พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล เมื่อสินค้าเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งของ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่งในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าวตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างผู้ส่งกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของนิยามคำว่า "ผู้ขนส่งอื่น" ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 แต่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการถือได้ว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นเพราะการออกใบตราส่งของจำเลยที่ 2 ผูกพันจำเลยที่ 3 ผู้เป็นตัวการ เท่ากับจำเลยที่ 3 เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าวตามสัญญารับขนของทางทะเลช่วงจากกรุงเทพมหานครไปสิงคโปร์ และการที่จำเลยที่ 3 ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งบรรจุสินค้าลงเรือของจำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 4 ขนส่งสินค้านั้นต่อไปยังท่าปลายทาง เป็นการที่ผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปอีกทอดหนึ่ง จำเลยที่ 4 จึงเป็นผู้ขนส่งอื่นตามคำนิยามใน พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ด้วย เมื่อสินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้ขนส่งอื่น โดยมิใช่ความผิดของผู้ส่งของ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ขนส่งอื่น จึงต้องร่วมกันรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวต่อผู้รับโอนใบตราส่ง ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 และมาตรา 43 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 และมาตรา 45
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญากับผู้ส่งของโดยตรงในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดต่อผู้ส่งของโดยผลของกฎหมายคือ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับโอนใบตราส่งโดยลำพังตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 และเมื่อจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ต่อผู้รับโอนใบตราส่ง
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญากับผู้ส่งของโดยตรงในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดต่อผู้ส่งของโดยผลของกฎหมายคือ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับโอนใบตราส่งโดยลำพังตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 และเมื่อจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ต่อผู้รับโอนใบตราส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่ยังไม่ลงเรือ การรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับฝาก
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลมีข้อความว่า "VOYAGE : At and from LAEM CHABANG , THAILAND TO HOCHI MINH" แปลว่าคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทย ถึง โฮจิมินห์ ในประเทศเวียดนาม คำว่า ที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่าคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย ไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปขณะเก็บอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝาก เป็นการฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยทางทะเล ความคุ้มครองสินค้าขณะอยู่ในคลังสินค้า และอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลคุ้มครองที่และจากแหลมฉบัง ประเทศไทยถึงโฮจิมินห์ในประเทศเวียดนามคำว่าที่และจากแหลมฉบังย่อมเป็นการคุ้มครองภัยที่เกิดที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วยไม่ใช่เฉพาะนับจากเรือออกจากท่าเรือแหลมฉบัง ดังนั้นกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลที่มีผลคุ้มครองสินค้าตั้งแต่เวลาที่สินค้าอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบังขณะรอบรรทุกลงเรือจึงคุ้มครองสินค้าขณะอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบังก่อนขนสินค้าลงเรือด้วย เมื่อสินค้าได้สูญหายไปขณะที่อยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 5 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าซึ่งได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อสินค้าที่สูญหายให้แก่ผู้รับตราส่งไปแล้วตามความผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 ที่รับฝากสินค้าไว้และจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนภัยของจำเลยที่ 4 ผู้รับฝากสินค้าไว้ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝากเป็นการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อผู้ขนส่งส่งมอบและผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ผู้รับตราส่งรู้ว่าสินค้าหายไป จากวันดังกล่าวนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 9 ธันวาคม 2542 ยังไม่ครบ 10 ปี ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับฝากตู้สินค้าไว้แล้วสินค้าได้สูญหายไปในระหว่างที่จำเลยที่ 5 รับฝากเป็นการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อผู้ขนส่งส่งมอบและผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ผู้รับตราส่งรู้ว่าสินค้าหายไป จากวันดังกล่าวนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 9 ธันวาคม 2542 ยังไม่ครบ 10 ปี ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดเครื่องหมายการค้า: การแก้ไขชื่อจำเลยที่พิมพ์ผิดพลาด และการเป็นตัวการร่วม
โจทก์ฟ้องและดำเนินคดีแก่บริษัทรุ่งชัยอะไหล่ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 และนาง ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทดังกล่าวเป็นจำเลยที่ 2 ดังนั้นที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นระบุชื่อจำเลยที่ 1 ในช่องคู่ความว่า บริษัทรุ่งชัย เทรดดิ้ง จำกัด จึงเป็นกรณีการพิมพ์ผิดพลาดซึ่งชอบที่จะแก้ไขได้ตาม ป.วิ.อ. มาตารา 190 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจที่จะแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ถูกต้องดังกล่าวได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ดังโจทก์ฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 โดยไม่ต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 อีก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลและจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทก็ตาม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ดังโจทก์ฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 โดยไม่ต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 114 อีก แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นนิติบุคคลและจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคำพิพากษาและการลงโทษความผิดเครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องบริษัทรุ่งชัยอะไหล่เทรดดิ้ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 