คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 531

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณและการหมิ่นประมาท: การพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ในการฟ้องร้อง
การที่โจทก์นำสืบว่านอกจากจำเลยพูดกับโจทก์ว่า "เป็นลูกหมา"แล้วยังพูดด้วยว่าโจทก์ "พูดจากลับกลอก" และ "พูดหมา ๆ" ด้วยนั้นแม้โจทก์จะนำสืบถ้อยคำที่พูดของจำเลยแตกต่างไปจากคำฟ้องบ้างแต่ถ้อยคำนั้นก็เป็นการกล่าวต่อเนื่องกับถ้อยคำที่จำเลยพูดว่าโจทก์ตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง กรณีจึงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น แม้จำเลยจะกล่าววาจาหยาบคายไม่น่าฟังต่อหน้าโจทก์ซึ่งเป็นมารดา แต่ก็หาได้กล่าวดูหมิ่น หมิ่นประมาทว่าโจทก์เป็นหมาโดยตรงทั้งตามพฤติการณ์ที่โจทก์เคยตกลงจะแบ่งที่ดินปลูกบ้านให้จำเลยแล้วภายหลังกลับใจไม่ยกให้ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยเกิดโทสะพลุ่งพล่านผสมกับความน้อยใจ จึงได้กล่าววาจาประชดประชันด้วยอารมณ์หาใช่เจตนาทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง กรณียังไม่ถึงขนาดที่จะฟังได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ผู้ให้ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4895/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: การโอนทรัพย์มรดกเกินสิทธิโดยไม่ได้รับการยกให้โดยเสน่หา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินและบ้านเป็นมรดกของ ส.ภริยาโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับ 7 ใน 12 ส่วน นอกนั้นเป็นของทายาทอื่นคือบุตร 5 คน ศาลชั้นต้นสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โจทก์ได้โอนที่ดินและบ้านดังกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทชั้นบุตรคนหนึ่ง แสดงว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยไปทั้งหมดทั้งที่จำเลยควรจะได้รับเพียง 1 ใน 12 ส่วน โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเลยว่า โจทก์ยกส่วนของโจทก์ให้จำเลยโดยเสน่หาการที่โจทก์ขอให้จำเลยโอนทรัพย์มรดกคืนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก 11 ใน 12 ส่วน จึงเป็นการเรียกทรัพย์มรดกคืนในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก จะฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531 มิได้ โจทก์จึงไม่มีกำหนดฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณและการเรียกคืนการให้: การไม่เลี้ยงดูผู้ให้ยากไร้ไม่ใช่เหตุประพฤติเนรคุณหากผู้ให้ไม่ได้ร้องขอ
การกล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้และเป็นผู้ยากไร้เมื่อจำเลยสามารถจะให้ได้นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอสิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตต่อจำเลยแล้ว จำเลยบอกปัดไม่ยอมให้และเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยมิได้นำสืบและอุทธรณ์ในข้อนี้แสดงว่าจำเลยยอมรับ และมิใช่หน้าที่ศีลธรรมอันดีของผู้รับการให้จะพึงปฏิบัติต่อผู้ให้ด้วยการให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้ตามวิสัยแต่อย่างใดดังนั้น การที่โจทก์แยกไปอยู่กับ ซ. แล้วจำเลยไม่ตามไปเลี้ยงดูโจทก์ จะฟังว่าจำเลยแสดงเจตนาบอกปัดไม่ยอมเลี้ยงดูให้สิ่งของจำเป็นแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้ และจำเลยสามารถให้ได้อันเป็นการประพฤติเนรคุณที่จะเรียกถอนคืนการให้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา การก่อเหตุทะเลาะวิวาท และการด่าตอบโต้
โจทก์มีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะผู้อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเท่านั้น การที่โจทก์และจำเลยทะเลาะกันและต่างคนด่ากันก็เป็นเพราะโจทก์เป็นฝ่ายก่อ และจำเลยด่าโต้ตอบเพราะถูกโจทก์ข่มเหงน้ำใจอย่างรุนแรงเช่นนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงเพื่อยกเป็นเหตุเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทพี่น้องร่วมสายเลือดเป็นเหตุให้เรียกคืนการให้ทรัพย์สินได้
โจทก์ยกที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ อ. เฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นน้องสาวโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยด่าว่าโจทก์ว่า "ได้พี่ฉิบหายไอ้ชาติชั่ว เห็นเมียดีกว่าน้อง มึงออกจากที่ดินของกู มึงจะมีที่ดินทำมาหาแดกหรือไม่ เป็นเรื่องของมึงไปเย็ดกันที่อื่นกูไม่ให้เย็ดกันที่นี่" ถ้อยคำที่จำเลยด่าว่าโจทก์ดังกล่าวหมายความว่าโจทก์เป็นคนชั่ว คนเลวทราม คบไม่ได้เป็นที่น่ารังเกียจ และเป็นเหตุให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, การแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการใช้ประโยชน์, การเพิกถอนการให้
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด.บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของ ด. อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น.ได้เบิกความไว้แล้ว ทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้น และโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย
ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด. และ อ.โดยเท่าเทียมกัน เท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าว ด.บิดาลงนามแทน อ.โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ.มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ.เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิด ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการ แสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทน อ. โดย อ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้ อ.เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล จึงถือไม่ได้ว่า อ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ.จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 ก็ตาม แต่เมื่อ อ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะ อ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ.จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ.สละสิทธิในส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสอง จำเลย กับ ด.จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ 1 ใน 4 ส่วน
ที่จำเลยฎีกาว่า ด.ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช.จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของ ด.กับ อ.ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้น เมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิด จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของ อ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาสอันไม่ควรแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วนตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญา ให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท
ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดา ต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม, การแบ่งทรัพย์สิน, ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์, และการเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด. บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของด.อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น. ได้เบิกความไว้แล้วทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้นและโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากกระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด.และอ. โดยเท่าเทียมกันเท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าวด.บิดาลงนามแทนอ. โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ. มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ. เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิดไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการแสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทนอ.โดยอ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้อ.เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาลจึงถือไม่ได้ว่าอ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ. จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก็ตาม แก่เมื่ออ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะอ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ. สละสิทธิใส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจำเลย กับด. จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ1 ใน 4 ส่วน ที่จำเลยฎีกาว่า ด. ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช. จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของด.กับอ. ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้นเมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิดจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของอ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาส อันไม่ควรแต่อย่างใดและไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วน ตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญาให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเสน่หา vs. ซื้อขาย: ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานและเหตุผลสมเหตุสมผล
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่พิพาทแก่จำเลยเพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณ จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หาเพราะโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากจำเลย การที่จำเลยอ้างเหตุต่อมาว่าความจริงเป็นการซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์และจำเลย ก็เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หานั่นเอง ไม่ทำให้เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การของจำเลยไม่ได้ขัดแย้งกัน แม้จะอ้างเหตุซื้อขายภายหลังปฏิเสธการให้โดยเสน่หา ศาลอนุญาตให้สืบพยานได้
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่พิพาทแก่จำเลยเพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หาเพราะโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากจำเลย การที่จำเลยอ้างเหตุต่อมาว่าความจริงเป็นการซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์และจำเลย ก็เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หานั่นเอง หาได้ทำให้เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเสน่หา vs. ซื้อขาย: ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและเจตนาที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่พิพาทแก่จำเลยเพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเบื้องต้นว่า โจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หาเพราะโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากจำเลย การที่จำเลยอ้างเหตุต่อมาว่าความจริงเป็นการซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์และจำเลย ก็เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หานั่นเอง ไม่ทำให้เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้
of 13