คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสริมศักดิ์ ผลัดธุระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขนส่ง: ความรับผิดของผู้ส่งเมื่อเรียกเก็บค่าระวางจากผู้ซื้อไม่ได้
โจทก์และจำเลยตกลงกันขนส่งสินค้าโดยให้เก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2จากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ไม่ได้ตกลงกันว่าในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเรียกเก็บไม่ได้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ในใบตราส่งก็ไม่มีเงื่อนไขว่าหากเรียกเก็บจากผู้ซื้อไม่ได้แล้วโจทก์หมดสิทธิเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ส่ง ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานคู่สัญญาให้รับผิดชดใช้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระได้ และเมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันผิดนัดแก่โจทก์อีกด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับขนทางอากาศ: ผู้ส่งต้องรับผิดชอบค่าระวางส่วนที่เรียกเก็บจากผู้รับไม่ได้ หากตกลงกันไม่มีเงื่อนไขความรับผิด
การที่จำเลยผู้ขายสินค้าว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าทางอากาศจากประเทศไทยไปส่งแก่ผู้ซื้อที่ต่างประเทศ โดยตกลงกันให้ชำระค่าระวาง และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นสองส่วน ส่วนแรกให้เรียกเก็บจากจำเลย ส่วนที่สองให้เรียกเก็บจากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ก็ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่า ในกรณีที่โจทก์เรียกเก็บส่วนที่สองจากผู้ซื้อไม่ได้ โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขนส่งสินค้าของจำเลยไปส่งให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถเรียกเก็บส่วนที่สองจากผู้ซื้อ โจทก์ผู้ขนส่งในฐานะเป็นคู่สัญญารับขนของทางอากาศกับจำเลย จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยในฐานะ คู่สัญญาให้ชดใช้ส่วนที่ขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เป็นที่รู้จักทั่วไปและลักษณะบ่งเฉพาะ
พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯ มาตรา 3 ได้บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯมาตรา 3 กำหนดให้ส่วนงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นและมาตรา 5 กำหนดให้ส่วนงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และให้คำปรึกษาแนะนำและบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ จึงอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น มีความหมายเพียงว่าผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานอื่นอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้ชื่อเมืองหลวงของประเทศและชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่คำว่า "PHOENIX" ไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จักหรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วก็ถือว่าเป็นชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 167 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: ไม่อินโนเวต-ใช้แล้วก่อนขอรับสิทธิบัตร ศาลฎีกายืนเพิกถอน
จำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเชื่อว่าได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย การที่จำเลยร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์เป็นการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้มีการบังคับตามสิทธิบัตรที่จำเลยได้รับอยู่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการแก่โจทก์อย่างไรต่อไปเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 5 เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 จึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: การประดิษฐ์ไม่ใหม่ ใช้แล้วในไทยก่อนขอจดทะเบียน
เมื่อมีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเชื่อว่าได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย การที่จำเลยใช้วิธีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ เป็นการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้มีการบังคับตามสิทธิบัตรที่จำเลยได้รับอยู่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการแก่โจทก์อย่างไรต่อไปเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้จึงต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ทั้ง 3 ข้อ จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่แล้ว การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้สิทธิบัตรของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นของใหม่ ทำให้สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ 3 ข้อ คือ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: เริ่มนับจากวันที่ทราบเรื่องและตัวผู้กระทำผิด
โจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นตัวแทนและผู้รับมอบอำนาจเพื่อโจทก์และในนามโจทก์ในประเทศไทย ในอันที่จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อยับยั้งและจำกัดการเลียนแบบ การละเมิดและการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับชื่อทางการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และอื่น ๆ ที่ใช้เกี่ยวกับการค้าของโจทก์ให้ป้องกันการค้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้มีอำนาจร้องทุกข์ ฟ้องร้องดำเนินคดีและต่อสู้ในนามของโจทก์ ร. จึงมีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ในประเทศไทยในนามของโจทก์ได้ตามกฎหมาย ร. ได้รู้เรื่องการกระทำความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีนี้แล้ว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมาโดย ส. ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิด ดังนั้น ร. ต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรก เมื่อโจทก์นำคดีนี้ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้มาฟ้องเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับมอบอำนาจรู้ความผิด ถือว่าโจทก์รู้ด้วย
ร. เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยรู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69 และ 70 ประกอบมาตรา 30 และ 31 ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมา ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิดเมื่อ ร. มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แทนโจทก์ เช่นเดียวกับผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ ร. ก็ดี ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ก็ดีต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรกแม้โจทก์จะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2542 ก็ไม่ทำให้อายุความขยายออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการส่งมอบสินค้าผิดบุคคล ไม่เวนคืนใบตราส่ง ผู้รับประกันภัยมีสิทธิรับช่วง
สำเนาเอกสารที่ผู้ส่งเอกสารส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสาร เมื่อจำเลยถูกโจทก์อ้างมาเป็นพยานหลักฐานยันตน จำเลยมิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จึงต้องห้ามมิให้จำเลยคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) แล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยมิได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ธนาคารผู้รับตราส่งหรือ ช. ผู้ซื้อสินค้า การส่งมอบสินค้าแก่บุคคลอื่นโดยมิได้มีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบโดยชอบทำให้ผู้รับตราส่งหรือผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า เป็นเหตุให้ผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้าเสียหายไม่ได้รับชำระราคาสินค้าจากผู้รับตราส่งหรือผู้ซื้อ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ส่ง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยได้ตามอำนาจแห่งกฎหมายโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยได้ทราบถึงการประกันภัยหรือไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายไป
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรมซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตรใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าจากการส่งมอบสินค้าผิดพลาดและไม่ถูกต้องตามสัญญา
เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงรับจ้างขนส่งสินค้า จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าอากาศยานปลายทาง จำเลยที่ 2 ได้ออกใบตราส่งอันถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาขนส่งของให้แก่ผู้ส่งตามใบตราส่ง โดยระบุในใบตราส่งว่าผู้รับตราส่งคือธนาคารซิตี้แบงก์ มี ซ. เป็นผู้ที่จะต้องแจ้งให้ทราบ จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ ซ. ที่ท่าอากาศยานเมืองไมอามีซึ่งเป็นท่าอากาศยานปลายทาง โดยการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งซึ่งธนาคารซิตี้แบงก์ได้สลักหลังให้ เมื่อสินค้าถึงท่าอากาศยานเมืองไมอามี ตัวแทนของจำเลยที่ 2 กลับปล่อยสินค้าให้แก่บุคคลอื่นโดยมิได้มีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งทางอากาศ ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบ
เอกสารที่โจทก์อ้างแม้จะเป็นสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นเอกสารที่ผู้ส่งได้ส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสารซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ตามปกติผู้ส่งจะนำต้นฉบับเอกสารไปลงในเครื่องโทรสารแล้วส่งโดยวิธีโทรสารไปยังเครื่องโทรสารของผู้รับ และผู้ส่งเป็นผู้เก็บต้นฉบับไว้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์อ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จำเลยที่ 2 เพียงแต่โต้แย้งคัดค้านไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและความเห็นของพยานจำเลยที่ 2 กับยื่นคำแถลงคัดค้านไว้ภายหลังการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) แล้ว สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรม ซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
of 48