พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน: กรรมการบริษัทร่วมรับผลประโยชน์ถือเป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย แม้คดีอาญาไม่ถึงที่สุด
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 6 รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 1รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มามอบให้กับผู้ร่วมลงทุน โดยจำเลยที่ 4ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1 เปอร์เซ็นต์ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุน เป็นการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6กู้ยืมเงินตามพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 แล้ว แม้พระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯมาตรา 3 จะบัญญัติว่า ผู้กู้ยืมเงินหมายความว่าบุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย แต่การที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 ได้ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนถือได้ว่าจำเลยที่ 4และที่ 6 ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้ แม้จำเลยที่ 4 จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงประชาชนและความผิดตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ และเป็นโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 อยู่นั่นเอง แม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 6 ในข้อหาฉ้อโกงและความผิดต่อพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯแต่พนักงานอัยการโจทก์ยังอุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 ไม่ได้กระทำผิดตามพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ ของพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 10 นั้น แม้ผู้กระทำผิดอยู่ในฐานะผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลาย พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทำผิดได้กระทำผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีสิทธิเรียกร้องบังคับคดีได้ก่อน หากหมดสิทธิแล้ว ก็ไม่มีสิทธิฟ้องล้มละลาย
ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำเลยและให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม2518 ศาลอาญาออกหมายบังคับคดีลงวันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์จำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การบังคับคดีมิได้หมายความแต่เพียงว่าโจทก์ดำเนินการให้ศาลออกหมายบังคับคดีเท่านั้นแต่หมายถึงโจทก์ต้องไปแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์จำเลยทั้งสองมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหมายบังคับคดีด้วย จึงจะสมบูรณ์ เมื่อปรากฏตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้ได้จึงแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองได้ การที่โจทก์ขอศาลออกหมายบังคับคดีภายในสิบปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยมิได้มีการดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองตามขั้นตอนให้ครบถ้วนจนถึงขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเวลาพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษา จึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลาย พิจารณาจากทรัพย์สินและรายได้ของจำเลย
การที่จำเลยยังมีที่ดินและยังประกอบกิจการโรงพิมพ์อยู่นั้นแสดงว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอยู่มาก และยังประกอบกิจการมีรายได้จึงมีทางขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เคยเสียภาษีเงินได้นั้น มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่าจำเลยไม่มีรายได้สำหรับเงินฝาก แม้จำเลยจะนำมาฝากก่อนเบิกความ 2 วัน ก็ถือเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์อาจบังคับชำระหนี้ได้ แม้จำเลยเป็นหญิงมีสามี ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นสินสมรสจะต้องแบ่งครึ่ง จึงไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์นั้น เป็นเรื่องชั้นบังคับคดีที่จะต้องว่ากล่าวกันภายหลัง ยังไม่อาจทราบว่าหนี้ที่จำเลยค้างชำระเมื่อบังคับคดีพอชำระหนี้หรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: พฤติการณ์หนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอีก 3 คดี ซึ่งยังไม่มีการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองย้ายที่อยู่หลายครั้งโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1) บัญญัติให้คิดค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลายห้าสิบบาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาซึ่งพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าว 50 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การดำเนินการบังคับคดีสะดุดอายุความ
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2516 โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2516จากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการชั้นบังคับคดีโดยยึดทรัพย์จำเลยและประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดหลายครั้งและศาลอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ได้เงินจากการขายทอดตลาดมาหักหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2517 การดำเนินการชั้นบังคับคดีนับแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2516 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2517 เป็นการดำเนินการภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ทั้งเป็นการกระทำอื่นใด นับว่ามีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องและเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงนับตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2517 ตามความในมาตรา 173 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2517 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลาสิบปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยในคดีล้มละลาย: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้ว vs. หุ้นส่วนที่ยังคงเป็นอยู่
จำเลยที่2และที่4เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่1แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่1ให้ล้มละลายจำเลยที่2และที่4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่1ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแม้จำเลยที่2และที่4มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1068ก็ตามแต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่2และที่4มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่2และที่4เด็ดขาด จำเลยที่5เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่1ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อห้างจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่1และจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่นๆให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำ้องนำสืบว่าจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกรณีมีเหตุที่จำเลยที่5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของหุ้นส่วนและการพิทักษ์ทรัพย์: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้วต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนหุ้นส่วนที่เหลือไม่ต้องพิสูจน์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4 ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาด แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วน: ผลกระทบต่อความรับผิดของหุ้นส่วนที่ออกไปแล้วและหุ้นส่วนที่ยังคงเป็นหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483มาตรา 89 อีก
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483มาตรา 89 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม แม้จะใช้เป็นเอกสารแสดงหนี้สินได้ ศาลไม่รับฟังการฟ้องโดยอ้างเช็คเป็นหลักฐานการกู้ยืม
โจทก์จะนำเช็คมาเป็นมูลฟ้องในเรื่องกู้ยืมเงินเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายหาได้ไม่