ในสัญญาข้อ 3 ระบุถึงหลักเกณฑ์ในการส่งมอบว่า การส่งมอบเรือดังกล่าวขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเจ้าของเรือในความสมบูรณ์ตามเอกสารแนบท้ายสัญญา แบบเขียน และกำหนดการ และเมื่อมีการชำระเงินทั้งหมดโดยสมบูรณ์และเต็มจำนวนให้กับตัวแทนตามสัญญา โดยตามสัญญาข้อ 5 ระบุว่า สัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อมีการส่งมอบเรือใบคาตามารันให้แก่เจ้าของและมีการชำระเงินงวดสุดท้ายทั้งหมด
เมื่อทางนำสืบของคู่ความได้ความว่า การต่อเรือดังกล่าวไม่มีปัญหาเรื่องการผิดแบบแปลนและกำหนดเวลาแล้วเสร็จ ทั้งปรากฏตามสัญญาจ้างต่อเรือว่า มีการรับประกันสำหรับเรือ ฝีมือแรงงาน และการติดตั้งวัสดุจากอู่ต่อเรือเวฟมาสเตอร์ฯ ในสัญญาดังกล่าวด้วย อันแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองได้ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว ทั้งการที่ ซ. ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปรับมอบเรือแทนโจทก์ได้เดินทางไปรับมอบเรือดังกล่าวจากอู่เรือดังกล่าว ที่ประเทศมาเลเซีย แล้วนำล่องทะเลกลับมาที่จังหวัดภูเก็ต แสดงว่า ซ. พึงพอใจในเรือที่ต่อส่งผลให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญางวดสุดท้ายให้แก่จำเลยทั้งสองในวันรุ่งขึ้น ถือว่าโจทก์ได้รับมอบเรือไว้ตามหลักเกณฑ์ในการส่งมอบที่ระบุในสัญญาแล้ว สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงสิ้นสุดและจำเลยทั้งสองพ้นจากความรับผิดชอบในเรือดังกล่าว โดยเป็นความรับผิดชอบต่อไปของอู่ต่อเรือตามการรับประกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18297-18298/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนสิทธิบัตร: ผู้มีส่วนได้เสียต้องใช้สิทธิขอตรวจสอบก่อนฟ้อง และต้องแสดงให้เห็นถึงการถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือกใช้สิทธิและไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องร้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อน
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โจทก์ที่ 1 แสดงว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 อาจเป็นการประดิษฐ์ที่มีข้อถือสิทธิและรูปลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันที่อาจทำให้แต่ละฝ่ายเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยตรง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ฉ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้ โจทก์ที่ 1 ต้องรอให้กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ตามที่โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเลือกให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะนำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 และ 74 เมื่อปรากฏว่าในขณะยื่นฟ้องยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แจ้งผลการตรวจสอบของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้โจทก์ที่ 1 ทราบ และโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้อีก โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏรายละเอียดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่โดยตรง และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 อ้างในคำฟ้อง หากจะฟังว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 เนื่องจากขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ และกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ละเมิดอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ถูกยึดและขัดขวางการจำหน่าย ผลิตซึ่งเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 2 มาด้วยก็ตาม หากเป็นจริงก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะบุคคลใด ๆ ที่จะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ขึ้นอ้างในกรณีที่จะถูกบังคับใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คำฟ้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 65 นว วรรคสอง แต่เป็นการที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสำคัญ โดยอ้างเหตุการจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โจทก์ที่ 1 แสดงว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 อาจเป็นการประดิษฐ์ที่มีข้อถือสิทธิและรูปลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันที่อาจทำให้แต่ละฝ่ายเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์อันเนื่องมาจากอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรโดยตรง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ฉ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้ โจทก์ที่ 1 ต้องรอให้กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรว่ามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ตามที่โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเลือกให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงจะนำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้พิจารณาคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 72 และ 74 เมื่อปรากฏว่าในขณะยื่นฟ้องยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แจ้งผลการตรวจสอบของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้โจทก์ที่ 1 ทราบ และโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิบัตร คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่ 1 ที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ได้อีก โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏรายละเอียดพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่โดยตรง และเป็นการโต้แย้งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ที่โจทก์ที่ 2 อ้างในคำฟ้อง หากจะฟังว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็ย่อมไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 2 จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 เนื่องจากขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ และกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ละเมิดอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ถูกยึดและขัดขวางการจำหน่าย ผลิตซึ่งเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยที่ 2 มาด้วยก็ตาม หากเป็นจริงก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะบุคคลใด ๆ ที่จะกล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ขึ้นอ้างในกรณีที่จะถูกบังคับใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิในอนุสิทธิบัตรดังกล่าวเท่านั้น ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คำฟ้องของบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 65 นว วรรคสอง แต่เป็นการที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสำคัญ โดยอ้างเหตุการจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15171/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ต่อความเสียหายจากทรัพย์สินยืมใช้ราชการอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อ
ส. นักการภารโรงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโรงเรียนจำเลยที่ 5 ที่ให้เก็บเครื่องตัดหญ้าคันเกิดเหตุไว้ในห้องสมุดทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จมาโดยตลอด จำเลยที่ 4 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นสถานศึกษา จึงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถานการศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ เป็นผู้แทนของสถานศึกษาหรือส่วนราชการในกิจการทั่วไป รวมทั้งการจัดทำนิติกรรมสัญญาราชการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการได้รับตามที่ได้รับมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 39 (1) (2) และ (3) แม้เครื่องตัดหญ้าคันเกิดเหตุจะมิใช่ทรัพย์สินของทางราชการ แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนจำเลยที่ 5 ยืมมาใช้ในราชการ จำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 644 การที่จำเลยที่ 4 ปล่อยปละละเลยการบริหารกิจการของสถานศึกษาและไม่ควบคุมดูแลบุคลากรในสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการหรือของสถานศึกษา จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 เมื่อความประมาทเลินเล่อนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 4 ยืมเครื่องตัดหญ้าคันเกิดเหตุมาใช้ราชการ แต่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 39 จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จำเลยที่ 4 อยู่ในสังกัดจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15083/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการต่างประเทศ ต้องรับผิดตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ขนส่งเอง
จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่เข้าทำสัญญาขนส่งกับโจทก์แทนจำเลยที่ 2 ตัวการ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 824 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์