ที่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุชื่อจำเลยที่ 1 ในช่องคู่ความว่าบริษัทรุ่งชัยเทรดดิ้ง จำกัดจึงเป็นกรณีการพิมพ์ผิดพลาดซึ่งชอบที่จะแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจที่จะแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีประเภทที่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ มีกระบวนวิธีพิจารณาที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยเน้นการพิจารณาให้เสร็จไปโดยรวดเร็วแตกต่างจากคดีสามัญ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ว่า "ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดี ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว" คดีนี้ศาลเคยอนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะ ช. ทนายจำเลยที่ 3 ถอนตัวและ ก. ทนายจำเลยที่ 3 ที่แต่งตั้งใหม่ก็ติดว่าความที่ศาลอื่น ไม่มาในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกและนัดที่ 2 ก็ขอเลื่อนคดีเพราะขอเวลาเจรจากับโจทก์ แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ไปติดต่อกับโจทก์เพื่อเจรจาตกลงกันตามที่ได้แถลงไว้ต่อศาล จนถึงวันนัดพร้อมเพื่อทำยอมหรือนัดสืบพยานโจทก์ ก. ยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากการเป็นทนายความจำเลยที่ 3 โดยอ้างเหตุว่ามีความคิดเห็นไม่ตรงกับจำเลยที่ 3 ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ก็ยื่นใบแต่งทนายความต่อศาล แต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายความคนใหม่ ทนายจำเลยที่ 3 คนใหม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่า ตนติดว่าความที่ศาลอื่นกับยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนั้น การขอเลื่อนคดีในนัดที่ 3 นี้ จึงไม่ใช่การขอเลื่อนในกรณีปกติทั่วไป หากจำเลยที่ 3 มีความสุจริตและมีความจำเป็นต้องแต่งตั้งทนายความคนใหม่ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าทนายความที่จะแต่งตั้งใหม่นั้นพร้อมที่จะว่าความให้ตนในวันดังกล่าวเพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าออกไป การกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าเป็นการขัดขวางการพิจารณาคดีไม่ให้เสร็จไปโดยรวดเร็วและมีพฤติการณ์เป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
กระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของพยานในการสืบพยานบุคคลมีกำหนดไว้เป็นพิเศษอยู่ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 29 และข้อ 30 สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ โจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคลดังกล่าว โดยโจทก์ได้จัดส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. พยานโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. พยานโจทก์ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีก ตามข้อกำหนดข้อ 29 วรรคท้าย ทั้งในข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลก็มิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำตามบันทึกนั้นแต่อย่างใด การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. มิได้มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ทั้งไม่มีลายมือชื่อของบุคคลผู้รับการสาบานหรือปฏิญาณลงไว้ ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไปแต่อย่างใด เพียงแต่เมื่อผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความ จึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. พยานบุคคลของโจทก์แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
กระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของพยานในการสืบพยานบุคคลมีกำหนดไว้เป็นพิเศษอยู่ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 29 และข้อ 30 สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ โจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคลดังกล่าว โดยโจทก์ได้จัดส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. พยานโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. พยานโจทก์ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีก ตามข้อกำหนดข้อ 29 วรรคท้าย ทั้งในข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลก็มิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำตามบันทึกนั้นแต่อย่างใด การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. มิได้มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ทั้งไม่มีลายมือชื่อของบุคคลผู้รับการสาบานหรือปฏิญาณลงไว้ ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไปแต่อย่างใด เพียงแต่เมื่อผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความ จึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. พยานบุคคลของโจทก์แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังบันทึกถ้อยคำแทนการเบิกความต่อหน้าศาลในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ชอบด้วยกฎหมายหากจำเลยไม่ค้าน
โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานโจทก์ และโจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคล โดยโจทก์ได้ส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้ายทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีกตามข้อกำหนด ข้อ 29 วรรคท้าย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลมิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำ การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไม่มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไป เพียงแต่เมื่อ ว. มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความจึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลมิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำ การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไม่มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไป เพียงแต่เมื่อ ว. มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความจึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการต่างประเทศตามมาตรา 824
แม้โดยหลักทั่วไปว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก เมื่อตัวแทนกระทำการแทนตัวการไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายที่ตัวแทนได้ทำไปดังกล่าวนั้น โดยตัวแทนไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดต่อบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 ก็ตาม แต่ในกรณีตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศนั้นเป็นกรณีที่มี มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนเช่นนี้ต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง ซึ่งหมายความว่า ตัวแทนเช่นว่านี้ต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมา และศาลได้พิจารณาเห็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกคนหนึ่งได้ตาม มาตรา 824
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/46)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/46)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการต่างประเทศ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
โจทก์เป็นผู้ขายมีหน้าที่ที่จะต้องส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อที่ท่าเรือปลายทาง และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญารับขนของทางทะเลว่า โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองให้ดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ แต่สินค้าได้เกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ส่งซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งย่อมมีสิทธิจะฟ้องร้องให้ผู้ขนส่งรับผิดต่อโจทก์ได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล ทั้งโจทก์ยังไม่ได้โอนใบตราส่งให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง โดยโจทก์เพียงแต่ส่งมอบต้นฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ท่าเรือต้นทางเพื่อให้แจ้งไปยังตัวแทนของผู้ขนส่งที่ท่าเรือปลายทางให้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งที่โจทก์ระบุไว้เท่านั้น แม้ผู้ซื้อจะได้เรียกร้องให้ตัวแทนของผู้ขนส่งที่ท่าเรือปลายทางส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว สิทธิทั้งหลายของโจทก์ในฐานะผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนยังหาได้โอนไปยังผู้รับตราส่งไม่ นอกจากนั้นผู้ซื้อยังไม่ได้ตกลงรับซื้อสินค้า สินค้าจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากความเสียหายของสินค้าด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดอยู่ต่างประเทศ จดทะเบียนที่ใต้หวัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียน ณสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบัง ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อยังเมืองฮ่องกงโดยวิธีขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนส่ง จำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยเกี่ยวกับการจัดเตรียมการขนส่ง รับมอบสินค้าตลอดจนนำสินค้าบรรทุกลงเรือ และเป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศด้วย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาตัวแทนย่อมไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
การที่ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศเป็นกรณีที่มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเองซึ่งหมายความว่าตัวแทนต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนในประเทศไทยที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมาและศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดอยู่ต่างประเทศ จดทะเบียนที่ใต้หวัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียน ณสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบัง ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อยังเมืองฮ่องกงโดยวิธีขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนส่ง จำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยเกี่ยวกับการจัดเตรียมการขนส่ง รับมอบสินค้าตลอดจนนำสินค้าบรรทุกลงเรือ และเป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศด้วย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาตัวแทนย่อมไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
การที่ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศเป็นกรณีที่มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเองซึ่งหมายความว่าตัวแทนต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนในประเทศไทยที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมาและศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนและตัวการจากการผิดสัญญาขนส่งสินค้าและการชำระหนี้เงินต่างประเทศ
การที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทรงใบตราส่งไม่ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อที่ท่าเรือปลายทางจึงชำระเงิน 100,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ให้แก่บริษัท ย. เจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสองแทนจำเลยทั้งสองแล้วรับสินค้าไป ทั้งที่เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 หลายประการ ถึงแม้ในภายหลังโจทก์ที่ 1 จะได้ใช้เงินคืนให้โจทก์ที่ 2 แต่โจทก์ที่ 2 ก็ยังได้รับความเสียหายในส่วนอื่นอีกอันเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเหตุให้ถูกบริษัท ย. ยึดหน่วงสินค้าไว้ จึงเป็นเรื่องที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่งระหว่างโจทก์ที่ 2กับจำเลยทั้งสอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกค่าเสียหายส่วนอื่นได้
จำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยไม่มีสำนักงานหรือสาขาอยู่ในประเทศไทย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศโดยมีบำเหน็จเป็นทางค้าปกติรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งในการประกอบกิจการในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนและจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการปฏิบัติผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่โจทก์ที่ 2ผู้ทรงใบตราส่งเมื่อสินค้านั้นถึงเมืองท่าปลายทาง จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยโจทก์ที่ 2 ต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัท ย. แทนจำเลยที่ 2 ในวันที่ 13 ธันวาคม2540 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2540อันเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 ได้ชำระเงินไป จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศจึงตรงตามคำฟ้องแต่ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสองบัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง
จำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยไม่มีสำนักงานหรือสาขาอยู่ในประเทศไทย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศโดยมีบำเหน็จเป็นทางค้าปกติรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งในการประกอบกิจการในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนและจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการปฏิบัติผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่โจทก์ที่ 2ผู้ทรงใบตราส่งเมื่อสินค้านั้นถึงเมืองท่าปลายทาง จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยโจทก์ที่ 2 ต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัท ย. แทนจำเลยที่ 2 ในวันที่ 13 ธันวาคม2540 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2540อันเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 ได้ชำระเงินไป จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศจึงตรงตามคำฟ้องแต่ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสองบัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง